เงินบาทเปิด 33.89/90 อ่อนค่าจากสัปดาห์ก่อน ตลาดกังวลนโยบายภาษี “ทรัมป์”

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.89/90 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าจากปิดตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 33.64 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังประธานาธิบดีโด นัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ออกมาพูดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า จะประกาศขึ้นภาษีอีกหลายประเทศ ประกอบกับตัวเลขการจ้างงานนอกภาค เกษตรของสหรัฐฯ (Non-farm Payroll) ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์

สำหรับสัปดาห์นี้ ต้องรอติดตามการแถลงของทรัมป์เรื่องการขึ้นภาษี และติดตามตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนม. ค. ของสหรัฐฯ ในวันพุธนี้

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.70 – 34.00 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 152.07 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 151.72 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0301 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0394 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 33.691 บาท/ดอลลาร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอสซีบี เอกซ์ ชี้คนไทย กว่า 60% ยัง “เดือดร้อน” จากโควิด-19 แนะรัฐบาล “ขยาย เพดานหนี้สาธารณะ” เกิน 70% ชั่วคราว หวังกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ทั้ง “สั้น-กลาง-ยาว” ทางรอดแก้วิกฤติเศรษฐกิจ ด้าน “สันติ ธาร” ชี้ไทยต้องแสวงหาโอกาสจาก “นโยบายสหรัฐ” เร่งหาเครื่องยนต์ใหม่ ฉวยจังหวะจาก “เทคโนโลยี เอไอ”
  • รัฐบาลไทยกำลังเร่งผลักดัน FTA ฉบับใหม่กับเกาหลีใต้และแคนาดา รวมถึงศึกษาตลาดศักยภาพในแอฟริกาและอเมริกา ใต้ หากสำเร็จ ไทยจะสามารถขยายการส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมไปยังตลาดเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืน
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนในเดือนม.ค.เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือน ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ยังคงเผชิญ ภาวะเงินฝืด โดยการใช้จ่ายช่วงเทศกาลมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลังรัฐบาลทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นในวันนี้ (10 ก.พ.) ว่า ญี่ปุ่นมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 29.26 ล้านล้านเย น (1.93 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2567 ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้รับแรงหนุนจากผลตอบแทนจากการลงทุนในต่าง ประเทศซึ่งสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ขณะที่เงินเยนอ่อนค่าและยอดขาดดุลการค้าลดลง
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผย ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 143,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. ต่ำ กว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 169,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 307,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค. ส่วนอัตราการว่าง งานปรับตัวลงสู่ระดับ 4.0% ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 4.1%
  • มหาวิทยาลัยมิชิแกน เปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ร่วงลงสู่ระดับ 67.8 ในเดือนก.พ. ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 71.3 จากระดับ 71.1 ในเดือนม.ค. ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะเพิ่ม ขึ้น 4.3% ในช่วง 1 ปีข้างหน้า สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 3.3% และเพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์ในเดือนม.ค.ที่ ระดับ 3.3%
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวว่า จะประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมในอัตรา 25% จาก ทุกประเทศในวันจันทร์ (10 ก.พ.) แต่ยังไม่ได้ระบุวันที่จะมีผลบังคับใช้
  • ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนม.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนม.ค. และยอดค้าปลีกเดือนม.ค.
  • นักลงทุนยังจับตาประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งมีกำหนดกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและ ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้ โดยจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาในวันที่ 11 ก.พ. ก่อนที่จะ กล่าวต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 12 ก.พ. โดยการกล่าวแถลงการณ์ทั้ง 2 วันจะมีขึ้นในเวลา 10.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือ 22.00 น.ตามเวลาไทย

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (10 ก.พ. 68)

Tags: , ,
Back to Top