![](https://www.infoquest.co.th/wp-content/uploads/2025/02/479CBE2196E09FB71A67AC7A4D336DB1.jpg)
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตรวจวัดได้ 24.5-50.4 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่า เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 22 พื้นที่
โดยพื้นที่ 10 อันดับแรกที่มีค่าฝุ่นสูงที่สุด ได้แก่
1. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลนคราภิบาล : มีค่าเท่ากับ 50.4 มคก./ลบ.ม.
2. เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 49.9 มคก./ลบ.ม.
3. เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 48.1 มคก./ลบ.ม.
4. เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 47.6 มคก./ลบ.ม.
5. เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 45.5 มคก./ลบ.ม.
6. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 45.3 มคก./ลบ.ม.
7. สวนหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 45.1 มคก./ลบ.ม.
8. เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 44.9 มคก./ลบ.ม.
9. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 43.7 มคก./ลบ.ม.
10. เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 41.7 มคก./ลบ.ม.
สำหรับ 5 อันดับ เขตที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงสุดในกรุงเทพฯ ได้แก่
1. เขตหนองจอก 51.5 มคก./ลบ.ม.
2. เขตลาดกระบัง 50.2 มคก./ลบ.ม.
3. เขตบึงกุ่ม 47.6 มคก./ลบ.ม.
4. เขตมีนบุรี 45.2 มคก./ลบ.ม.
5. เขตบางนา 44.9 มคก./ลบ.ม.
ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 7-9 ก.พ. 68 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “ดี” ขณะที่ชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะเปิดสลับปิด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลง ส่วนวันที่ 10-13 ก.พ.68 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “ไม่ดี-อ่อน” ขณะมีอินเวอร์ชั่นเกิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงเพิ่มขึ้น ก่อนจะกลับมาลดลงในช่วงวันที่ 14-15 ก.พ.68 และคาดการณ์วันนี้ มีหมอกในตอนเช้า
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (07 ก.พ. 68)
Tags: กทม., กรุงเทพมหานคร, ฝุ่น PM2.5, ฝุ่นละออง