เงินบาทเปิด 33.37 แข็งค่ารอบ 18 เดือน ให้กรอบวันนี้ 33.30-33.50 จับตา Flow-ราคาทอง

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.37 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 33.74 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดทำสถิติต่ำสุดใหม่ในรอบกว่า 18 เดือน นับตั้งแต่เดือน ก.พ.66 เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบทุกสกุลเงินหลัก หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต่างไปจาก ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ขณะที่ราคาทองคำปรับตัวพุ่งขึ้นทำนิวไฮทะลุ 2,550 ดอลลาร์/ออนซ์

ส่วนปัจจัยในประเทศน่าจะมีแรงกดดันให้บาทแข็งค่าเพิ่มเติมได้อีกจากการส่งออกทองคำ และต้องดูกระแสเงินทุนต่าง ประเทศ (Fund Flow) ที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น

“บาทแข็งค่าลงมาทำ New low นับตั้งแต่เดือน ก.พ.66 หลังดอลลาร์อ่อนค่าเนื่องจาก ECB ส่งสัญญาณจะปรับลดดอกเบี้ย แบบครั้งเว้นครั้ง ไม่ได้ลดต่อเนื่องแบบ Fed” นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.30 – 33.50 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 142.36 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 142.67 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1080 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1015 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท. อยู่ที่ระดับ 33.743 บาท/ดอลลาร์

– “SCBEIC ไทยพาณิชย์” ส่งสัญญาณเตือน หากไม่ต้องการให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงรุนแรงแบบ Hard Landing ต้องใช้ทั้ง มาตรการการเงินและการคลัง โดยรัฐต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นร่วมกับการแก้หนี้เสีย และการลดดอกเบี้ยของ กนง.หลังพบ เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ขาลง กำลังซื้อลด คนจนไม่มีเงินใช้ คนรวยไม่ใช้เงิน แบงก์ไม่ปล่อยกู้ หวั่นปี 68 เศรษฐกิจโตแค่ 1.9%

– “ม.หอการค้าไทย” ชี้ ศก.ไทยฟื้นตัวช้า ยังไม่เห็นมาตรการกระตุ้น ศก.ของรัฐบาลใหม่ที่ชัดเจน ฉุดดัชนีเชื่อมั่นผู้ บริโภค “ส.ค.”ลดลงต่อเนื่องเดือนที่ 6 ต่ำสุดรอบ 13 เดือน ระบุหากเงินดิจิทัลแจกตามไทม์ไลน์จะช่วย ศก.ขยายตัว

– อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภาย ใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 มีมูลค่าการใช้สิทธิภายใต้ความตกลง FTA รวม 40,281.22 ล้าน เหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ 82.10% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ สินค้าเกษตรที่น่าสนใจที่มีอัตราการใช้สิทธิฯ และ การส่งออกเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก คือ สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้น 51.69% จากช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ที่มีมูลค่าการ ใช้สิทธิ 439.62 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 666.87 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดียวกันของปี 2567

– ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า กรรมการ ECB มีมติเป็นเอกฉันท์ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ตาม การคาดการณ์ของตลาด และเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมิ.ย. พร้อม ประกาศปรับลดประมาณการตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของยูโรโซนในปี 2567-2569 พร้อมกับเตือนว่าการขยายตัว ของเศรษฐกิจในยูโรโซนจะอ่อนแอกว่าที่คาดไว้

– กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 2,000 ราย สู่ระดับ 230,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 227,000 ราย

– กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ปรับตัว ขึ้น 1.7% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.8% จากระดับ 2.1% ในเดือนก.ค.

– กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า เป็นการเหมาะสมสำหรับธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่จะเริ่มผ่อน คลายนโยบายการเงินในการประชุมสัปดาห์หน้า เนื่องจากความเสี่ยงในช่วงขาขึ้นของเงินเฟ้อได้ลดน้อยลงแล้ว ก่อนหน้านี้นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากถึง 0.50% หลังสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจและแรง งานที่อ่อนแอในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ความคาดหวังดังกล่าวลดน้อยลงหลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงกว่า คาดเมื่อวันพุธ

– FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 73% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการ ประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. และให้น้ำหนัก 27% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในวันดังกล่าว

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันพฤหัสบดี (12 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการ คาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า หลังสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการชะลอ ตัวของเศรษฐกิจ

– ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐวันนี้ ได้แก่ ราคานำเข้าและส่งออกเดือนส.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ย.จาก มหาวิทยาลัยมิชิแกน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (13 ก.ย. 67)

Tags: , ,
Back to Top