เงินบาทเปิด 36.46 แนวโน้มแข็งค่า จับตาการเมืองไทย-ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ-ถ้อยแถลงปธ.เฟด

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาท เปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.46 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากปิดสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 36.56 บาท/ดอลลาร์

นับตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น ตามการจังหวะการย่อตัวลงของทั้งเงินดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังรายงานข้อมูลสหรัฐฯ ล่าสุดสะท้อนถึงการชะลอตัวลงมากขึ้นของตลาดแรงงานสหรัฐฯ

สำหรับสัปดาห์นี้ ประเมินว่าควรระวังความผันผวน จากการเลือกตั้งสภาฝรั่งเศสรอบ 2 และประเด็นการเมืองของไทย และรอ จับตารายงานอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ รวมถึงถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อสภาคองเกรส

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท มองว่า โมเมนตัมการแข็งค่ากลับมามีกำลังมากขึ้น แต่การแข็งค่าก็อาจเป็นไปอย่างจำกัด จนกว่า ตลาดจะรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม อีกทั้งต้องระวังสถานการณ์การเมืองในประเทศที่อาจกดดันฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติได้ นอกจากนี้ ควรจับ ตาทิศทางราคาทองคำ และเงินหยวนจีนที่มีผลต่อเงินบาทในช่วงนี้ “สถานการณ์การเมืองในประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้เล่นในตลาดติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีการนัดพิจารณาคดีนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน โดยศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ก.ค. สถานการณ์การเมืองในประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของ รัฐบาล เช่น Digital Wallet” นายพูน ระบุ

นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้ จะอยู่ที่ระดับ 36.40-36.55 บาท/ดอลลาร์

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.4200 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 160.52 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 160.68/72 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0828 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0826/0830 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.589 บาท/ดอลลาร์

– กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อยู่ระหว่างการเจรจากับสายการบิน เพื่อเพิ่มเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ซึ่งเป็น เมืองรองของไทยกับเมืองรองของอินเดีย เช่น รัฐปัญจาบ เพื่อกระตุ้นการเดินทางนักท่องเที่ยวอินเดียในช่วงครึ่งหลังปี 2567 ให้ได้ตามเป้า ปี 2567 ที่จำนวน 2.4-2.5 ล้านคน เพิ่มจากเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 1.8 ล้านคน หลังครึ่งปีแรกมีนักท่องเที่ยวอินเดียเดินทางเข้าไทยแล้ว 1.040 ล้านคน

– รมช.คลัง เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้กระทรวงการคลังจะออกมาตรการลดผลกระทบให้กับผู้ประกอบการที่ต้องแบกรับภาระการ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล โดยมาตรการที่จะออกมานั้น จะเป็นมาตรการทางภาษีเหมือนเช่นที่ผ่านมา ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับลดหย่อนภาษีใน อัตราที่ใกล้เคียงกับต้นทุนที่ผู้ประกอบการแบกรับ ทั้งนี้เมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องมีมาตรการภาษีมาช่วยแบ่งเบาภาระให้กับผู้ประกอบ การด้วยเหมือนในอดีตที่เคยทำมา โดยอาจจะให้วงเงินลดหย่อนภาษีที่ 1 เท่าของรายจ่ายค่าแรง หรือมากกว่านั้น ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะสามารถประกาศมาตรการได้ทันทีที่มีการประกาศขึ้นค่าแรง

– สำนักงานปริวรรตเงินตราต่างประเทศของจีน (SAFE) เปิดเผยว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนมิ.ย.ของจีนลดลง 9.681 พันล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 3.222 ล้านล้านดอลลาร์ จากระดับ 3.232 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ค.

– นักวิเคราะห์บางส่วนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนจะกลับมาซื้อทองคำครั้ง เนื่องจากต้องการกระจายความเสี่ยงในระบบทุน สำรอง โดยนักวิเคราะห์มองว่า ราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้นอาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารกลางจีนไม่ได้ซื้อทองคำเพิ่มเป็นเวลา 2 เดือน ติดต่อกัน

– กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 206,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ใกล้เคียงกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 200,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวจากระดับ 218,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. – FedWatch Tool ของ CME บ่งชี้ว่า โอกาสที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนก.ย.เพิ่มขึ้นเป็น 79% จาก 66% ก่อนการ เปิดเผยข้อมูลจ้างงาน – นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันพฤหัสบดีนี้ (11 ก.ค.) เพื่อประเมินแนวโน้มอัตรา ดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (08 ก.ค. 67)

Tags: , ,
Back to Top