TSE คว้าขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เฟส 2 รวม 21 โครงการ 136.10 MW พร้อมลุยเฟส 3 ต่อ

นางแคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย โซลาร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ได้ประกาศรับซื้อไฟฟ้าตามระเบียบว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ.2567 นั้น กลุ่มบริษัทได้ยื่นข้อเสนอเข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 21 โครงการ กำลังการผลิตเสนอขายรวม 136.1 เมกะวัตต์ (165 เมกะวัตต์ติดตั้ง) โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นระยะเวลา 25 ปี

บริษัทปี SCODจำนวนโครงการกำลังการผลิตเสนอขาย (เมกะวัตต์)
บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่2570215.20
2571638.70
บริษัท โซล่าร์ วิซิเบล จำกัด2570215.00
2571741.20
257318.00
บริษัท มีเอสอี รูฟทอป จำกัด2571318.00
รวม21136.10

โดยโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) เท่ากับ 2.1679 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ตลอดอายุสัญญา มีมูลค่าการลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทฯยังมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลเฟส 3 ที่จะมีขึ้นในปี 2568 ด้วยเช่นกัน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าในมือ วางเป้าไม่ต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์

“การได้รับคัดเลือกประมูลในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบ2 ถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้นำพลังงานสะอาดของกลุ่มบริษัทฯ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้ประจำ (Recurring Income) สนับสนุนผลการดำเนินงานเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน” ดร.แคทลีน กล่าว

ปัจจุบัน TSE มีโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมด 41 โครงการ กำลังการผลิตเสนอขายรวม 241.86 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว จำนวน 34 โครงการ และโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) อีก 7 โครงการ และเมื่อรวมกับผลการชนะการประมูลในครั้งนี้อีก 136.1 เมกะวัตต์ ส่งผลให้บริษัทฯกำลังการผลิตรวมทั้งหมดเป็น 377.9 เมกะวัตต์เสนอขายกลุ่มบริษัทฯ ยังคงเดินหน้าการลงทุนในกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านการลงทุนแบบเข้าซื้อกิจการ หรือ M&A (Mergers and Acquisitions) ที่จะสามารถรับรู้รายได้และกระแสเงินสดได้ทันที รวมถึงร่วมจับมือกับพันธมิตรธุรกิจในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ทั้งในรูปของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าขยะ โดยจะพิจารณาเลือกลงทุนในโครงการที่มีผลการดำเนินงาน และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคงสม่ำเสมอ

ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนากลุ่มธุรกิจ Private PPA (Private Power Purchase Agreement) ในรูปแบบการลงทุนใหม่ๆ เช่น Direct PPA และ ESCO Model PPA ซึ่งเป็นการขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ ทั้งกับภาครัฐและเอกชนแบบครบวงจร เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (17 ธ.ค. 67)
Tags: , , ,
Back to Top