เงินบาทเปิด 31.09 ทรงตัวจากวานนี้ ตลาดรอปัจจัยใหม่ คาดกรอบวันนี้ 31.00-31.20

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.09 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวในระดับเดียวกันกับช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ เนื่องจากตลาดรอปัจจัยใหม่เข้ามา โดยวันพรุ่งนี้จะมีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ ส่วนปัจจัยในประเทศมีผลค่อนข้างจำกัด

“เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ทรงตัว เนื่องจากตลาดรอปัจจัยใหม่เข้ามาเพิ่มเติม”

นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 31.00 – 31.20 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT FIX 3M (10 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.34819% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.34814%

ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.89 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 108.76/79 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2133 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.2164/2166 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.116 บาท/ดอลลาร์
  • กระทรวงการคลังเตรียมเสนอรายละเอียดมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิฏฟตโควิกระลอกสามให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาอีกครั้ง
  • “คลัง” ยันพิจารณาถี่ยิบกู้เงินตาม พ.ร.ก.โควิด-19 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท เน้นแหล่งเงินในประเทศเป็นหลัก มีเครื่องมือกู้เงินเพียงพอในการเยียวยา-ฟื้นฟูเศรษฐกิจพร้อมพิจารณาอย่างรอบคอบ “สภาพัฒน์” แจงโครงการแพทย์ สธ.ยังเบิกจ่ายล่าช้าได้เพียง 27.5% เหตุหน่วยงานอยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอน “เพื่อไทย” ห่วงค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลโควิดพุ่งซ้ำเติมภาระการคลัง ลั่นหลังเปิดสภาฯ จี้รัฐบาลตัดงบซื้ออาวุธมาสู้โควิด
  • รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ เพื่อพิจารณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ รองรับกรณีที่รัฐบาลได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการใช้จ่ายตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท เต็มจำนวนกรอบวงเงินตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ ก่อนเสนอให้ที่ประชุม ครม. เห็นชอบต่อไป
  • องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงในวันนี้ว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617) ได้ถูกจัดชั้นให้เป็นไวรัส “สายพันธุ์ที่สร้างความวิตกกังวล” ซึ่งบ่งชี้ว่าไวรัสดังกล่าวได้กลายเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพในระดับโลก WHO ระบุว่าไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียมีการแพร่ระบาดรวดเร็วกว่าไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม และมีหลักฐานแสดงว่าไวรัส
    ดังกล่าวสามารถหลบเลี่ยงวัคซีน
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 266,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 1,000,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 6.1% ในเดือนเม.ย. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 5.8% ทั้งนี้ ตัวเลขจ้างงานที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดจะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ
  • ทำเนียบขาวแถลงว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดนจะประกาศแผนการกระตุ้นการจ้างงานในวันนี้ หลังจากที่กระทรวงแรงงาน เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่ย่ำแย่เมื่อวันศุกร์
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (10 พ.ค.) เนื่องจากตัวเลขจ้างงานเดือนเม.ย.ของสหรัฐที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด ได้ลดแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เมื่อคืนนี้ (10 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันพุธนี้
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันพุธนี้ ซึ่งหากตัวเลข CPI พุ่งขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ก็อาจส่งผลให้เฟดชะลอการผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยอาจลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อสกัดเงินเฟ้อ จากปัจจุบันที่เฟดทำ QE อย่างน้อย 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือน ก่อนหน้านี้ เฟดเคยส่งสัญญาณลดวงเงิน QE ในปี 2556 ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกต่อนักลงทุน ส่งผลให้ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทและตลาดหุ้นทั่วโลกทรุดตัวลงอย่างหนักในปีดังกล่าว
  • นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งได้แก่ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนมี.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย., ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย., ราคานำเข้าและส่งออกเดือนเม.ย., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือน มี.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนพ.ค.

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11 พ.ค. 64)

Tags: , ,
Back to Top