PM2.5 กทม.พุ่งสูง!! “หนองแขม-ทวีวัฒนา-สายไหม” ขึ้นระดับสีแดง ส้ม 67 พื้นที่

By Pannee

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตรวจวัดได้ 43.2-94.6 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่า

*เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีแดง จำนวน 3 พื้นที่ คือ

1. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 94.6 มคก./ลบ.ม.

2. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 78.5 มคก./ลบ.ม.

3. เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 76.1 มคก./ลบ.ม.

*เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ  ทั้งหมด 67 พื้นที่

โดย 10 อันดับพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นสูงสุด ได้แก่

1. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 73.3 มคก./ลบ.ม.

2. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 73.2 มคก./ลบ.ม.

3. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 70.7 มคก./ลบ.ม.

4. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 70.5 มคก./ลบ.ม.

5. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลนคราภิบาล : มีค่าเท่ากับ 70.4 มคก./ลบ.ม.

6. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 69.6 มคก./ลบ.ม.

7. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 68.1 มคก./ลบ.ม.

8. เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 68.0 มคก./ลบ.ม.

9. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 67.6 มคก./ลบ.ม.

10. เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 67.5 มคก./ลบ.ม.

*คุณภาพอากาศระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ

– ประชาชนทุกคน ควรงดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

– ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

*คุณภาพอากาศระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

– ประชาชนทั่วไป ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมากและควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

– ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคารเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 21-26 ม.ค. 68 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “ไม่ดี-อ่อน” ประกอบกับเกิดอินเวอร์ชั่นใกล้ผิวพื้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มลพิษทางอากาศแพร่กระจายได้อย่างจำกัด คาดว่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลงสลับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในระหว่างวันที่ 21-26 ม.ค. และลดลงในวันที่ 27-28 ม.ค. เนื่องจากการระบายอากาศเกณฑ์ “ดี” และคาดการณ์วันนี้อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 ม.ค. 68)

Tags: , , , , ,
Back to Top