สศก.เผยผลสำเร็จโครงการ Smart Farmer ปี 64 ช่วยเกษตรกรเพิ่มรายได้-ลดรายจ่าย

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตร 
กรมการข้าว กรมปศุสัตว์ กรมหม่อมไหม และสำนักงานงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้ร่วมกันดำเนินโครงการพัฒนา
เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ในพื้นที่ 77 จังหวัด เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่องและยกระดับเป็นผู้ประกอบการเกษตรที่มีศักยภาพ ตลอดจนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer
          
โดยสามารถพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง เกษตรกรรุ่นใหม่ได้รวมทั้งสิ้น 29,335 ราย คิดเป็น 102.29% ของเป้า หมาย 28,707 ราย ซึ่งผลการพัฒนาเกษตรกรในแต่ละกลุ่ม พบว่า มีการพัฒนาเกษตรกรกลุ่ม Developing Smart Farmer จำนวน 20,375 ราย หรือ 98.62% ของเป้าหมาย 20,660 ราย พัฒนากลุ่ม Existing Smart Farmer จำนวน 454 ราย คิดเป็น 151.33% ของเป้าหมาย 300 ราย พัฒนาเกษตรกรกลุ่ม Smart Farmer Model จำนวน 863 ราย คิดเป็น 95.68% ของเป้าหมาย 902 ราย พัฒนาเกษตรกรทั่วไปสู่เกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวน 4,447 ราย คิดเป็น 99.37% ของเป้าหมาย 4,475 ราย และพัฒนา Young Smart Farmer 3,196 ราย คิดเป็น 134.85% ของเป้าหมาย 2,370 ราย
นอกจากนี้ ผลการติดตามเกษตรกร 52.68% ได้นำความรู้จากการฝึกอบรมไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง สามารถลดราย จ่ายในการผลิตได้ เนื่องจากเกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์/สารชีวภัณฑ์ทดแทนปุ๋ยเคมี และผลิตอาหารปลาใช้เอง โดยรายจ่ายค่าปุ๋ยเคมีใน การทำนาลดลงเฉลี่ย 584 บาท/ไร่ ค่าปุ๋ยเคมีผลิตพืชผักลดลงเฉลี่ย 1,660 บาท/ไร่ ค่าปุ๋ยเคมีผลิตไม้ผลลดลงเฉลี่ย 227 บาท/ ไร่ ค่าสารชีวภัณฑ์ในการทำนาลดลงเฉลี่ย 250 บาท/ไร่ และค่าอาหารปลาลดลงเฉลี่ย 850 บาท/เดือน
ด้านรายได้ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า เกษตรกร 62.62% มีรายได้ทางการเกษตรเพิ่มขึ้น เช่น รายได้ จากการจำหน่ายข้าวปลอดสารพิษแปรรูปเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17,560 บาท/ปี รายได้จากจำหน่ายผลผลิตด้านประมงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9,500 บาท/ปี รายได้จากการจำหน่ายพืชผักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 36,806 บาท/ปี และรายได้จากการจำหน่ายไม้ผลเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 45,000 บาท/ ปี
โดยภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการฯ เป็นอย่างมาก เนื่องจากได้รับประโยชน์อย่างรอบ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจที่มีรายได้ดีขึ้น รายจ่ายลดลง รวมไปถึงด้านสังคม ซึ่งได้รับการพัฒนา และส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มสร้าง เครือข่าย นำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการจัดอบรมประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 หน่วยงานระดับพื้นที่ไม่สามารถดำเนินการจัดอบรมให้กับเกษตรกรได้ตามแผนที่วางไว้
ทั้งนี้ ควรมีการจัดอบรมหลักสูตรที่สามารถต่อยอดให้เกษตรกร โดยเฉพาะหลักสูตรเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี และนวัต กรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ มูลค่าการผลิต หลักสูตรเกี่ยวกับการตลาด นอกจากนี้ หน่วยงานในพื้นที่อาจพิจารณาจัดอบรมในช่วงที่ เกษตรกรว่างจากการผลิต เพื่อจะได้มีเวลาอย่างเต็มที่ และจัดทำแผนสำรองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การใช้สื่อการสอน แบบออนไลน์ ที่เกษตรกรสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อให้สอดคล้องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้ +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ เปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่ายของเกษตรกร ก่อน - หลังเข้าร่วมโครงการ ก่อน หลัง การเปลี่ยนแปลง (+/-) รายจ่าย - ค่าปุ๋ยเคมีในการทำนา (บาท/ไร่) 1,449 865 584 - ค่าปุ๋ยเคมีผลิตพืชผัก (บาท/ไร่) 2,060 400 1,660 - ค่าปุ๋ยเคมีผลิตไม้ผล (บาท/ไร่) 950 723 227 - ค่าสารชีวภัณฑ์ในการทำนา (บาท/ไร่) 950 700 250 - ค่าอาหารปลา (บาท/เดือน) 1,475 625 850 รายได้ - จำหน่ายข้าวปลอดสารพิษแปรรูป (บาท/ปี) 25,040 42,600 17,560 - จำหน่ายผลผลิตด้านประมง (บาท/ปี) 31,000 40,500 9,500 - จำหน่ายพืชผัก (บาท/ปี) 45,694 82,500 36,806 - จำหน่ายไม้ผล (บาท/ปี) 165,000 210,000 45,000 +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 ต.ค. 64)

Tags: , , , , ,
Back to Top