แม้ว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติ NGV จะมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวของความต้องการในอนาคต แต่วันนี้มีหลาย บริษัทชั้นนำที่ประกอบกิจการ NGV ต่างก็ปรับกลยุทธ์ด้วยการแตกไลน์ขยายการลงทุนต่อยอดในธุรกิจใหม่ๆกันมากขึ้นเพื่อหวนกลับเข้าสู่รอบ การเติบโตครั้งใหม่
เช่นเดียวกับการปรับกลยุทธ์ครั้งสำคัญของ บมจ.สากล เอนเนอยี (SKE) หลังจากปรับโครงสร้างรายได้หลักเข้าสู่ธุรกิจโรง ไฟฟ้าพลังงานทดแทน นอกเหนือจากธุรกิจสถานีก๊าซธรรมชาติ NGV ขณะที่ล่าสุดปิดดีลเข้าซื้อกิจการบริษัท เอ็น15 เทคโนโลยี จำกัด (N15) เมื่อเดือน มิ.ย.64 เป็นธุรกิจบริหารจัดการของเสียหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นอันตรายโดยการคัดแยกและแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงทดแทน (Refuse Deived Fuel: RDF) ทำให้วันนี้บอร์ดบริหาร SKE เชื่อมั่นว่าจะยกระดับศักยภาพทำกำไรเติบโตแบบก้าว กระโดดอย่างมีนัยสำคัญในอนาคตอันใกล้นี้
ธุรกิจโรงไฟฟ้าเสริมแกร่ง รองรับธุรกิจ NGV ขาลง
นายจักรพงส์ สุเมธโชติเมธา กรรมการผู้จัดการใหญ่ SKE เปิดเผยกับ “อินโฟเควสท์” ว่า แม้ว่าปีนี้ภาพเศรษฐกิจไทยจะได้ รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 แต่จากการปรับกลยุทธ์ด้วยการหันเข้าสู่การขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผลประกอบการโดย รวมของบริษัทไม่ได้รับผลกระทบมากนัก สะท้อนจากโครงสร้างรายได้ของบริษัทในปัจจุบันสัดส่วนธุรกิจโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาเป็นกว่า 55% ขณะที่ธุรกิจ NGV เหลืออยู่ประมาณ 35% และธุรกิจใหม่บริหารจัดการขยะ RDF ของ N15 จะอยู่ที่ประมาณ 10%
SKE ดำเนินการธุรกิจหลักคือสถานีก๊าซธรรมชาติ NGV ให้กับ บมจ.ปตท. (PTT) มาตั้งแต่ปี 52 เป็นต้นมาถึงจนปัจจุบัน บริษัทมีสถานีก๊าซธรรมชาติ 2 สถานี ได้แก่ 1.สถานีก๊าซธรรมชาติหลักเอกชนจ.ปทุมธานี และ 2.สถานีก๊าซธรรมชาติหลักเอกชน จ. สระบุรี รวมมีกำลังการอัดก๊าซธรรมชาติ 750 ตันต่อวัน หรือ 324,448 ตัน/ปี
และปัจจุบันมีโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลแม่กระทิง (MKP) มีขนาดกำลังผลิตไฟฟ้าอยู่ราว 9.9 เมกะวัตต์ และมีสัญญาขายไฟ 8 เมกะวัตต์กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในอัตราเฉลี่ยที่ 4.62 บาทต่อหน่วย ภายใต้อายุสัญญาเป็นเวลา 20 ปี (เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบใน ช่วงสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา)
นอกจากนี้เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมาบริษัทได้มีการลงนามเข้าซื้อกิจการ บริษัท เอ็น15 เทคโนโลยี จำกัด (N15) ซึ่งโรง งานดังกล่าวมีกำลังการบริหารจัดการขยะเพื่อผลิต RDF ราว 90,000 ตันต่อปี และเริ่มรับรู้รายได้เข้ามาเดือน มิ.ย.นี้เป็นต้นไป
“วันนี้ต้องยอมรับว่าธุรกิจ NGV กำลังเป็นวัฎจักรขาลง สัญญาณบ่งชี้จากการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆกลุ่มเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมเป็นหนึ่งกลุ่มที่ถูกดิสรัปชั่นในรอบนี้ด้วย เราเตรียมความพร้อมมาตั้งแต่เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อ 4 ปีที่ แล้วด้วยการนำเงินเข้าไปลงทุนในโรงไฟฟ้าชีวมวล เป็นธุรกิจที่เข้ามาทดแทนโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าก๊าซ ล่าสุดการลดความต้อง การใช้ NGV ก็ชัดเจนมากขึ้นอย่างที่คาด เป็นที่มาของการปรับพอร์ตขยายธุรกิจอื่นเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งกับผลประกอบการใน อนาคต”
นายจักรพงส์ กล่าว
เดินเกมใหญ่สู่ยอดขาย RDF แตะ 1 ล้านตัน/ปีภายใน 5 ปีข้างหน้า
นายจักรพงส์ กล่าวต่อว่า ธุรกิจ N15 แปรรูปขยะ RDF ยังมีโอกาสเติบโตสูงเพราะเป็นธุรกิจที่อยู่ในกระแสของสังคมโลก หรือเรียกได้ว่าเป็น “เมกะเทรนด์” สะท้อนจากนโยบายของประชาคมโลกที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ภายใน ปี ค.ศ. 2050 แต่ตามแผนระยะสั้นส่วนของประเทศไทยก็มีนโยบายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้อย่างน้อย 300,000 ตันต่อ ปี นับว่าสอดคล้องกับแผนของบริษัทชั้นนำหลายแห่งได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวแล้วเต็มตัว เช่น กลุ่มปูนซิเมนต์ไทย ที่ประกาศในปี 63 ว่า สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้แล้ว 100,000 ตันจากการลดใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน เป็นต้น
ดังนั้น แผนการขยายธุรกิจใหม่นั้นเบื้องต้นบริษัทวางเป้าว่าปีนี้มีการจำหน่ายขยะ RDF ให้กับลูกค้าประมาณ 8-9 หมื่นตันต่อปี ส่วนปี 65 ตั้งเป้าปริมาณการจำหน่ายขยะ RDF เพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว หรือใกล้เคียงกับ 2 แสนตันต่อปี โดยใช้กลยุทธ์ขยายโรงงานผลิตไป ยังจุดยุทธศาสตร์ตามพื้นที่ต่างๆที่มีความต้องการของกลุ่มลูกค้าปริมาณสูง เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการไปถึงคือ 1 ล้านตันต่อปีให้ได้ภายใน 5 ปีข้างหน้า
“บริษัทเริ่มรับรู้รายได้จากธุรกิจ N15 ตั้งแต่เดือน มิ.ย.64 เป็นไปต้นไป และรับรู้เต็มที่ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แม้ว่าปีนี้ ธุรกิจ N15 อาจยังไม่ได้ส่งผลกับผลประกอบการอย่างมีนัยสำคัญ แต่เชื่อว่าอนาคตอันใกล้ธุรกิจ N15 จะมีแนวโน้มการเติบโตแบบก้าว กระโดด ตามแผนระยะยาวการเพิ่มปริมาณการจำหน่ายเชื้อเพลิงขยะ RDF ให้กับกลุ่มลูกค้า ขณะที่ปัจจุบันราคาขาย RDF2 ซื้อขายกันอยู่ที่ 400-500 บาทต่อตัน ส่วนราคาขาย RDF3 จะอยู่ที่ 1,000-1,400 บาทต่อตัน บริษัทมีการขาย RDF ทั้ง 2 ประเภท หากบริษัทมีการ ขยายปริมาณจำหน่าย RDF เพิ่มขึ้นก็ส่งผลบวกกับผลประกอบการได้เป็นอย่างดี”
นายจักรพงส์ กล่าว
เล็งเพิ่มพอร์ตโซลาร์รูฟท็อป 10-20 MW เชื่อผลงานปี 65 โตโดดเด่น
ทั้งนี้ แม้ว่าวิกฤติการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 จะกระทบภาวะเศรษฐกิจในไทย แต่บริษัทโชคดีที่ธุรกิจหลักที่วันนี้คือธุรกิจโรง ไฟฟ้าที่สร้างรายได้และกำไรเป็นหลักไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ แต่ธุรกิจ NGV ก็อาจได้รับผลกระทบบ้างจากปริมาณการขนส่ง ลดลงอย่างชัดเจน ทำให้ปัจจุบันบริษัทมีภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อรองรับกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ดังนั้น ประเมินแนวโน้มรายได้ปี 64 จะสามารถเติบโตมากกว่าปีที่แล้ว แต่ก็อาจเติบโตไม่ถึงเป้าหมายที่เคยวางไว้ 20% ซึ่ง การเติบโตอาจไม่มีนัยสำคัญมากนักเพราะเป็นช่วงปรับพอร์ตธุรกิจ แต่จะเห็นการเติบโตโดดเด่นอย่างมีนัยสำคัญคือตั้งแต่ปี 65 เป็นต้น ไป
ส่วนแผนการขยายพอร์ตธุรกิจโรงไฟฟ้า ล่าสุดบริษัทผ่านขั้นตอนคัดเลือกคุณสมบัติและเทคนิคโรงไฟฟ้าชุมชนของภาครัฐเป็น จำนวนกว่า 10 เมกะวัตต์ต้องรอติดตามว่าจะได้รับโอกาสอย่างไร ส่วนเป้าหมายระยะกลางคือบริษัทมีแผนขยายพอร์ตผลิตพลังงานจากแสง อาทิตย์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) เบื้องต้นบริษัทมีเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตจำหน่ายไฟให้กับลูกค้าเอกชนอีกประมาณ 10-20 เมกะวัตต์ คาดว่าจะมความชัดเจนภายในปี 65
“สำหรับเงินลงทุนบริษัทเพิ่งเพิ่มทุนไปกว่า 148 ล้านบาทเพื่อเข้าซื้อกิจการบริษัท N15 ซึ่งหลังจากนี้ก็ยังไม่มีแนวทางเพิ่มทุน แต่จะใช้แนวทางบริหารจัดการกระแสเงินสดภายในบริษัท หรือหากมีโครงการต้องใช้เงินลงทุนสูงอาจพิจารณาเป็นลักษณะ Project Finance ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเป็นรายโครงการไป”
นายจักรพงส์ กล่าว
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (10 ส.ค. 64)
Tags: SKE, จักรพงส์ สุเมธโชติเมธา, พลังงานทดแทน, สากล เอนเนอยี, โรงไฟฟ้า