![](https://www.infoquest.co.th/wp-content/uploads/2025/02/EB0861FE54362DA3A6D51BB985A2DDA0.jpg)
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 12 ก.พ.68 เวลา 07.00 น. ตรวจวัดได้ 34.4-69.8 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพฯ อยู่ที่ 49.7 มคก./ลบ.ม. พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (ค่ามาตรฐานต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 67 พื้นที่
โดยพื้นที่ที่พบว่าค่าฝุ่น PM 2.5 สูงสุดใน 10 อันดันแรก มีดังนี้
1. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 69.8 มคก./ลบ.ม.
2. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 66.2 มคก./ลบ.ม.
3. เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 65.6 มคก./ลบ.ม.
4. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลนคราภิบาล : มีค่าเท่ากับ 64.8 มคก./ลบ.ม.
5. เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 63.2 มคก./ลบ.ม.
6.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 63.0 มคก./ลบ.ม.
7.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 59.2 มคก./ลบ.ม.
8.เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants) : มีค่าเท่ากับ 58.4 มคก./ลบ.ม.
9.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 58.2 มคก./ลบ.ม.
10.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม : มีค่าเท่ากับ 57.7 มคก./ลบ.ม.
สำหรับเขตที่มีปริมาณค่าฝุ่น PM 2.5 สูงสุด 5 เขตแรก มีดังนี้
1. เขตหนองแขม อยู่ที่ระดับ 67.4
2. เขตบางขุนเทียน อยู่ที่ระดับ 66.3
3. เขตบางนา อยู่ที่ระดับ 65.2
4. เขตลาดกระบัง อยู่ที่ระดับ 62.6
5. เขตหนองจอก อยู่ที่ระดับ 62.1
ข้อแนะนำสุขภาพ: สำหรับคุณภาพอากาศระดับสีส้ม (เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ)
– ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
– ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ในช่วงวันที่ 12 ก.พ. 68 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “ไม่ดี” ขณะมีอินเวอร์ชั่นใกล้ผิวพื้น ทำให้มลพิษทางอากาศแพร่กระจายได้อย่างจำกัด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงเพิ่มขึ้น สำหรับวันที่ 13-20 ก.พ. การระบายอากาศส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ “อ่อน-ดี” ประกอบกับชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะเปิดสลับปิด ทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลง
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (12 ก.พ. 68)
Tags: PM2.5, ฝุ่น PM2.5