จากผลการสำรวจสถาบันพระปกเกล้า โดย สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับ สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง
และศูนย์พัฒนากการเมืองภาคพลเมือง 76 จังหวัด พบว่า หากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้ง สส. แบบแบ่งเขต หรือบัญชีรายชื่อของพรรคใด พบว่า คนส่วนใหญ่ ยังคงจะเลือกพรรคก้าวไกลมากเป็นอันดับ 1 ทั้งสองบัตร
พรรคการเมือง | สส.แบ่งเขต | สส.บัญชีรายชื่อ | รวม |
ก้าวไกล | 161 | 47 | 208 |
เพื่อไทย | 84 | 21 | 105 |
ภูมิใจไทย | 58 | 3 | 61 |
พลังประชารัฐ | 28 | 2 | 30 |
รวมไทยสร้างชาติ | 23 | 11 | 34 |
ประชาธิปัตย์ | 19 | 3 | 22 |
ชาติไทยพัฒนา | 9 | 1 | 10 |
ประชาชาติ | 8 | 1 | 9 |
อื่นๆ | 10 | 11 | 21 |
รวม | 400 | 100 | 500 |
*คะแนนนิยมก้าวไกลทิ้งห่างเพื่อไทย อาจได้ สส. มากกว่าเพื่อไทย เกือบ 2 เท่า
เมื่อนำตัวเลขประมาณการที่นั่งที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีโอกาสได้รับจากการเลือกตั้งทั้งสองระบบมารวมกัน พบว่า
พรรคก้าวไกลเป็นพรรคที่มีโอกาสได้ที่นั่งมากที่สุด รวม 208 ที่นั่ง รองลงมาเป็นพรรคเพื่อไทย 105 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย 61 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ 34 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐ 30 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 22 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 ที่นั่ง และพรรคประชาชาติ 9 ที่นั่ง ตามลำดับ ส่วนที่นั่งที่เหลือจะกระจายไปยังพรรคการเมืองอื่น ๆ รวม 21 ที่นั่ง
*เสียงส่วนใหญ่เชียร์ “พิธา” เป็นนายกรัฐมนตรี
คนส่วนใหญ่อยากให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี 46.9% รองลงมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 17.7% ตาม
มาด้วย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร 10.5%, นายเศรษฐา ทวีสิน 8.7%, นายอนุทิน ชาญวีรกูล 3.3%, นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 1.7%, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ 0.4% และอื่นๆ รวมกับที่ยังไม่เห็นว่ามีคนที่เหมาะสมอีก 10.9%
ทั้งนี้ สถาบันพระปกเกล้า ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ความนิยมในพรรคการเมืองและนายกรัฐมนตรี : 1 ปี
หลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาฯ 2566″ จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 1,620 ราย ระหว่างวันที่ 7-18 พ.ค.ที่ผ่านมา