เงินบาทเปิด 33.79 แข็งค่า หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐต่ำคาดฉุดดอลลาร์อ่อน-ทองพุ่งแรง

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.79 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.18 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาคและตลาดโลก จากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงหลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด ประกอบกับตลาดกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะถดถอยจากผลกระทบสงครามการค้า และเมื่อคืนที่ผ่านมาราคาทองคำก็พุ่ง ขึ้นแรงเกือบ 100 เหรียญดอลลาร์

สำหรับคืนนี้รอติดตามดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมี.ค. ของสหรัฐฯ และในช่วงนี้ยังต้องจับตาราคาทองคำในตลาดโลก เนื่องจาก Flow ทองคำสร้างความผันผวนต่อค่าเงินบาท และยังต้องรอดูความคืบหน้าของมาตรการกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ด้วย

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.70 – 34.00 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 143.62 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 146.06 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1291 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1043 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.181 บาท/ดอลลาร์
  • ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงกรณีนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศชะลอเก็บภาษีตอบโต้คู่ค้าออกไปอีก 90 วัน ซึ่งไทยถูกเก็บที่ 36% จากเดิมมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย.68 และ ให้เก็บภาษีเท่ากันทุกประเทศที่ 10% ว่า ทำให้โลกผ่อนคลายมากขึ้น ตลาดหุ้นกลับมาดีขึ้น และทำให้คู่ค้าทุกประเทศมีแต้มต่อเหมือนกัน แต่ อยู่ที่การเจรจาต่อรองของแต่ละประเทศว่า จะทำให้สหรัฐลดภาษีตอบโต้เหลือเท่าไร และไทยจะเจรจาให้ลดเหลือเท่าไร ถ้าไทยยังสูง กว่าคู่แข่ง ก็อาจเสียศักยภาพการแข่งขัน และกระทบต่อการส่งออกได้ 
  • รมว.คลัง เปิดเผยว่า ยืนยันว่าจะไม่มีการต่ออายุ 3 มาตรการเพื่อรองรับความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย (ตลท.) ชั่วคราว 3 มาตรการที่จะสิ้นสุด 11 เม.ย. และจะกลับมาเปิดให้ซื้อขายปกติ 16 เม.ย.นี้ เหมือนเดิม
  • “พิชัย” ปรับแผนเจรจาหลัง “ทรัมป์” เลื่อนใช้มาตรการภาษีโต้ตอบ โดยกลไกการเจรจาฝ่ายไทยแบ่งเป็น 5 ระดับสูง สุด คือ นายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ วางกรอบเจรจา 5 ประเด็น ไทยเสนอลดยอดเกินดุลสหรัฐฯ ลงครึ่งหนึ่งภายใน 5 ปี จาก ปัจจุบันไทยเกินดุลสหรัฐฯ 300% คิดเป็นมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท
  • ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ จีไอที เปิดเผยว่า สถิติการส่ง ออกทองคำเดือน ก.พ.68 มีมูลค่า 933 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 26.39% จากการส่งออกไปเก็งกำไร เพราะมีปัจจัยหนุนจากแรงซื้อ ทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับมาตรการภาษีของสหรัฐ ทำให้ราคาทองคำทำสถิติสูงสุดที่ 2,937 ดอลลาร์ สหรัฐต่อออนซ์ ส่วนยอดรวมส่งออกทองคำ 2 เดือน มีมูลค่า 2,101 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 73.74% หรือคิดเป็น 7.1 หมื่นล้านบาท
  • ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG) เปิดเผยว่า ราคาทองคำผันผวน หลังปรับตัวขึ้นทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ที่ 3,167.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในวันที่ 3 เมษายน รับมาตรการภาษีตอบโต้ของ สหรัฐ จากนั้นถูกแรงขายทำกำไร และได้พุ่งขึ้นตลอดเกือบไตรมาสแรกแล้ว เมื่อเทียบกับสินทรัพย์เสี่ยงประเภทอื่นถือว่าทองคำยังคงยืดหยุ่น กว่าแม้ราคาจะปรับลดลงมารวดเร็ว แต่นับจากต้นปีถึงวันที่ 9 เมษายน ยังคงปรับตัวสูงขึ้นถึง 460 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ เพิ่มขึ้น 17.48% โดยความผันผวน ระยะสั้นนี้มีปัจจัยจากความกังวลต่อนโยบายการเก็บภาษีศุลกากรสหรัฐ ที่เริ่มบานปลายจากการตอบโต้ของจีน และถูกสหรัฐเก็บภาษี 125%
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยแพร่บทความ Thailand Can Ease Household Debt Burden by Using Coordinated Approach โดยระบุว่า กรณีศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่าประเทศต่างๆ ลดหนี้ครัวเรือนลงอย่างต่อเนื่องโดยลด ภาระหนี้ที่มีอยู่และป้องกันการกู้ยืมใหม่มากเกินไป หนี้ครัวเรือนที่สูงของไทยส่งผลให้การฟื้นตัวหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ล่าช้า ซึ่งใช้เวลานานกว่าเศรษฐกิจของ ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค การกู้ยืมพุ่งสูงขึ้นในช่วงวิกฤตด้านสุขภาพ เนื่องจากประชาชนต้องดิ้นรนเพื่อตอบ สนองความต้องการพื้นฐาน และภาระการชำระหนี้ที่ยังคงมีอยู่ยังคงจำกัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค
  • ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) กล่าวว่า สหภาพยุโรป (EU) จะชะลอการใช้มาตรการตอบโต้การเรียกเก็บภาษี ศุลกากรของสหรัฐฯ ออกไปอีก 90 วัน เพื่อเปิดทางสำหรับการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการค้าของทั้งสองฝ่าย
  • อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า การประกาศมาตรการเรียกเก็บภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ “ถือเป็น บาดแผลจากการทำร้ายตัวเองที่เลวร้ายที่สุด แม้ว่านักลงทุนบางส่วนคลายความวิตก หลังจากที่ปธน.ทรัมป์ชะลอการเรียกเก็บภาษีดังกล่าว ออกไป 90 วัน แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักแล้ว ท่ามกลางภาวะตื่นตระหนกจากการประกาศ มาตรการภาษีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายปี ชะลอตัวลง จากระดับ 2.8% ในเดือนก.พ. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.5% ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวม หมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.8% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายปี ชะลอตัวลงจากระดับ 3.1% ในเดือนก.พ. และต่ำกว่าที่นัก วิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.0% 
  • นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมเดือนมิ.ย. และมี ความเป็นไปได้ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งสิ้น 1% ภายในสิ้นปีนี้
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวัน พฤหัสบดี (10 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้ รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันพฤหัสบดี (10 เม.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการ อ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีนมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่อาจมีการขยายเวลาระงับการบังคับใช้มาตรการเรียกเก็บ ภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ออกไปอีก หากครบกำหนดเวลา 90 วันที่เขาระบุไว้วานนี้
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เที่จะเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมี.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้น ต้นเดือนเม.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11 เม.ย. 68)

Tags: , ,
Back to Top