ความลับที่อยู่ในรูปของสารสกัด จากงานวิจัยตลอด 25 ปีที่ผ่านมาของ บมจ.สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ (SNPS) ทั้งหมด 398 รายการที่สามารถระบุชนิดของสารสำคัญที่ได้จากกระบวนการสกัดสมุนไพรที่เป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ (Standardization) รวมถึงการกำหนดปริมาณสารสำคัญ (Active Pharmaceuticals Ingredients:API) ที่ได้จากการสกัดสมุนไพรในแต่ละครั้ง เพื่อให้ได้สารสกัดที่มีสรรพคุณ และปริมาณตามที่ต้องการได้ ถือเป็น Hidden Assets ที่ยังไม่ได้ถูกบันทึกลงไปในงบการเงินของบริษัท
ในแง่ของการสร้างผลิตภัณฑ์ทางยา ,อาหารทางการแพทย์ และเครื่องสำอาง ที่เป็นสารสกัดทางเคมี จากการสังเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ สามารถทำได้ไม่ยาก เนื่องจากมีสูตรเฉพาะอยู่แล้ว
แต่ในส่วนของ การได้สารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ จากกระบวนการ API กลับเป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่า และซับซ้อนยิ่งกว่า เนื่องจากในพืชสมุนไพร 1 ตัว จะมีคุณสมบัติและสารสำคัญหลายร้อยชนิดแฝงอยู่ ยกตัวอย่างสมุนไพรปริมาณ 1,000 กิโลกรัม สามารถสร้างสารสกัดได้เพียงแค่ 1 กิโลกรัมเท่านั้น
ในสารสกัดที่ได้ออกมา 1 สรรพคุณ สามารถนำมาแยกเป็น 4-5 ตัวยาที่สามารถนำมาใช้ในการเสริมความแข็งแรงให้แต่ละจุดของร่างกาย
โดยมีขั้นตอนก่อนออกมาจนเป็นสรรพคุณตามที่ต้องการจะถูกแบ่งเป็น 3 เฟส ดังนี้
1.ความปลอดภัยสามารถนำมาใช้ได้ โดยจะเริ่มทดสอบในห้อง Lap ก่อนจะนำมาใช้ทดลองกับสิ่งมีชีวิต
2.ทดสอบ กับ สัตว์
3.ทดสอบ กับมนุษย์ ที่เป็นอาสาสมัคร ไม่ต่ำกว่า 200 ราย
ระยะเวลาที่ใช้ทั้ง 3 เฟส กินเวลานาน 2-3 ปีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับชนิดของสารสกัด
กรรมวิธีเหล่านี้จะแตกต่างจากการนำเอาพืชสมุนไพรมาบดละเอียดแล้วใส่ในแคปซูล เนื่องจากการบดใส่แคปซูลจะไม่สามารถกำหนดสรรพคุณให้เกิดความคงที่ , มาตรฐานการรับปริมาณตัวสมุนไพรว่า มาก หรือ น้อยเกินไป, ความสะอาด รวมถึงความปลอดภัยที่จะหยิบนำไปใช้ในบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive) ที่แตกต่างกัน หากใช้สมุนไพรที่ไม่ใช่มาจากสารสกัด
ฉะนั้น จึงสามารถสรุปข้อแตกต่างของ SNPS ที่ไม่เหมือนบริษัทอื่น ๆ ในตลาดหุ้นได้อย่างง่ายดายว่าไม่ใช่บริษัทรับจ้างผลิตยาสมุนไพร แต่เป็นบริษัทที่ทำงานวิจัยและผลิตสารสกัดที่ได้มาตรฐานสากล และสามารถขายไปยังต่างประเทศได้
โดยในแต่ละปีบริษัทจะมีค่าการวิจัยและพัฒนา (R&D) ปีละ 7-9% ของยอดขาย ซึ่งถือว่าค่อนข้างมาก และถือเป็นความแตกต่างจากบริษัทที่ทำเกี่ยวกับสินค้าเวชภัณฑ์อื่นทั่วไป
ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้น(GP)อยู่ที่ 40% อัตรากำไรสุทธิ(NP) อยู่ที่ 15%
-ก้าวใหม่ ก้าวใหญ่ของ SNPS
ในยุคที่ผู้บริโภคมองหาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ปลอดภัย และมีคุณภาพสูง การก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมสมุนไพรและความงาม ด้วยการผสานทรัพยากรธรรมชาติของไทยเข้ากับนวัตกรรมระดับโลก ทำให้ SNPS เป็นตัวเลือกที่น่าจับตามองในการลงทุนที่พร้อมจะเติบไปพร้อม 3 Mega Trend ที่อยู่ใน 3 ตลาด โดยมี TAM ขนาดใหญ่ที่พร้อมเติบโตต่อเนื่องได้ ไม่ว่าจะเป็น ตลาดสมุนไพรสกัด ,เครื่องสำอาง และ ตลาดอาหารเสริม
โดยเฉพาะในตลาดเครื่องสำอางเอง มีกลุ่ม Segment ใหม่ที่ลูกค้าต้องการทั้งความสวยและความปลอดภัย เครื่องสำอางที่มีความ Green และ Clean จึงตอบโจทย์ลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งนับเป็น Counter positioning ที่เฉียบขาดในการรวมสารสกัดสมุนไพรเข้ากับเครื่องสำอาง เป็นเครื่องสำอางที่ปลอดเคมี รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนสูงขึ้นก็จะเป็นมีส่วนหนึ่งเสริมยอดขายให้ทางบริษัทได้ในกลุ่มอาหารเสริม
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ ที่ส่งเสริมการเติบโตของสมุนไพรเนื่องจากสภาพแวดล้อมและปัจจัยในการส่งเสริมคุณภาพสมุนไพรไทย จากแดดดี ดินดี และน้ำที่สมบูรณ์ รวมถึงอากาศที่เอื้ออำนวย สมุนไพรไทยจึงจัดได้ว่ามีความแข็งแกร่งและเป็นที่ยอมรับจากต่างชาติในระดับสากล
ESG การดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ Cost อีกต่อไป สำหรับ SNPS นั้น ESG หมายถึงการดูแลดิน ดูแลน้ำ ดูแลเกษตรกร ให้ความรู้การเพาะปลูก รวมถึง Traceability ที่สามารถ Track Back ผลผลิตเพื่อตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งกำเนิด สิ่งเหล่านี้อยู่ในขบวนการผลิตของ SNPS อยู่แล้ว เพราะต้องควบคุมวัตถุดิบให้สะอาดก่อนนำมาสกัดส่งมอบให้ลูกค้า ESG นั้นจะเป็นเครื่องมือเปิดโอกาสให้สามารถส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ จากกฎระเบียบของสหภาพยุโรปเช่น EUDR (European Union Deforestation Regulation)
EUDR เป็นกฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปที่มีเป้าหมายเพื่อลดการตัดไม้ทำลายป่าและส่งเสริมความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานสินค้า ซึ่งสินค้าไทยที่ผ่านมาตรฐาน EUDR จะสามารถแข่งขันในตลาดยุโรปได้ดีขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคในยุโรปให้ความสำคัญกับสินค้า “Green” และ “Sustainable” มากขึ้น และทางตรงข้าม การไม่ปฏิบัติตาม EUDR จะส่งผลให้สินค้าไทยถูกปฏิเสธและไม่สามารถส่งออกไปในตลาดยุโรปได้นั่นเอง
– Barrier to Entry
อุตสาหกรรมการสกัดสมุนไพรมาตรฐาน มี Barrier to Entry ที่สูง การสกัดไม่ใช่การตำๆ บดๆ ให้เป็นผง หรือการตากแดด แต่เป็นการนำสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรนั้นออกมาให้คงอยู่ในรูปแบบมาตรฐาน ให้สื่อสารได้ในทุกๆ ภาษา รวมถึงมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่สำคัญเช่น
(1) การ Transform ให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ ที่ลูกค้าต้องการ เช่นผงชงดื่ม ครีมทาผิว แคปซูล
(2) การทำให้สารออกฤทธิ์ดูดซึมได้ดี
(3) การทำให้ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นส่วนป้องกันคู่แข่งในการเข้าสู่อุตสาหกรรมได้
– High Switching Cost
บริษัทไม่เพียงแค่บริการส่งมอบวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า แต่บริการในรูปแบบ One stop service ตั้งแต่ลูกค้าเดินเข้ามา แบบมีเพียงไอเดียว่าอยากจะขายอะไร ให้คำปรึกษาสารตัวไหนมีฤทธิ์อะไร มีเอกสารงานวิจัย paper support พาขึ้นทะเบียนยา จนถึงผลิตเป็นสินค้า ส่งเหล่านี้สร้าง High Switching Cost ให้กับทาง SNPS
รวมถึงการมี Partner ที่เป็นผู้ถือหุ้นด้วยที่แข็งแกร่ง เช่น KAMART, BCH และ ห้าตะขาบ ก็น่าจะส่งมอบงานและรักษายอดขายให้กับทางบริษัทต่อไป
-Branding
บริษัทที่รับจ้างผลิตก็สามารถมี Brand ของตัวเองได้ โดย SNPS มีการจด Brand ของวัตถุดิบด้วย ไม่เพียงแต่ End product เท่านั้น ตัวอย่างเช่น B-Gold จะเป็น Brand ของ Raw Material ที่เป็นส่วนผสมในสินค้าของลูกค้า ถ้าใครมีสารตัวนี้เป็นส่วนผสมก็การันตีได้เลยว่าเป็นสินค้าจาก SNPS
อารมณ์คล้ายๆ Intel Inside ที่ใครจะซื้อคอมพิวเตอร์จะมั่นใจได้ในประสิทธิภาพการประมวลผลจากชิปของ Intel หรือหากใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมหรือกราฟิกสูงๆ แบรนด์ผู้ผลิตมักจะระบุว่าใช้ การ์ดจอของ NVIDIA เช่น GeForce RTX ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพด้านกราฟิกที่ยอดเยี่ยม
โดย B-Gold ก็เช่นกัน ลูกค้ามั่นใจได้ในความปลอดภัยจากสารเคมี เพราะเป็นสารสกัดจากสมุนไพรไทย 100%
จากนี้ไป SNPS จะเติบโตในตลาดที่มีศักยภาพ Leverage จาก Soft Power ของไทย พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างครอบคลุม
ธิติ ภัทรยลรดี
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11 ธ.ค. 67)
Tags: SCOOP, SNPS, มองมุมต่าง, สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์