สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 เม.ย. 68)
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.50 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 33.43 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก หลังมีข่าวการเจรจาเกี่ยว กับมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมีความคืบหน้า โดยบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาค และสถานการณ์ ราคาทองในตลาดโลก ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.37 - 33.57 บาท/ดอลลาร์ ต่างชาติขายพันธบัตร 2,160 ล้านบาท "บาทเคลื่อนไหวตามสถานการณ์ราคาทองในตลาดโลก หลังมีข่าวสหรัฐฯ กับจีนมีความคืบหน้าในการเจรจา ราคาทองก็ปรับ ตัวลดลง บาทก็ปรับตัวอ่อนค่า" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 33.30 - 33.60 บาท/ดอลลาร์ ช่วงนี้ยังไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ ตลาดติดตามความคืบหน้าการเจรจาเกี่ยวกับมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ของสหรัฐฯ * ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 143.36 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 143.08 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1355 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1355 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,159.00 จุด เพิ่มขึ้น 12.14 จุด (+1.06%) มูลค่าซื้อขาย 33,148.95 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,860.38 ล้านบาท - รมว.คลัง เผยแนวคิดในการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 500,000 ล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากมาตรการภาษีตอบโต้ของ สหรัฐฯ นั้น สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นลำดับแรกคือสามารถตอบโจทย์การเพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ - รมว.พาณิชย์ เปิดเวทีสัมมนา "ถอดรหัสนโยบายภาษีทรัมป์: โอกาสของการค้ายุคใหม่" ร่วมกับผู้แทนจากภาครัฐและ เอกชนโดยชี้ว่า ภายใต้นโยบายภาษีสหรัฐฯ และสถานการณ์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อาจกลายเป็นโอกาสสำคัญของ ไทยในการขยายตลาดส่งออก โดยเฉพาะสินค้าเป้าหมายที่ไทยสามารถเข้าไปทดแทน พร้อมเร่งเดินหน้าเจรจา FTA กับหลายประเทศ ควบคู่มาตรการเข้มสกัดสินค้าด้อยคุณภาพและการสวมสิทธิ์นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ - รมช.คลัง หารือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) โดยได้แลก เปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาประเทศไทย และแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นสำคัญ โดย IFC ทำหน้าส่ง เสริมภาคเอกชนในประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ทั้งทางด้านการเงิน เทคนิค และด้านการจัดการ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางการลง ทุนในประเทศกำลังพัฒนา - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียและแปซิฟิกจะชะลอตัวลงเหลือ 3.9% ในปี 2568 ซึ่งลดลง 0.5% จากตัวเลขคาดการณ์เดิม เนื่องจากผลกระทบจากความตึงเครียดด้านการค้าทั่วโลก - กรรมการจัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า IMF ยังคงมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการป้องกันวิกฤต ดุลการชำระเงิน พร้อมรับฟังข้อกังวลจากรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อปรับนโยบายให้สอดคล้องกัน แต่ขณะเดียวกันก็ยืนยันว่า IMF จะยังคงสนับสนุน ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป - ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) กล่าวว่า ความตึงเครียดด้านการค้ากำลังทำให้ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมหยุดชะงัก และส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก พร้อมกับเน้นย้ำว่า ไม่มีผู้ชนะในสงครามการค้า และบรรดาประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจ ขนาดใหญ่ควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน - ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยืนยันว่า รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังดำเนินการเจรจาการค้ากับจีน หลังจากจีนออกมาปฏิเสธว่าไม่ มีการเจรจาข้อตกลงใด ๆ พร้อมเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการภาษีฝ่ายเดียวทั้งหมดที่ใช้กับสินค้าจีน - คณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศยกเลิกคำแนะนำสำหรับธนาคารพาณิชย์เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม ด้านคริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนที่อิงกับดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้กฎระเบียบของเฟดสอดคล้องกับสถานการณ์ความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป และ เพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในระบบธนาคาร - ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า BOJ จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป หากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเข้า ใกล้กรอบเป้าหมายที่ 2% ตามที่คาดการณ์ไว้ แต่จะตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียด รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดจากการ ขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลต่อความเป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้ออย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญของการปรับขึ้น ดอกเบี้ยเพิ่มเติม