นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.49 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.23 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาคและตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์กลับมาแข็งค่า หลังตัวเลขดัชนี ISM ภาคบริการที่ประกาศเมื่อคืนออกมาดี ช่วยให้ตลาดคลายกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ลงได้บ้าง แต่ระหว่างวันต้องรอดู ว่าจะมีปัจจัยใหม่เรื่องอะไรเข้ามาเพิ่มเติม
“บาทอ่อนค่าตามภูมิภาค ทิศทางช่วงนี้ผันผวนหนัก นักลงทุนอยู่ในโหมดหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และปรับพอร์ตลงทุน ทำให้ทุก สินทรัพย์เสี่ยงเกิดความผันผวน”
นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.30 – 35.60 บาท/ดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 145.67 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 142.17 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0952 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0954 ดอลลาร์/ยูโร
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.211 บาท/ดอลลาร์
– หุ้นไทยดิ่งหนักติดลบ 38.41 จุด ทำนิวโลว์รอบ 4 ปี ปัจจัยลบรุม ทั้งหวั่น ศก.มะกันส่อแววถดถอย แถมผวาสมรภูมิตะวัน ออกกลางขยายวงเดือด
– ส.อ.ท.เผยผลโพลชี้เอกชนเชื่อว่าเศรษฐกิจปีนี้โตต่ำกว่า 2% แนวโน้มธุรกิจครึ่งปีหลังทรงตัว หวั่นปรับค่าแรง 400 บาท เสี่ยงกระทบ
– เอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 55.0 ในเดือนก.ค. จากระดับ 55.3 ในเดือนมิ.ย.
– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (5 ส.ค.) ตามทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกที่ถูกเทขายอย่างหนัก อันเนื่องมาจาก ความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่าการปรับตัวลงของราคาทองคำจะเกิดขึ้นเพียงชั่ว คราวเท่านั้น เนื่องจากทองคำยังคงมีแรงดึงดูดในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจและสถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์เผชิญกับ ความไม่แน่นอน
– สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาด และอัตรา ว่างงานที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี นักลงทุนมองว่าความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐเกิดจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยช้าเกินไป โดยล่าช้ากว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ที่ได้ปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยไปก่อนหน้านี้ ขณะที่เฟดยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 23 ปี
– ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก กล่าวว่า เฟดควรมีมาตรการตอบรับต่อสัญญาณที่บ่งชี้ถึงความอ่อนแอใน เศรษฐกิจ และอัตราดอกเบี้ยไม่ควรที่จะเข้มงวดเกินไปในขณะนี้
– ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโกกล่าวเมื่อวานนี้ (5 ส.ค.) คาดหวังให้มีการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยลงในปีนี้ แต่ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับกรอบเวลาหรือขอบเขตที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง
– FedWatch Tool ของ CME บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนักมากกว่า 86% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการ ประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. และให้น้ำหนักเพียง 14% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันดังกล่าว
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (06 ส.ค. 67)
Tags: ค่าเงินบาท, อัตราแลกเปลี่ยน, เงินบาท