นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.93/95 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 33.82 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค
เงินบาทเปิดตลาดอ่อนค่า หลังเมื่อคืนนี้ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ย. ออกมาสูงกว่าคาด ประกอบกับธนาคาร กลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% นอกจากนี้ ยังมีแรงขายพันธบัตรออกด้วย
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.80 – 34.10 บาท/ดอลลาร์ สำหรับวันนี้ยัง ไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตาม ตลาดรอดูการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ สัปดาห์หน้า
ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 152.76/79 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 152.47 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0465/0468 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0514 ดอลลาร์/ยูโร
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 33.846 บาท/ดอลลาร์
– “S&P” คงเครดิตประเทศไทยที่ BBB+ หลังประเมินปี 2567 เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง เคาะจีดีพีที่ 2.8% รับอานิสงส์ ท่องเที่ยวฟื้นตัว ห่วงหนี้ภาครัฐปีหน้าบวม 3.3% หลังอัดมาตรการเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต พร้อมจับตาเสถียรภาพการ เมืองในประเทศ
– เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า 10 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค.-ต.ค.) ไทยมีมูลค่า การค้าสินค้าเกษตร รวมทั้งสิ้น 2,146,745 ล้านบาท โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.49% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการส่ง ออกมูลค่า 1,536,704 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 9.24% การนำเข้ามูลค่า 610,041 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.15% ส่งผลให้ไทยมี ดุลการค้าสินค้าเกษตร เกินดุลถึง 926,663 ล้านบาท
– ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ตามการคาดการณ์ของตลาด และเป็นการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4 ในปีนี้ หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมิ.ย.
– กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผย ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 17,000 ราย สู่ระดับ 242,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 220,000 ราย
– นักลงทุนยังคงเทน้ำหนักเกือบ 100% ต่อคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ใน การประชุมสัปดาห์หน้า แม้มีการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
– ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่าดัชนี PPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่าย ของผู้ผลิต พุ่งขึ้น 3.0% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2566 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ คาดการณ์ที่ระดับ 2.6% หลังจากปรับตัวขึ้น 2.6% ในเดือนต.ค.
– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 1% ในวันพฤหัสบดี (12 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากราคา ทองคำทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์เมื่อวันพุธ นอกจากนี้ นักลงทุนได้ปรับโพสิชันการลงทุนก่อนการประชุมนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (13 ธ.ค. 67)
Tags: ค่าเงินบาท, เงินบาท