เงินบาทเปิด 35.12 อ่อนค่าหลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาดีกว่าคาดหนุนดอลลาร์แข็งค่า

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.12 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 35.00 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยเนื่องจากเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัด ซื้อ (PMI) ของสหรัฐฯ ก็ออกมาสูงกว่าคาด ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบทุกสกุลเงิน

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.00 – 35.25 บาท/ดอลลาร์ สำหรับวันนี้ยัง ไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจให้ต้องติดตาม เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ หยุดทำการ ทั้งนี้ คาดว่าตลาดจะยังย่อยข่าวตัวเลข เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 146.15 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 145.44 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0778 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0847 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.054 บาท/ดอลลาร์

– กกร. “ส่งสัญญาณเตรียมหารือ “เศรษฐา-ทีมเศรษฐกิจ” หวังร่วมมือขับเคลื่อน ศก.ประเทศท่ามกลางสารพัดปัญหารุม เร้า โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาปากท้อง และการหาตลาดใหม่รับมือส่งออกชะลอ

– นักวิชาการเสนอ ครม.เศรษฐา 1 เร่งอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น พร้อมปฏิรูประบบภาษี ผลักดันรัฐสวัสดิการแต่ต้อง คำนึงถึงความสามารถการคลัง

– “เพื่อไทย” คึก ประกาศประชุม ครม.นัดแรกลดแน่ดีเซล-ค่าไฟ ส่วนเบนซินจะให้เฉพาะกลุ่ม ปัดแจกเงินดิจิทัลทยอยจ่าย ลั่นให้ก้อนเดียว 1 หมื่น หลัง “ทีมนโยบาย” ปูดหั่นเป็นงวดๆ “สุริยะ” ประกาศลุยค่ารถไฟฟ้า 20 บาท ส่วน “ไชยา” หวังลุยยกหนี้ เกษตรกร

– กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 187,000 ตำแหน่งในเดือนส. ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 170,000 ตำแหน่ง

ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.8% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2565 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาด การณ์ที่ระดับ 3.5% ขณะที่การขยายตัวของค่าจ้างชะลอตัวลง

– บรรดานักลงทุนเทน้ำหนักมากกว่า 90% ในการคาดการณ์ว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ หลังการเปิด เผยรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร

– จับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.ค., ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และ ดุลการค้าเดือนก.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนส.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล, ดัชนีภาคบริการเดือน ส.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) และ สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนก.ค.

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04 ก.ย. 66)

Tags: , ,
Back to Top