
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 33.53 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 33.63 บาท/ดอลลาร์
เช้านี้เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้น โดยได้รับปัจจัยจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ย่อตัวลง ขณะที่ตัวเลข เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ออกมาแย่กว่าคาด ทั้งดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) และยอดขายบ้านมือสองเดือนม. ค. 68
สำหรับสัปดาห์นี้ ตลาดรอติดตามผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นหลักว่า จะคงดอกเบี้ย หรือลด ดอกเบี้ย
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.50 – 33.70 บาท/ดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 149.14 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 150.31 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0517 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0475 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 33.608 บาท/ดอลลาร์
- นักเศรษฐศาสตร์ไม่ปิดประตู กนง.ลดดอกเบี้ย ด้าน “ซีไอเอ็มบีไทย” ฟันธง “ลดดอกเบี้ย” รอบนี้ สอดรับเศรษฐกิจ ชะลอกว่าคาด หนี้ครัวเรือนลด แบงก์เข้มปล่อยกู้ ด้าน “แบงก์กรุงเทพ” มองยังมีโอกาสให้ลดดอกเบี้ยได้ ชี้หากผลกระทบแรงกว่าคาด อาจเห็น กนง.ลดดอกเบี้ยมากกว่า 1 ครั้งในปีนี้ ขณะที่ KKP ชี้รอนโยบาย ทรัมป์ชัดเจนเม.ย.นี้
- ภาคธุรกิจมองเศรษฐกิจ หนี้เสีย หนี้ครัวเรือน ดอกเบี้ยสูง ส่งผลกระทบปี 68 เร่งปรับตัว ด้าน สอท. จี้รัฐเร่งแก้ ปัญหา หวั่นผลกระทบลาม 30 กลุ่มอุตสาหกรรม จับตาสินค้าราคาถูกจีนทะลักต่อเนื่อง
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สรุปมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์สะสมตามกลุ่ม นักลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-21 ก. พ. 68 พบว่าสถาบันในประเทศขายสุทธิ 8,712.41 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ขายสุทธิ 11.66 ล้านบาท นักลงทุน ต่างประเทศขายสุทธิ 7,769.95 ล้านบาท นักลงทุนในประเทศ (รายย่อย) ซื้อสุทธิ 16,494.02 ล้านบาท
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (21 ก.พ.) ขณะที่นักลงทุนปรับสถานะการลงทุนก่อนวันหยุดสุดสัปดาห์ และรอดูข้อมูลเงินเฟ้อเพิ่มเติมในสัปดาห์หน้า รวมถึงข่าวเกี่ยวกับนโยบายภาษีของ สหรัฐฯ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงในวันศุกร์ (21 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไร หลังจากราคาทองคำแตะ ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ ราคาสัญญาทองคำยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 8 โดยได้รับแรงหนุนจากความต้อง การสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแผนการขึ้นภาษีนำเข้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
- โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) คาดการณ์ว่า แผนการเก็บภาษีนำเข้าน้ำมัน 10% ของสหรัฐฯ อาจทำให้ผู้ผลิตต่าง ชาติเสียค่าใช้จ่ายถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี เนื่องจากน้ำมันดิบหนัก (heavy crude) จากแคนาดาและลาตินอเมริกา ยังคงพึ่ง พาบริษัทกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ ขณะที่มีผู้ซื้อและความสามารถในการแปรรูปที่จำกัด
- เอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ 50.4 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน จากระดับ 52.7 ในเดือนม.ค. ดัชนี PMI ยังคงอยู่เหนือ ระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้การขยายตัวของภาคธุรกิจสหรัฐฯ โดยได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของภาคการผลิต แต่ดัชนี PMI ถูกกดดันจากการหด ตัวของภาคบริการ
- นักลงทุนรอดูข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ อาทิ ยอดขายบ้านใหม่เดือนม.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน รายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/67, ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) เดือนม.ค. และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนม.ค.
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (24 ก.พ. 68)
Tags: ค่าเงินบาท, เงินบาท