
นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. ท่าอากาศยานไทย [AOT] กล่าวว่า จากคาดการณ์ตัวเลขผู้โดยสารที่ผ่านมาและแนวโน้มในอนาคตที่เพิ่มมากขึ้น AOT พร้อมลุยโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน เพื่อเพิ่มรายได้ และอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร รวมถึงฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย
ขณะที่คาดการณ์ปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสารช่วงตารางบินฤดูร้อนในปี 2568 ซึ่งสายการบินได้มีการขอจัดสรรเวลาการบินล่วงหน้า จะมีเที่ยวบินรวมประมาณ 543,932 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 แบ่งเป็นเที่ยวบินในประเทศ 225,905 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 เที่ยวบินระหว่างประเทศ 318,027 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 ในขณะที่มีจำนวนผู้โดยสารรวม 87,801,146 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 แบ่งเป็นผู้โดยสารภายในประเทศ 32,844,933 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 ผู้โดยสารระหว่างประเทศ 54,956,213 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.0 (ข้อมูล ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568) ตลอดจนคาดการณ์การเติบโตของปริมาณผู้โดยสาร
อาทิ โครงการพัฒนา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารจากเดิม 65 ล้านคน/ปี เป็น 150 ล้านคน/ปี ประกอบด้วย โครงการพัฒนาส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันออกพื้นที่ 100,000 ตารางเมตร เพิ่มการรองรับผู้โดยสาร 15 ล้านคน โครงการพัฒนาก่อสร้างอาคารผู้โดยสารด้านทิศใต้ (South Terminal) เพิ่มการรองรับผู้โดยสาร 70 ล้านคน โครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 4 เพิ่มศักยภาพรองรับเที่ยวบินได้ถึง 120 เที่ยวบินต่อชั่วโมง
และโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) รองรับผู้โดยสาร 40 ล้านคน/ปี ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ โครงการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเดิม รวมถึงโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่รองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 60 ล้านคน/ปี ประกอบด้วย โครงการก่อสร้าง ทภก.แห่งที่ 2 หรือท่าอากาศยานอันดามัน รองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 40 ล้านคน และโครงการก่อสร้าง ทชม.แห่งที่ 2 หรือท่าอากาศยานล้านนา รองรับปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 20 ล้านคนต่อปี
(1) โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ปี พ.ศ.2562 ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ประกอบไปด้วย โครงการให้บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น การให้บริการผู้โดยสารภาคพื้นและกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องและโครงการคลังสินค้า ณ ทสภ. ของผู้ประกอบรายที่ 3 ณ ทสภ. ซึ่งปัจจุบัน AOT อยู่ระหว่างการคัดเลือกเอกชน โดยจะมีการประกาศเชิญชวนในเดือนมีนาคม 2568 และโครงการ 400 Hz และ PC-Air โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul: MRO) โครงการให้บริการการซ่อมขนาดเบาอากาศยาน (Line Maintenance) (โครงการดังกล่าวจะเริ่มรับรู้รายได้ในปี 2569)
(2) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง โครงการก่อสร้าง Junction Building และอาคารจอดรถพร้อมพื้นที่ให้บริการโรงแรมเพื่อเป็นจุดเชื่อมระหว่างการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากทางอากาศไปยังระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง
