สำนักข่าวอินโฟเควสท์ติดตามข่าวเศรษฐกิจ หุ้น การเงิน และประเด็นน่าสนใจรอบโลกที่นี่

IPO Fund: กองทุนเปิด กรุงศรีโกลบอลไพรเวทอิควิตี้-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย

กองทุนเปิด กรุงศรีโกลบอลไพรเวทอิควิตี้-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย

Krungsri Global Private Equity Fund-Not for Retail Investors

ชื่อย่อกองทุน: KFGPE-UI
ประเภทกองทุน: กองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก, Feeder Fund
ระดับความเสี่ยง: 8+
อายุโครงการ: ไม่กำหนด
นโยบายปันผล: ไม่มี
จำนวนเงินทุนโครงการ: 5,000 ล้านบาท
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 1,000,000 บาท
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 500 บาท
วันเสนอขายครั้งแรก (IPO): 01 – 14 มี.ค. 65
บริษัทจัดการ: กรุงศรี
นโยบายการลงทุน: กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลไพรเวทอิควิตี้-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย: จะนำเงินไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Schroder GAlA ll Global Private Equity Fund, Class C Accumulation USD (กองทุนหลัก) ซึ่งบริหารจัดการโดยบริษัท Schroder lnvestment Management (Europe) S.A. โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
กองทุน Schroder GAlA ll Global Private Equity Fund (กองทุนหลัก): กองทุนหลักอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยCommission de Surveillance du Secteur Financier (CSSF) ภายใต้กฎหมายของประเทศลักเซมเบิร์ก ซึ่งมีนโยบายลงทุนในความมีส่วนได้เสียจากความเป็นเจ้าของ (Equity lnterests) ของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) ทั่วโลก ทั้งนี้ กองทุนหลักจะลงทุนใน private equity ที่มีกลยุทธ์การลงทุนในลักษณะของการให้เงินลงทุนแก่บริษัทที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นกิจการ (Venture Capital) การให้เงินลงทุนเพื่อขยายกิจการในบริษัทที่อยู่ในช่วงเติบโต (Growth Capital) และการร่วมทุนในลักษณะการเข้าซื้อกิจการในบริษัทที่มีความมั่นคงแล้ว (Buyout) นอกจากนี้ กองทุนหลักอาจลงทุนโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้ และอาจมีการกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนไม่เกินร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
กองทุนหลักจะไม่ทำธุรกรรมต่อไปนี้ ได้แก่ ธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ธุรกรรมการขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมมาเพื่อการส่งมอบ (Short Sale) และธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (Repurchase Agreement)
ในระหว่างรอการนำเงินที่ได้รับจากการสั่งซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้าเพื่อไปลงทุนในกองทุนหลัก กองทุนไทยจะลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำและสภาพคล่องสูง เช่น ตราสารภาครัฐ และเงินฝากธนาคาร เป็นต้น
กองทุนไทยอาจพิจารณาลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน และ/หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management) โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการ ทั้งนี้ จะมีอัตราส่วนการลงทุนเพื่อ EPM สูงสุดไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
กองทุนไทยจะไม่ทำการขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมมาเพื่อการส่งมอบ (Short Sale) ธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (Repurchase Agreement) และการกู้ยืม เว้นแต่การกู้ยืมเพื่อการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงการจัดการเท่านั้น
กองทุนไทยอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non – Investment Grade) หรือตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated) โดยมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารดังกล่าวเมื่อรวมกับสัดส่วนการลงทุนของกองทุนหลักจะไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน นอกจากนี้ กองทุนอาจลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Unlisted Securities) และตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured note) โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด
กองทุนไทยมีประมาณการผลตอบแทนภายใต้สถานการณ์เชิงลบอย่างมากที่สุด (Worst Case Scenario) จากการที่กองทุนไทยและ/หรือกองทุนหลักลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน และกู้ยืมเพื่อการลงทุน ไม่เกินร้อยละ 35 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

กรุณาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวน

ข้อมูลหนังสือชี้ชวน

Tag:

<< IPO Fund: กองทุนรวมเปิดใหม่

Back to Top