เงินบาทเปิด 33.48 อ่อนค่าเล็กน้อย แนวโน้มแกว่งในกรอบ 33.35-33.55 รอปัจจัยใหม่

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.48 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อย แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 33.46 บาท/ ดอลลาร์

โดยตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาททยอยอ่อนค่าลงบ้าง ในลักษณะ sideways up แม้เงินดอลลาร์จะแกว่งตัว sideways เพื่อรอรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม แต่เงินบาทก็เผชิญแรงกดดันบ้าง หลังราคาทองคำมีจังหวะย่อตัวลง เปิดโอกาสให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วน ทยอยเข้าซื้อทองคำ ท่ามกลางความกังวลสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวัน ออกกลางที่ยังคงร้อนแรงอยู่

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาทนั้น โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทยังคงมีอยู่ แต่เงินบาทก็ยังไม่สามารถอ่อนค่าทะลุโซนแนว ต้าน 33.50 บาท/ดอลลาร์ได้อย่างชัดเจน เพราะตราบใดที่ราคาทองคำยังมีจังหวะปรับตัวสูงขึ้นได้ จากความกังวลสถานการณ์ความขัด แย้งในตะวันออกกลาง เงินบาทก็อาจไม่สามารถอ่อนค่าลงได้ต่อเนื่องอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าอยู่ หลังผู้เล่นในตลาดไม่เพียงแต่ปรับลดความคาดหวังต่อการ “เร่งลดดอกเบี้ย” ของเฟด แต่ล่าสุดยังปรับลดความคาดหวังต่อการ “ลดดอกเบี้ย” ของเฟดลงบ้าง ซึ่งภาพดังกล่าว ได้หนุนทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ สหรัฐฯ

“หากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอลงมากกว่าคาด หรือรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอลงมากขึ้นชัดเจน ก็อาจกดดันให้ผู้ เล่นในตลาดกลับมาเชื่อว่า เฟดจะทยอยลดดอกเบี้ยได้ตาม Dot Plot หรือมากกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot ซึ่งอาจกดดันให้เงินดอลลาร์ กลับมาอ่อนค่าลงได้”

นายพูน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.35-33.55 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 147.80 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 148.00/50 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0982 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0920/0980 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.448 บาท/ดอลลาร์

– “แพทองธาร” ประกาศ 4 วิสัยทัศน์พัฒนาเศรษฐกิจอาเซียน ให้ขยายตัว 4-5% ต่อปี ยกระดับเป็นเซฟโซนสำหรับนักลงทุน รองรับอุตสาหกรรมสมัยใหม่ พร้อมเสนอไทยเป็นสื่อกลางเจรจาสันติภาพ ด้าน “พิชัย” ดันไทยเป็นศูนย์กลาง Data Center ของอา เซียน ชวนนานาชาติลงทุนตั้ง Data Center ในไทย

– คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงข้อกังวลต่ออุตสาหกรรมส่งออกจากปัจจัยเงินบาท แข็งค่าว่า จากที่ปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลบาทไทยกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 33.33 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ โดยมี การแข็งค่าอย่างรวดเร็วมากภายในระยะเวลาประมาณ 5 เดือนเท่านั้น ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่งออกได้รับความเดือดร้อน เพราะการแลกเงินที่ได้รับจากการส่งออกกลับเป็นเงินบาทแลกได้น้อยลง ส่งผลกระทบในอุตสาหกรรมหลายด้าน โดยเฉพาะความสามารถ ในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในอนาคตลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

– ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค.ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อไทยปี 67 ใหม่ เป็นคาดขยายตัว 0.2-0.8% จากเดิม 0.0-1.0% แต่ยังมีค่ากลางเท่าเดิมที่ 0.5% เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่สภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้ปรับใหม่เป็นขยายตัว 2.3-2.8% จากเดิม 2-3%, ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มต่ำกว่าปีก่อนหน้า โดยไตรมาส 4 ปี 66 เฉลี่ยสูงกว่า 80 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล แต่ขณะนี้ราว 70 เหรียญ/บาร์เรล และค่าเงินบาทแข็งค่าอยู่ที่ 34.5- 35.5 บาท/เหรียญสหรัฐฯ จากเดิมกว่า 36 บาท

– ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมไตรมาสสุดท้ายของปี 67 (ต.ค.-ธ.ค.) คาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้จากเดิมมีความกังวลว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในไทยหลายแห่งอาจกระทบทำให้นักท่อง เที่ยวต่างชาติชะลอตัวลง แต่ที่ผ่านมากลับพบว่าตลาดนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเที่ยวไทยในช่วงหยุดยาววันชาติจีนสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยใน ช่วง 3 เดือนที่เหลือนี้ หากจะไปให้ถึงเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ตั้งไว้ 36.7 ล้านคน จะต้องดึงต่างชาติเที่ยวไทยให้ได้ 10 ล้านคนหรือเพิ่มอีก 20% เทียบกับปี 66 ที่ทำได้ประมาณ 7.9 ล้านคน

– ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (7 ต.ค.) โดยปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นทะลุระดับ 4% ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (7 ต.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และจาก การที่นักลงทุนลดความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนพ.ย. หลังจาก สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาด

– นักลงทุนลดความคาดหวังที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนพ.ย. หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยตัว เลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่สูงเกินคาด โดยล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 86% ที่เฟดจะปรับ ลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนพ.ย. และให้น้ำหนัก 14% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนดังกล่าว

– นักลงทุนจับตาข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ โดยในวันพฤหัสบดีจะมีการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ก.ย. และในวันศุกร์จะมีการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ย.

– นักเศรษฐศาสตร์และเทรดเดอร์ต่างจับตาการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากคณะผู้นำของจีนได้ส่งสัญญาณ ถึงความต้องการที่จะยุติการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยก่อนที่จะถึงช่วงหยุดยาววันชาติ รัฐบาลจีนได้ออกมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจหลายรายการ ซึ่งรวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มสภาพคล่องเพื่อสนับสนุนการปล่อยกู้ในภาคธนาคาร และให้คำมั่นสัญญา ว่าสนับสนุนตลาดหุ้นในวงเงินสูงถึง 3.40 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (08 ต.ค. 67)

Tags: , ,
Back to Top