นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวในงานสัมนา “SDGs Bonds: Finance for a Better Future หุ้นกู้เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม: หุ้นกู้แห่งอนาคต ” ว่า ก.ล.ต.ให้ความสำคัญกับไว้ให้ความสำคัญสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ทั้งนี้เห็นว่าการดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพชีวิตชุมชน เป็นความเสี่ยงสำคัญเชิงกลยุทธ์ธุรกิจ ส่งผลต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ และมูลค่าของสินทรัพย์ของบริษัท และอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการระดมทุน และผลการดำเนินงานด้วย
ดังนั้นอยากเรียกร้องให้ธุรกิจและนักลงทุนมุ่งให้ความสำคัญของการรักษาความยั่งยืน และให้ความสำคัญคำนึงถึงสิ่งแวลดอมสังคมและธรรมาภิบาล โดยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจและภาครัฐได้ออกตราสารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือ หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) รวมวงเงิน 9 หมื่นล้านบาท และอนาคตจะมี Social Impact Bond ด้วย
และมีข้อมูลชัดเจนในตลาดต่างประเทศที่มีการออกหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond) และตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) รวมกัน 3 แสนดอลลาร์สหรัฐ
นางสาวจอมขวัญ คงสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสายระดมทุน สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า ESG เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับบริษัท ที่มีผลต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ผลการดำเนินงาน หากผลการดำเนินงานไม่ดีก็จะกระทบผู้ลงทุน จึงเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับตลาดทุนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ความสำคัญธรรมาภิบาลยังไม่พอก็ยังมีเรื่องสิ่งแวดล้อม และสังคม จนนำมาเป็น One Report หรือ รายงานประจำปี ซึ่งบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ต้องเปิดเผย ESG การหลักคิดความรับผิดชอบชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม สิ่งที่เราเดินหน้าทำ บจ.ขนาดใหญ่ก็ไม่น่าเป็นห่วง และเราเน้นให้ความรู้ให้กับบริษัทกลางและเล็กในการรายงานประจำปี
ที่ผ่านมา ก.ล.ต.สนับสนุนให้มมีการออก Green Bond, Social Bond และ Sustainbility Bond มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมขออนุญาตและไฟลิ่ง รวมทั้ง Reviewer เป็นคนที่ตรวจสอบว่าหุ้นกู้นี้เป็นสีเขียว ซึ่ง ก.ล.ต.ได้ผลักดันให้มี Reviewer ที่เป็น local ด้วย โดย ESG สำคัญกับธุรกิจ ซึ่งบริษัทจัดการลงทุนโชว์ให้เห็นว่าที่ลงทุนบริษัทที่มี ESG ดี ในระยะยาวผลตอบแทนก็กลับมาดี
อย่างไรก็ตาม เรื่อง ESG ต้องร่วมมือกับทั้งผุ้ออกตราสาร ผู้ลงทุน อันเดอร์ไรท์เตอร์ และ Reviewer อย่างไรก็ตาม บางกิจการอาจเห็นว่าการออก Green Bond, Social Bond หรือSustainbility Bond ไม่ยืดหยุ่น แต่ก็จะมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน แต่อาจไม่เข้มเท่ากลุ่ม Green Bond จึงได้ออกตราสารใหม่ ได้แก่ Sustainbility Link Bond (SLB) โดยอาจไม่มีโครงการที่ชัดเจน และไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าต้องใช้ในโครงการอะไร แต่มีเป้าหมายด้านความยั่งยืน อาทิ การตั้งเป้าในการลดคาร์บอน ตั้งผลตอบแทนที่ขึ้นอยู่กับการลดคาร์บอน เป็นทางเลือก
นอกจากนี้มี Transition Bond สำหรับกลุ่มบริษัทที่มีคาร์บอน เช่น บริษัทน้ำมัน ซึ่งหากออก Green Bond ก็อาจจะไม่น่าเชื่อถือ สามารถหันมาใช้ Transition Bond โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้โครงการที่สามารถลดคาร์บอนได้ หรือ less brown หรือ Greener เช่น ไปทำโรงงานก๊าซแทนที่จะไปทำโรงงานถ่านหิน เป็นต้น
นอกจากนี้ในอนาคต ก.ล.ต.จะผลักดันผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนการดูแลสิ่งแวดล้อม อาจจะได้เห็น ESG Fund , Green REIT, Green Infrastructure Fund และการนำหุ้นกู้ ESG Bond ไปซื้อขายในตลาดต่างประเทศ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ลักเซมเบิร์กที่เป็นศูนย์รวม Green Luxemburg ใหญ่ที่สุด โดยกลุ่มกองทุนบำเหน็จบำนาญก็เฟ้นหาผลิตภัณฑ์เหล่านี้
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า สบน.เพิ่งได้ออกพันธบัตรรัฐบาลหรือบอนด์เพื่อความยั่งยืน ซึ่งจะมีทั้งพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พันธบัตรเพื่อสังคม เป็นครั้งแรกของรัฐบาลไทย อายุ 15 ปี วงเงินไม่เกิน 30,000 ล้านบาท
แบ่งเป็น ส่วนแรกปล่อยสินเชื่อต่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) 10,000 ล้านบาท และส่วนที่ 2 .ระดมทุนภายใต้ พ.ร.ก.แก้ปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อีก 20,000 ล้านบาท โดยมีนักลงทุนต้องการซื้อมากกว่าที่มี่อยู่ 3.05 เท่า และได้ดอกเบี้ยดีกว่า Benchmark
โดยขั้นตอนต่อไปจะนำพันธบัตรดังกล่าวไปในตลาดต่างประเทศซึ่งจะร่วมทำงานกับ ก.ล.ต. นอกจากนี้จะผลักดันให้รัฐวิสาหกิจออก Green Bond และ Social Bond ให้มากขึ้น ซึ่งได้มีรัฐวิสาหกิจ 2 แห่งคือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ได้ออก Green Bond ตามหลัง สบน.และผลตอบรับก็ดีมาก ทางสบน.ได้ติดต่อให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)เป็นผู้ให้คะแนนรัฐวิสาหกิจหากหน่วยงานนั้นได้ออก Green Bond และ Social Bond เพื่อจูงใจรัฐวิสาหกิจให้ตัดสินใจออกหุ้นกู้ประเภทนี้มากขึ้น
นายมนตรี อุปถัม รองผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายทุนธนกิจ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า Green Bond ในต่างประเทศมีมานานพอสามควรและได้รับความนิยม เพราะผู้ลงทุนต่างประเทศเป็นคนขับเคลื่อนให้มีหุ้นกู้ประเภทนี้เพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมกลับมาสู่ระดับสมดุล ทำให้บริษัทต่างๆ ออกตราสารประเภทนี้ก็มีความต้องการสูง
บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ได้ออก Green Bond เป็นรายแรก ซึ่งได้รับการสนับสนุนการออกหุ้นกู้ประเภทนี้ในการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ ส่วนนักลงทุนสถาบัน ที่มี บลจ. บริหารแต่ละกองทุน ก็ต้องการลงทุนหุ้นกู้ประเภทนี้ และนักลงทุนประกันชีวิต โดยเฉพาะต่างประเทศ เช่น เอไอเอ แอกซ่า ก็มีนโยบายลงทุนตราสารประเภทนี้ หากนักลงทุนไทยมีการตระหนักมาก ก็จะทำให้เกิด Ecosystem ในการออกตราสารประเภทนี้มากขึ้นด้วย
ปัจจุบันมีอีกหลายบริษัทที่มีความสามารถออก Green Bond ได้ แต่ต้องเปลี่ยน Mindset ผู้บริหารต้องตระหนักเรื่องเสิ่งแวดล้อม อย่างไปห่วงเรื่องค่าใช้จ่าย ทำเพื่อให้โลกน่าอยู่ขึ้น และที่สำคัญการนำเงินที่ระดมทุนได้ไปใช้โครงการที่ช่วยสิ่งแวดล้อม
นายมนตรี กล่าวว่า ต้องการเห็นผู้เล่นในตลาดทุนมากขึ้น ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ควรเข้ามาสนับสนุน เพราะ ESG เป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ถ้าบริหารจัดการไม่ดีก็เกิดต้นทุนได้ ถ้าบริหารจัดการดีก็ควรได้รับรางวัล เช่นบริษัทประกันที่มีการลงทุนในบริษัทที่มี ESG ดี แสดงว่าไปลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงน้อยลง คปภ.จะเข้ามาช่วยเรื่องการจัด Risk weight ต่ำลง โดยหากหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนก็เชื่อว่าน่าจะไปได้ไกล หรือ ธปท.เข้ามาดูเรื่อง Risk Weight ของธนาคารพาณิชย์
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02 ต.ค. 63)
Tags: ก.ล.ต., กรีนบอนด์, จอมขวัญ คงสกุล, บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์, มนตรี อุปถัม, รื่นวดี สุวรรณมงคล, หุ้นกู้, แพตริเซีย มงคลวนิช