บริดจสโตนพัฒนานวัตกรรมยางพิชิตดวงจันทร์ นำเสนอในงานสัมมนาประจำปีด้านอวกาศครั้งที่ 39

บริดจสโตน คอร์ปอเรชั่น พัฒนายางสำหรับยานสำรวจดวงจันทร์ โดยคอนเซ็ปต์ของยางดังกล่าวได้รับการนำเสนอในงานสัมมนาประจำปีด้านอวกาศครั้งที่ 39 ซึ่งเป็นงานสัมมนาประจำปีด้านอวกาศที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยได้พัฒนายางสำหรับยานสำรวจดวงจันทร์โดยยึดหลักพื้นฐานที่ว่า “ยางดูแลชีวิต” ซึ่งบริดจสโตนเข้าใจการเดินทางบนถนนทั่วโลกและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีการเดินทางทุกประเภทบนโลก รวมถึงสนับสนุนและพัฒนาการเดินทางในอวกาศ

นอกจากนี้ นวัตกรรมเทคโนโลยียางของบริดจสโตนยังได้สนับสนุนวิวัฒนาการของการเดินทางในสถานการณ์สุดท้าทายเช่นเดียวกับกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ต โครงการนี้ทำให้บริดจสโตนมีบทบาทสำคัญในอนาคตแห่งการเดินทางด้วยการรับมือกับความท้าทายในการสำรวจสภาพแวดล้อมที่รุนแรงบนพื้นผิวดวงจันทร์ โดยยางสำหรับยานสำรวจดวงจันทร์ของบริดจสโตนในรุ่นแรกได้ใช้เทคโนโลยีที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะและยังได้รับแรงบันดาลใจจากอุ้งเท้าของอูฐ โดยใช้วัสดุโลหะชนิดนุ่มวางบริเวณหน้ายางที่สัมผัสกับพื้นผิวดวงจันทร์ที่ปกคลุมด้วยเศษดินหรือเศษหินที่อยู่บนพื้นผิวชั้นบนซึ่งเรียกว่าเรโกลิธ (Regolith)

สำหรับยางสำหรับยานสำรวจดวงจันทร์รุ่นที่สอง ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่โดยประยุกต์จากโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายโครงกระดูก (skeletal structure) เพื่อตอบโจทย์ด้านความทนทานและการยึดเกาะบนพื้นผิวดวงจันทร์ซึ่งมาจากความมุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาของบริดจสโตน ทางบริษัทฯ ได้รวมเทคโนโลยีจากการพัฒนายางเพื่ออนาคตอย่างยาง “ไร้ลม (Air Free®)” มาใช้พัฒนาโครงสร้างใหม่ของยางสำหรับยานสำรวจดวงจันทร์ ซึ่งนวัตกรรมโครงสร้างของยางสำหรับยานสำรวจดวงจันทร์นี้ช่วยให้ยางมีความทนทานสูงและยังสามารถเคลื่อนที่ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ บริดจสโตนกำลังสนับสนุนการขับเคลื่อนของยานสำรวจบนดวงจันทร์ด้วยการส่งมอบความปลอดภัยและความอุ่นใจ พร้อมทั้งส่งเสริมให้กับผู้คนได้เดินทางไปยังดวงจันทร์ด้วยเทคโนโลยี “Mastering Road Contact” ซึ่งเป็นความสามารถหลักของบริษัทฯ จากประสบการณ์ที่หลากหลายและเกี่ยวข้องกับท้องถนนทั่วโลก พร้อมสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นร่วมกันกับพันธมิตร สะท้อนผ่านคุณค่า “ด้าน Extension (การเติบโต)” ด้วยความมุ่งมั่นของเราที่ว่า เพราะโลกไม่เคยหยุด เราต้องไปให้สุดด้วยนวัตกรรมใน “Bridgestone E8 Commitment (พันธสัญญา E8 ของบริดจสโตน)”

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 พ.ย. 67)

Tags:
Back to Top