เปิดชื่อ ส.ส.-ส.ว.เสียงแตกโหวตตั้ง กมธ.ศึกษาแก้รัฐธรรมนูญ

ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … วานนี้ (6 ก.ค.) ในการอภิปรายมาตรา 23 ซึ่งแก้ไขเนื้อหาของมาตรา 128 ว่าด้วยวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่กรรมาธิการ (กมธ.) เสียงข้างมากเสนอให้ใช้จำนวน 100 คนหาค่าเฉลี่ยต่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ซึ่งได้ใช้เวลาพิจารณาถกเถียงนานกว่า 4 ชั่วโมง

โดยเมื่อเวลา 21.55 น.ที่ประชุมได้ลงมติ 392 เสียง ต่อ 160 เสียง ไม่เห็นด้วยกับ กมธ.เสียงข้างมากที่ให้ใช้สูตรคำนวณหารด้วย 100 จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นด้วยกับคำแปรญัตติของ กมธ.เสียงข้างน้อย (นพ.ระวี) 354 ต่อ 162 เสียง

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ในฐานะ กมธ.เสียงข้างมาก อภิปรายชี้แจงว่า การแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.นั้น ทำให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564 มาตรา 91 ว่าด้วยสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งกำหนดรายละเอียดสำคัญคือ ต้องเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กัน

อย่างไรก็ดี ตนในฐานะอดีตประธาน กมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เตรียมรายงานการประชุมทั้งหมดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ถ้ามีการพิจารณาความชอบของร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 23 ที่แก้ไขมาตรา 128 ว่าจะใช้จำนวน 500 คนหาค่าเฉลี่ยได้หรือไม่ อีกทั้งพร้อมจะนำเจตนารมณ์ไปพิสูจน์กันในศาลรัฐธรรมนูญด้วย

ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวย้ำกับที่ประชุม จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแน่นอน หลังจากพบว่าฝ่ายบริหารมีการก้าวล่วงอำนาจอธิปไตย ถือเป็นการจงใจฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรม ดังนั้นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีการอภิปรายเรื่องดังกล่าวแน่นอน

สำหรับผลการลงมติเสียงข้างมากให้พลิกสูตรคำนวณดังกล่าว 392 เสียง ส่วนใหญ่มาจากพรรคพลังประชารัฐ , พรรคภูมิใจไทย ที่พบว่าลงคะแนนไม่แตกแถวทุกคน ยกเว้น 3 ส.ส. ที่ไม่ปรากฎการลงคะแนน คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล , นายเอกราช ช่างเหลา และนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์, พรรคประชาธิปัตย์ 34 เสียง, 6 พรรคเล็กร่วมรัฐบาล, พรรครวมพลังประชาชาติไทย 5 เสียง, พรรคชาติไทยพัฒนา 5 เสียง, พรรคพลังท้องถิ่นไท 4 เสียง, พรรคเศรษฐกิจใหม่ 4 เสียง, พรรคเศรษฐกิจไทย 2 เสียง

นอกจากนั้น ยังมีพรรคฝ่ายค้านร่วมสนับสนุน รวม 59 คน ได้แก่ ก้าวไกล 47 เสียง, พรรคเสรีรวมไทย 5 เสียง และพรรคเพื่อไทย จำนวน 7 ได้แก่ นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น, นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์, นายธีระ ไตรสรณกุล, นายนิยม ช่างพินิจ, นางผ่องศรี แซ่จึง, นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร, นายสุชาติ ภิญโญ ร่วมลงมติสนับนุนด้วย ขณะที่มี ส.ว. ลงมติสนับสนุนอีก 164 เสียง

ขณะผลการลงมติเสียงข้างน้อย ซึ่งยืนยันต่อหลักการหาร 100 ที่มีจำนวน 160 เสียง มาจากพรรคพลังประชารัฐ 2 เสียง คือ นายไพบูลย์ นิติตะวัน และนายกฤษณ์ แก้วอยู่

พรรคประชาธิปัตย์ 11 เสียง ได้แก่ นายอันวาร์ สาและ, นายสุทัศน์ เงินหมื่น, นายสินิตย์ เลิศไกร, นายสาธิต ปิตุเตชะ, นายสมชาย ประดิษฐพร, นางศรีสมร รรัสมีฤกษ์เศรษฐ์, นายบัญญัติ บรรทัดฐาน, นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์, นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ, นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ และนายกนก วงษ์ตระหง่าน

พรรคเศรษฐกิจไทย 5 เสียง ได้แก่ นายเกษม ศุภรานนท์, น.ส.จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ, นายจีรเดช ศรีวิราช, นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูล, นายสมศักดิ์ คุณเงิน, นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์, นายปัญญา จีนาคำ, นายพรชัย อินทร์สุข, พล.ต.อ.ยงยุทธ เทพจำนงค์

พรรคเศรษฐกิจไทย 9 เสียง, พรรคชาติไทยพัฒนา คือ นายนิกร จำนง, พรรคเสรีรวมไทย คือ นายประสงค์ บูรณ์พงศ์, พรรคประชาชาติ 6 เสียง, พรรคเพื่อชาติ 5 เสียง ยกเว้น นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ส.ส.อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อชาติ, พรรคเศรษฐกิจใหม่ คือ นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล, พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง, พรรคพลังปวงชนไทย 1 เสียง, พรรคไทยรักธรรม 1 เสียง

ส.ว. 7 คน ได้แก่ นายไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์, นายคำนูณ สิทธิสมาน, นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, นายพลเดช ปิ่นประทีป, นายวันชัย สอนศิริ, นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์, นายเสรี สุวรรณภานนท์

ขณะที่ผู้งดออกเสียงและไม่ปรากฎการลงคะแนน ประกอบด้วย พลังประชารัฐ งดออกเสียง 5 เสียง ได้แก่ นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ, นายอรรถกร ศิริลัทธยากร, นายสุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานนันท์, นายวันชัย ปริญญาศิริ, น.ส.กัลยา รุ่งวิวิจิตรชัย

ส่วนผู้ไม่ลงคะแนน คือ นายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ และมีอีก 30 คน ไม่ปรากฎการลงมติ อาทิ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ, นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, นายสสุชาติ ตันเจริญย, น.ส.วทันยา บุญนาค, นายพิเชษฐ สถิรชวาล, น.ส.ตรีนุช เทียนทอง, นายชัยวุมิ ธนาคมานุสรณ์, นายสุชาติ ตันเจริญ เป็นต้น

พรรคประชาธิปัตย์ มีผู้งดออกเสียง 1 คน คือ นายสาคร เกี่ยวข้อง และมี 6 เสียงที่ไม่ปรากฎการลงมติ คือ นายชวน หลีกภัย, นายเกียรติ สิทธีอมร, นายอิสรพงษ์ มากอำไพ, นายวุฒิพงษ์ นามบุตร,พ.ท.สินธร แก้วพิจิตร, นายนราพัฒน์ แก้วทอง

ส่วนของพรรคฝ่ายค้าน พรรคก้าวไกล ไม่ปรากฎการลงมติ คือ นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร, น.ส.วรรณวรี ตะล่อมสิน, นายวุฒินันท์ บุญชู, น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล

พรรคเพื่อไทย ไม่ปรากฎการลงมติ 13 คน อาทิ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่, นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน, นายไพจิต ศรีวรขาน, นายขจิตร ชัยนิคม, นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. เป็นต้น

สำหรับการออกเสียงของ ส.ว. มีผู้งดออกเสียง 14 คน อาทิ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย, นายสมชาย เสียงหลาย, นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์, นายพรเพชร วิชิตชลชัย, พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง, นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ เป็นต้น และมีผู้ไม่ลงคะแนน คือ นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ขณะที่ ส.ว.อีก 73 คน ไม่ปรากฎการออกเสียงลงคะแนน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 ก.ย. 63)

Tags: , , ,
Back to Top