เงินบาทเปิด 35.14 อ่อนค่า รับเงินเฟ้อสหรัฐตามคาดหนุนดอลลาร์แข็งค่า-กังวลการเมืองในปท.

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.14 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.95 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังตัวเลขเงินเฟ้อของ สหรัฐฯ ออกมาตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้

ส่วนปัจจัยในประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจมีความเปราะบาง โดยตลาดติดตามความคืบ หน้าในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งหากล่าช้าจะส่งผลให้ตลาดขาดความเชื่อมั่น

ในสัปดาห์นี้ต่างชาติขายพันธบัตรแล้วประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท จากสัปดาห์ก่อนที่ซื้อราว 3 หมื่นล้านบาท

“บาทอ่อนค่าตามทิศทางตลาดโลก และเกิดปัญหาทางการเมืองที่ทำให้ตลาดกังวลเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ” นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.05 – 35.25 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 147.25 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 147.06 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1013 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1027 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.958 บาท/ดอลลาร์

– ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่มีมติเสียงข้างมากให้ นาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดจากตำแหน่งนั้น เบื้องต้นประเมินว่าไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวไทย เนื่องจากในเชิง นโยบายสามารถเดินไปได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว ดำเนินการตามนโยบายเหมือนเดิม เพราะภาคการท่องเที่ยวไทย ถือเป็นเครื่องมือหลักใน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวต่อไป จึงเชื่อว่าไม่ว่ารัฐบาลจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร แต่นโยบายหลักจะสานต่ออย่างแน่นอน ไม่มี ประเด็นให้ต้องเปลี่ยนแปลง

– ส.อ.ท.ยอมรับช็อกผลการตัดสินนายกรัฐมนตรีพ้นเก้าอี้ คาดการลงทุนชะงัก ด้านหอการค้าไทยเชื่อรัฐบาลว่าไม่ยุบสภา เพื่อไทยเร่งตั้งนายก-ครม.ใหม่ภายใน 1 เดือน

– สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับคณะผู้แทนจาก ASEAN+3 Macroeconomic Research Office (AMRO) พบว่า AMRO ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะเติบโต 2.8% และปีหน้าเติบโต 3.4% เป็นผลจากอุปสงค์ ภาคเอกชนในประเทศที่ขยายตัวดี ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งรวมถึงผลจากโครงการดิจิทัลวอ ลเล็ต ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปจะยังอยู่ในระดับต่ำ โดยปรับลดลงจาก 1.3% ในปีที่ผ่านมาเป็น 0.7% ในปีนี้ จากมาตรการอุดหนุนราคา พลังงาน และราคาอาหารและสิ่งของจำเป็นอื่นๆ ที่ลดลงแต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.6% ในปีหน้า ตามผลของมาตรการอุดหนุนราคาพลังงาน ที่ ทยอยหมดลงและเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งขึ้น

– สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2567 ของญี่ปุ่น ขยายตัวแข็ง แกร่งเกินคาดทั้งเมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสและเทียบเป็นรายปี เนื่องจากค่าจ้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนทั่ว ประเทศ

– กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ปรับ ตัวขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากที่ปรับตัวลง 0.1% ในเดือน มิ.ย.

– ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (14 ส. ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งทำให้นักลงทุนลดน้ำหนักต่อการคาด การณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนก.ย.

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (14 ส.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สอดคล้องกับการ คาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งทำให้นักลงทุนลดความคาดหวังที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประ ชุมเดือนก.ย.

– นักลงทุนพากันเทน้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประ ชุมเดือนก.ย. หลังการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเงินเฟ้อ และจะเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด

– เครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 36% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนก.ย. โดยก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยดัชนี CPI นั้น นักลงทุนให้น้ำหนัก 50% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนก.ย.

– ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่จะเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือน ก.ค., ราคานำเข้าและราคาส่งออกเดือนก.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนส.ค. จาก เฟดนิวยอร์ก, ดัชนีการผลิตเดือนส.ค. จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค., สต็อกสินค้าคงคลัง ภาคธุรกิจเดือนมิ.ย. และดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนส.ค. จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB)

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (15 ส.ค. 67)

Tags: , ,
Back to Top