ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.45 แกว่งไร้ทิศทาง แม้ยอดส่งออกมี.ค. ดีกว่าคาด คาดกรอบพรุ่งนี้ 33.40-33.70

          นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 33.45 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก
ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.57 บาท/ดอลลาร์
          โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.43-33.59 บาท/ดอลลาร์ วันนี้สกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบผสม คือ มี
ทั้งสกุลที่อ่อนค่า และสกุลที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่การรายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนมี.ค.68 ที่มูลค่าการ
ส่งออกสูงถึงระดับ 29,000 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 17.8% แต่ก็มีผลจำกัดต่อค่าเงิน เพราะยอดเกินดุลการค้ายังต่ำที่กว่าตลาดคาด
          "เงินบาทยังเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง แม้ยอดส่งออกมี.ค. จะออกมาดี และสูงเป็นประวัติการณ์ แต่ก็มีผลที่จำกัดต่อทิศทาง
ของค่าเงิน เพราะดุลการค้า ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด" นักบริหารเงิน ระบุ
          คืนนี้ ตลาดติดตามข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดขายบ้านมือสอง 
และยังต้องติดตามประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน 
          นักบริหารเงิน คาดพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.40 - 33.70 บาท/ดอลลาร์

          * ปัจจัยสำคัญ

          - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 142.61 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 142.90 เยน/ดอลลาร์
          - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1376 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1354 ดอลลาร์/ยูโร
          - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,146.86 จุด ลดลง 6.91 จุด (-0.60%) มูลค่าซื้อขาย 40,628.92 ล้านบาท
          - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,078.58 ล้านบาท
          - กระทรวงพาณิชย์ เผยการส่งออกเดือนมี.ค.68 มีมูลค่า 29,548 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 17.8% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 
และขยายตัวในระดับ 2 digit ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ส่วนในแง่มูลค่า ถือว่าอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่อัตราการขยายตัว
ถือว่าสูงสุดในรอบ 36 เดือน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 28,575 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 10.2% ส่งผลให้เดือนมี.ค. ไทยเกินดุลการค้า 
973 ล้านดอลลาร์
          - รมว.พาณิชย์ ยอมรับว่า การส่งออกเดือนเม.ย.68 ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ แต่อาจไม่สูงในระดับ 2 digit และคาดว่า
การส่งออกของไทยในปี 68 มีโอกาสขยายตัวได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ที่ 2-3% ซึ่งหากไม่มีเหตุการณ์พลิกผัน ยังมั่นใจว่าการส่งออกจะ
เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้
          - คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) มีมติเห็นชอบ ให้ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ 95 แก๊สโซฮอล์ E20 น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
ธรรมดา พรีเมียม ลดลง 0.40 บาท/ลิตร เพื่อตรึงราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศไม่ให้ปรับขึ้นราคา
          - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจจะเลื่อนเวลาการปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยครั้งใหม่ เนื่องจากความไม่แน่นอนของมาตรการภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ทำให้ญี่ปุ่นมีความเสี่ยง
มากขึ้น ที่จะเผชิญกับภาวะขาลง ทั้งในส่วนของเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ
          - รมว.คลังสหรัฐฯ ยืนยันว่า สหรัฐฯ ไม่ได้กำหนดเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนในการเจรจาการค้ากับญี่ปุ่น ขณะที่ทั้ง 2 
ประเทศ กำลังพยายามหาทางออกร่วมกัน หลังประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศใช้มาตรการกำแพงภาษีที่รุนแรงต่อสินค้านำเข้า
          - กระทรวงการคลังจีน ออกพันธบัตรพิเศษ 3 ประเภท วงเงินรวม 2.86 แสนล้านหยวน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้ประกาศก่อนหน้านี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ตึงเครียดด้านการค้ากับสหรัฐฯ ภาย
หลังจากที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีศุลกากรจากจีนในอัตราสูงถึง 145% ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจจีนเติบโตได้ไม่ถึงเป้าหมาย 5% ในปีนี้
          - ผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซีย ระบุว่า มาเลเซีย อาจต้องปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ ลงเหลือ 
4.5-5.5% เนื่องจากความไม่แน่นอนของมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางฯ จะไม่รีบร้อนทบทวนเป้าหมาย
เศรษฐกิจในปีนี้ และจะจับตาสถานการณ์การค้าโลกอย่างใกล้ชิด
          - ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอด
สั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค., ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วประเทศเดือนมี.ค., ยอดขายบ้านมือสองเดือนมี.ค และ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภคขั้นสุดท้าย เดือนเม.ย.