สมาคมธนาคารไทย ได้เข้าหารือร่วมกับน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง พร้อมสรุปปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ 5 ด้าน ได้แก่
1.ปัญหาหนี้ครัวเรือน 91.4% ต่อจีดีพี และ 27% ของครัวเรือนเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ โดยปัญหารุนแรงคือ หนี้รถ หนี้บ้าน
2.แผลเป็นด้านรายได้
3.เศรษฐกิจนอกระบบสูง
4.ไม่พร้อมในการก้าวสู่เศรษฐกิจใหม่
5.Safety net ไม่ครอบคลุม รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ไม่มีเงินออม
พร้อมข้อเสนอ 5 แนวทาง ได้แก่
1.ผันเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ในระบบ จะสร้างตัวคูณทางเศรษฐกิจได้สูง สร้างรายได้ให้ทันรายจ่าย
2.เติมเครื่องมือเพื่อช่วยให้ SMEs เพื่อให้ปรับตัวได้และเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อ
3.แก้หนี้ครัวเรือนและให้สินเชื่ออย่างยั่งยืน
4.เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการและก้าวทันกระแสโลก
5.เร่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ด้วยการเร่งผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาค สร้างความต่อเนื่องของโครงการ EEC
นายพิชัย กล่าวว่า วาระหลักของรัฐบาลในขณะนี้คือการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนที่มีอยู่กว่า 16 ล้านล้านบาท เป็นหนี้ในระบบประมาณ 13 ล้านล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นหนี้นอกระบบและหนี้สหกรณ์ โดยเสนอให้ธนาคารกรุงไทยเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหนี้ หากทำได้จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นกลับมา คนที่คิดวิธีการได้ดีที่สุดคือเจ้าหนี้ ส่วนกระทรวงการคลังจะยืนอยู่ข้างหลังเพื่อให้ทำงานสอดรับกัน
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง กล่าวว่า เราอยากเห็นธนาคารของไทยเข้ามามีส่วนร่วมกับนโยบายรัฐบาลให้มากขึ้น พร้อมอัพเดทขั้นตอนการดำเนินนโยบาย Finacial hub ซึ่งอยู่ในขั้นตอนร่างกฎหมาย คาดว่า 3-4 เดือนจะมีความชัดเจน ส่วนการจัดตั้งสถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (National Credit Guarantee Agency : NaCGA) ขณะนี้ตัวร่างกฎหมายมีความคืบหน้า 95% แล้ว
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (23 ส.ค. 67)
Tags: กระทรวงการคลัง, พิชัย ชุณหวชิร, หนี้ครัวเรือน, หนี้สิน, เศรษฐกิจไทย, แพทองธาร ชินวัตร