เงินบาทเปิด 35.16 แนวโน้มอ่อนค่าหลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดบ.ต่อ รอลุ้นโฉมหน้าครม.ใหม่

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.16 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 35.10 บาท/ดอลลาร์

เช้านี้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากท้ายตลาดเมื่อวันศุกร์ หลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงตอกย้ำถึงความจำ เป็นในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเงินเฟ้อจะยังอยู่ภายใต้การควบคุม และจะมีการปรับนโยบายการเงินอย่าง ระมัดระวัง

“ประธานเฟด ออกมาตอกย้ำถึงสายเหยี่ยว (นโยบายแข็งกร้าว) ว่ายังจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อ make sure ว่าเงิน เฟ้อจะอยู่ภายใต้การควบคุม แต่เฟดก็จะทำนโยบายอย่างระมัดระวัง” นักบริหารเงิน ระบุ

โดยคาดว่าวันนี้ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าได้เล็กน้อย เพราะตลาดยังไม่ price in การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในรอบเดือนก. ย. ส่วนปัจจัยในประเทศที่ยังต้องตามต่อ คือ โฉมหน้าของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ในรัฐบาล “เศรษฐา 1”

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.00 – 35.20 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 146.49 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 146.05 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0805 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0792 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.120 บาท/ดอลลาร์

– ลุ้นโฉมหน้า “ครม.เศรษฐา1″ สัปดาห์นี้จับตานโยบายเศรษฐกิจในมือเพื่อไทย หลัง”เศรษฐา” นายกฯควบคลัง ด้าน “พิ ธา” จี้ผลักดันกระจายอำนาจ-ปฏิรูปกองทัพ ขณะที่ “นิด้าโพล” เผยประชาชนไม่เชื่อรัฐบาลพิเศษ “สลายขั้ว” ลดขัดแย้ง

– “บิ๊กคอร์ป” หวังเศรษฐา นายกฯ ใหม่ฟื้นความเชื่อมั่น กระตุ้นเศรษฐกิจ นักลงทุนหลายรายรอฟังนโยบายใหม่ “หอการ ค้า” หนุนนายกฯ ควบ รมว.คลัง แนะบริหารทีมเศรษฐกิจจากหลายพรรคให้ดี ส.อ.ท.-นักธุรกิจ มั่นใจ “เศรษฐา” เข้าใจเศรษฐกิจ แนะสร้างดรีมทีมเศรษฐกิจ ระบุ ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท กระตุ้นระยะสั้น หวังมาตรการระยะยาว ส่งเสริมนิวเอสเคิร์ฟ สร้างการ เติบโต แข็งแรง ยั่งยืน

– หอการค้าชี้การเมืองเริ่มนิ่ง ส่งผลให้จีดีพีไทยฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปีนี้ ขณะที่นโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ใช้ งบ 5 แสนล้าน ช่วยให้เกิดการหมุนเงินในระบบสูงถึง 1.5 ล้านล้าน ช่วยดันเศรษฐกิจปี 67 จีดีพีโต 5-7%

– ส.อ.ท.ส่งสัญญาณ รบ.ใหม่เร่งแก้ไขปัญหา ศก.ด่วน หลัง “ส่งออก” รูดยาว 10 เดือน กระทบภาคการผลิตที่เริ่มลด กะทำงาน อาจทำ “ว่างงาน” เพิ่ม แถมสินค้าจีนยังทะลักเข้ามาซ้ำเติม

– อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมเตรียมนำคณะผู้แทนไทยเดินทางเข้าร่วมการประชุมเจรจาจัดทำ ความตกลงการค้าเสรี (CEPA) ระหว่างไทยกับ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) รอบที่ 3 ระหว่างวันที่ 29 ส.ค.-1 ก.ย.2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยการประชุมครั้งนี้จะประกอบด้วย การประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า เพื่อกำกับดูแลและติดตาม ภาพรวมการเจรจา

– ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในช่วง 10 เดือนของปีงบ ประมาณ 2566 (ต.ค.65-ก.ค.66) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิจำนวน 2.14 ล้านล้านบาท สูงกว่าเอกสารงบประมาณ 150,899 ล้าน บาท หรือเพิ่ม 7.6% และสูงกว่าปีก่อน 5.2% และหากไม่รวมรายได้พิเศษของส่วนราชการอื่นๆ ผลการจัดเก็บรายได้จะสูงกว่าประมาณ การ 4.1% หรือ 80,923 ล้านบาท และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนเพียง 1.8%

– ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า ECB จะกำหนดและคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงต่อไปตราบเท่าที่จำเป็น เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับเป้าหมาย

– ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่เปิดเผยในวันศุกร์ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 69.5 ในเดือนส.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 71.2 จากระดับ 71.6 ในเดือนก.ค. ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคคาด การณ์ว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น 3.3% ในช่วง 1 ปีข้างหน้า จากระดับ 3.4% ในการสำรวจเดือนที่แล้ว และสำหรับในช่วง 5 ปีข้างหน้า ผู้ บริโภคคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะแตะระดับ 3.0% ไม่เปลี่ยนแปลงจากการสำรวจในเดือนที่แล้ว

– ในการแสดงสุนทรพจน์ในการประชุมนโยบายเศรษฐกิจที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง นายเจอโรม พาวเวล ประธาน ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า เฟดจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวัง โดยการประเมินข้อมูลที่เฟดได้รับ รวมทั้ง แนวโน้มและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

– ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า เฟดยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยต่อไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ

– ตลาดจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียน ของแรงงาน (JOLTS) เดือนก.ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.จาก Conference Board, ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน เดือนส.ค.จาก ADP, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2566 (ประมาณการครั้งที่ 2)

ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) เดือนก.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย สัปดาห์, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.ค. และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนส.ค.

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (28 ส.ค. 66)

Tags: , ,
Back to Top