เงินบาทเปิด 32.46 ทยอยแข็งค่าต่อเนื่อง ให้กรอบ 32.25-32.55 จับตาตัวเลข PCE สหรัฐ

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 32.46 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาด เย็นวานนี้ที่ระดับ 32.60 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับแข็งค่าสุดในรอบประมาณ 30 เดือน หรือตั้งแต่เดือนมี.ค. 65 ขณะที่สกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหว แบบผสมทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า

ปัจจัยที่มำให้เงินบาทแข็งค่า มาจากเมื่อคืนนี้สหรัฐฯ ได้ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 2 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่าง งานประจำสัปดาห์ ออกมาดีกว่าคาด ทำให้ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะ Soft Landing ประกอบกับวานนี้ยังมีมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของจีนออกมาด้วย ส่งผลให้ตลาดเปิดรับความเสี่ยง

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 32.25 – 32.55 บาท/ดอลลาร์

สำหรับวันนี้ต้องติดตามดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนส.ค. ของสหรัฐฯ และจับตาการเลือกตั้ง หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่น (LDP)

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 145.47 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 144.84 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1690 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1147 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.683 บาท/ดอลลาร์

– “คลัง” นัดแล้วสัปดาห์หน้าคุย “ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ” รับกังวลเงินบาทแข็ง-ผันผวน ห่วงกระทบส่งออกท่องเที่ยว จี้เร่งแก้ ปัญหา ห่วงไม่ทำอะไรเลยจะเป็นสัญญาณไม่ดี ชี้นโยบายการเงินประเทศต้องสอดคล้องโลก “พิชัย” ยันไม่อยากให้มองขัดแย้งผู้ว่าฯ แบงก์ ชาติ แต่ควรรู้หน้าที่ โอดค่าเงินบาทแข็ง พาณิชย์ต้องทำงานหนัก ส่งออกลดลงเรื่อย ๆ ก็ต้องรับผิดชอบ

– หอการค้าไทยคาดแจกเงินหมื่นดันเศรษฐกิจหมุน 3 รอบสะพัดแรง 4.5 แสนล้าน คาดหนุนจีดีพีปีนี้โต 2.8%-คาดกินเจปีนี้ คึกคักแต่ของแพงขึ้น

– ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้กล่าวสุนทรพจน์ในช่วงเปิดการประชุมว่าด้วยตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อ วานนี้ โดยกล่าวถึงความสำคัญของตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ที่มีต่อเศรษฐกิจโลก โดยระบุว่าพันธบัตรสหรัฐฯ เป็นสินทรัพย์ที่มีบทบาทสำคัญใน การแปลงเป็นเงินสดเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในยามที่เกิดภาวะตึงตัวในระบบการเงิน แต่พาวเวลไม่ได้กล่าวถึงนโยบายการเงินหรือส่งสัญญาณ ถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งนี้

– กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยการประมาณการครั้งที่ 3 ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำ ไตรมาส 2/2567 โดยระบุว่า GDP ขยายตัว 3.0% ซึ่งสอดคล้องกับการประมาณการครั้งที่ 2 หลังจากมีการขยายตัวเพียง 1.4% ในไตร มาส 1/2567 โดยได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน

– กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่าตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 4,000 ราย สู่ระดับ 218,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 224,000 ราย

– นักลงทุนลดน้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนพ.ย. หลัง สหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

– ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (26 ก. ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายดอลลาร์ในช่วงท้ายตลาด หลังจากดอลลาร์แข็งค่าในระหว่างวันขานรับข้อมูลเศรษฐกิจและข้อมูลแรงงานที่ แข็งแกร่งของสหรัฐฯ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯ ในวันนี้ เพื่อหา สัญญาณบ่งชี้ทิศทางเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (26 ก.ย.) เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยหนุนแรง ซื้อ นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้ปัจจัยบวกจากความหวังที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% ในการ ประชุมเดือนพ.ย.

– นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐฯ ในวันนี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบ คลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (27 ก.ย. 67)

Tags: , ,
Back to Top