สธ. เผย JN.1* ยังเป็นโควิดสายพันธุ์หลักในไทย และเป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง

นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์สายพันธุ์เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ทั่วโลกว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ความสำคัญกับการติดตามโอมิครอน จำนวน 9 สายพันธุ์ จากพื้นฐานของข้อมูลการเพิ่มความชุกหรือความได้เปรียบด้านอัตราการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ และการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการได้เปรียบในการก่อโรค ได้แก่

– สายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง (Variants of Interest: VOI) จำนวน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ BA.2.86* และ JN.1*

– สายพันธุ์ที่ต้องจับตามอง (Variants under monitoring: VUM) จำนวน 7 สายพันธุ์ ได้แก่ JN.1.7*, JN.1.18*,KP.2*, KP.3*, KP.3.1.1, LB.1* และ XEC ซึ่งสายพันธุ์ XEC เป็นสายพันธุ์ลูกผสมของ KS.1.1 และ KP.3.3 ส่วนมากพบในทวีปยุโรป และอเมริกา โดยอาการและความรุนแรงขึ้นกับภูมิคุ้มกันแต่ละบุคคล

ทั้งนี้ จากฐานข้อมูลกลาง GISAID ระหว่างวันที่ 19 ส.ค.-15 ก.ย. 67 พบว่า KP.3.1.1* (สายพันธุ์ย่อยของ KP.3*) พบมากที่สุดในสัดส่วน 46.6% โดยมีอัตราการพบที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง JN.1* พบสัดส่วน 16% มีอัตราการพบที่ลดลงต่อเนื่อง สายพันธุ์ KP.3*, KP.2*, LB.1*, JN.1.18*, JN.1.7* มีแนวโน้มลดลง โดย KP.3* คิดเป็น 14.4%, KP.2* คิดเป็น 8.1%, LB.1* คิดเป็น 6.3%, JN.1.18* คิดเป็น 1.2% และ JN.1.17* คิดเป็น 0.1% ตามลำดับ, สายพันธุ์ XEC มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในสัดส่วน 4.8% และสายพันธุ์ Recombinant มีอัตราส่วนการพบเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 2.3%

นพ.ยงยศ กล่าวว่า กรมฯ ร่วมมือกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่ผ่านฐานข้อมูลสากล GISAID จำนวน 46,952 ราย นับตั้งแต่เริ่มสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19 ในประเทศไทยเดือนม.ค. 63-11 พ.ย. 67สำหรับสถานการณ์โอมิครอนในประเทศไทย สายพันธุ์ JN.1* ยังคงเป็นสายพันธุ์หลัก จำนวน 1,253 ราย คิดเป็นสัดส่วนสะสม 48.57% ของสายพันธุ์ทั้งหมดที่พบในประเทศไทย [JN.1* ทั่วโลก จำนวน 219,972 ราย จาก 102 ประเทศ (อ้างอิงฐานข้อมูล CoV-spectrum ณ วันที่ 11 พ.ย. 67)] ส่วนสายพันธุ์ FLiRT ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ สายพันธุ์ LB.1*, KP.2*, KP.3* และสายพันธุ์ XEC

ส่วนข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อก่อโรคโควิด-19 จากห้องปฏิบัติการฝ่ายไวรัสระบบทางเดินหายใจ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระหว่างวันที่ 23 ก.ย.-25 ต.ค. 67 จำนวน 69 ราย พบว่า

สายพันธุ์ JN.1* จำนวน 25 ราย คิดเป็นสัดส่วน 36.2%

สายพันธุ์ KP.2* (สายพันธุ์ย่อยของ JN.1.11.1*) จำนวน 17 ราย คิดเป็นสัดส่วน 24.6% นวน 9 ราย คิดเป็นสัดส่วน 13.0%

สายพันธุ์ XEC (สายพันธุ์ลูกผสมของ KS.1.1 และ KP.3.3) จำนวน 4 ราย คิดเป็นสัดส่วน 5.8% ซี่งพบในเขตสุขภาพที่ 4 และ 13

สายพันธุ์ KP.3* (สายพันธุ์ย่อยของ JN.1.11.1*), KP.3.1.1* (สายพันธุ์ย่อยของ JN.1.11.1*) และ JN.1.18* จำนวนสายพันธุ์ละ 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนสายพันธุ์ละ 4.3%

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 พ.ย. 67)

Tags: , , , ,
Back to Top