นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ว่า จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.64 ที่มอบหมายให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการนั้น มีผลการขับเคลื่อนโครงการฯ ใน 5 เรื่อง ดังนี้
1. จัดทำแนวทางการดำเนินงาน SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 4 ครั้ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2565 เพื่อหารือกับผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ จำนวน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มภาครัฐและเอกชน 2) กลุ่มผู้ห่วงใยจะนะ 3) กลุ่มแนวร่วมการพัฒนา และ 4) กลุ่มนักวิชาการ
โดยรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินงาน SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ ในประเด็นสำคัญๆ เช่น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors) ความคาดหวังต่อการจัดทำแผนพัฒนาโดยใช้ SEA เป็นเครื่องมือ ประเด็นข้อห่วงใยเกี่ยวกับการพัฒนาในพื้นที่ แผนพัฒนาที่ควรใช้ SEA ในการจัดทำ พื้นที่ขอบเขตการศึกษา ระยะเวลาในการดำเนินการ ประเด็นอ่อนไหวหรือข้อพึงระวังในการดำเนินการ และเกณฑ์การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่จะเป็นคณะกรรมการกำกับงาน SEA เพื่อนำมาจัดทำร่าง TOR ที่ตอบสนองกับความต้องการในพื้นที่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการดำเนินงาน SEA เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 65
2. เตรียมความพร้อมในการดำเนินงานโครงการฯ ในระหว่างวันที่ 27-29 ส.ค. 65 โดยผู้บริหาร สศช. พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการมีส่วนร่วมแบบสันติวิธีจากสถาบันพระปกเกล้า ได้ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์และบริบททางเศรษฐกิจและสังคมโดยทั่วไปของพื้นที่ที่จะมีการจัดทำ SEA เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการกำกับการจัดทำ SEA ในระยะต่อไป
3. ขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการฯ โดยเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 65 ครม. มีมติอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2567 จำนวน 28,227,800 บาท โดยแบ่งเป็น งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 14,113,900 บาท และส่วนที่เหลือจำนวน 14,113,900 บาท ให้ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2567
4. แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการจัดทำ SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 65 โดยมีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานร่วม มีสำนักงบประมาณ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการ ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 12 คน เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบการจัดทำ TOR และกำกับโครงการฯ รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดทำ SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ฯ
ซึ่งคณะกรรมการกำกับการจัดทำ SEAฯ ได้มีการประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 65 เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่าง TOR ของโครงการฯ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ TOR ที่มีความชัดเจน ครบถ้วน สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ แล้วนำไปสู่กระบวนการคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีความเหมาะสมมาดำเนินงานโครงการฯ
5. กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง สศช. ได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด ประกอบด้วย คณะกรรมการจัดทำร่างขอบเขตงานจ้างที่ปรึกษา คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างที่ปรึกษา โครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานที่สำคัญ ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ทั้ง 3 ชุดดังกล่าว โดย สศช. ได้ส่งหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษา เพื่อยื่นข้อเสนอทางเทคนิค และข้อเสนอทางราคา ในการจัดทำโครงการ ภายใต้กรอบงบประมาณวงเงิน 28,227,800 บาท ระยะเวลา 18 เดือน ซึ่งผู้ผ่านการคัดเลือก คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และได้มีการลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาฯ ไปแล้ว เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 65
สำหรับแผนการดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป ที่ปรึกษาจะเริ่มมีการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งตามขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา กำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็น 32 เวที โดยมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 2,100 คน ในปีนี้ และในปี 2567 จะมีการรับฟังความคิดเห็นอีก 8 เวที โดยมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 900 คน
“ก่อนหน้านี้ได้มีการลงพื้นที่ แต่ยังไม่ใช่การทำ SEA เป็นเพียงการสำรวจพื้นที่เท่านั้น หลังจากนี้ในทุกขั้นตอนจะมีการรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และจากคนในพื้นที่ เพื่อลดความขัดแย้งลง และให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งก็ต้องใช้เวลา ในส่วนของนิคมจะนะ ก็ต้องชะลอไปก่อน เช่นเดียวกับเอกชนถ้าอยากทำอะไรในพื้นที่นี้ก็ต้องรอ SEA ทั้งนี้ สภาพัฒน์จะพยายามดำเนินแผนให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้” นายดนุชา กล่าว
นายดนุชา กล่าวว่า สศช. จะรายงานข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดทำโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานีอย่างต่อเนื่อง
รพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 4 ครั้ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2565 เพื่อหารือกับผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ จำนวน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มภาครัฐและเอกชน 2) กลุ่มผู้ห่วงใยจะนะ 3) กลุ่มแนวร่วมการพัฒนา และ 4) กลุ่มนักวิชาการ
โดยรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินงาน SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ ในประเด็นสำคัญๆ เช่น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors) ความคาดหวังต่อการจัดทำแผนพัฒนาโดยใช้ SEA เป็นเครื่องมือ ประเด็นข้อห่วงใยเกี่ยวกับการพัฒนาในพื้นที่ แผนพัฒนาที่ควรใช้ SEA ในการจัดทำ พื้นที่ขอบเขตการศึกษา ระยะเวลาในการดำเนินการ ประเด็นอ่อนไหวหรือข้อพึงระวังในการดำเนินการ และเกณฑ์การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่จะเป็นคณะกรรมการกำกับงาน SEA เพื่อนำมาจัดทำร่าง TOR ที่ตอบสนองกับความต้องการในพื้นที่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการดำเนินงาน SEA เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 65
2. เตรียมความพร้อมในการดำเนินงานโครงการฯ ในระหว่างวันที่ 27-29 ส.ค. 65 โดยผู้บริหาร สศช. พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการมีส่วนร่วมแบบสันติวิธีจากสถาบันพระปกเกล้า ได้ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์และบริบททางเศรษฐกิจและสังคมโดยทั่วไปของพื้นที่ที่จะมีการจัดทำ SEA เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการกำกับการจัดทำ SEA ในระยะต่อไป
3. ขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการฯ โดยเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 65 ครม. มีมติอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2567 จำนวน 28,227,800 บาท โดยแบ่งเป็น งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 14,113,900 บาท และส่วนที่เหลือจำนวน 14,113,900 บาท ให้ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2567
4. แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการจัดทำ SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 65 โดยมีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานร่วม มีสำนักงบประมาณ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการ ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 12 คน เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบการจัดทำ TOR และกำกับโครงการฯ รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดทำ SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ฯ
ซึ่งคณะกรรมการกำกับการจัดทำ SEAฯ ได้มีการประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 65 เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่าง TOR ของโครงการฯ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ TOR ที่มีความชัดเจน ครบถ้วน สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ แล้วนำไปสู่กระบวนการคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีความเหมาะสมมาดำเนินงานโครงการฯ
5. กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง สศช. ได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด ประกอบด้วย คณะกรรมการจัดทำร่างขอบเขตงานจ้างที่ปรึกษา คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างที่ปรึกษา โครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานที่สำคัญ ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ทั้ง 3 ชุดดังกล่าว โดย สศช. ได้ส่งหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษา เพื่อยื่นข้อเสนอทางเทคนิค และข้อเสนอทางราคา ในการจัดทำโครงการ ภายใต้กรอบงบประมาณวงเงิน 28,227,800 บาท ระยะเวลา 18 เดือน ซึ่งผู้ผ่านการคัดเลือก คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และได้มีการลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาฯ ไปแล้ว เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 65
สำหรับแผนการดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป ที่ปรึกษาจะเริ่มมีการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งตามขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา กำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็น 32 เวที โดยมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 2,100 คน ในปีนี้ และในปี 2567 จะมีการรับฟังความคิดเห็นอีก 8 เวที โดยมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 900 คน
นายดนุชา กล่าวว่า สศช. จะรายงานข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดทำโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานีอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถติดตามได้ทางเว็บไซต์และเพจ Facebook ของโครงการฯ
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (09 ม.ค. 66)
Tags: ดนุชา พิชยนันท์, ปัตตานี, สงขลา, สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สศช.