เงินบาทเปิด 36.61 แนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวน จับตาทิศทางดอลลาร์-ทองคำ-Flow

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.61 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิดสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 36.79 บาท/ดอลลาร์

โดยตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา (รวมถึงช่วงวันจันทร์ที่เป็นวันหยุดของไทย) เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนพอสมควร อย่างไรก็ดี ตลาดคลายกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลงบ้าง หลังอัตราเงินเฟ้อ (PCE) สหรัฐฯ ชะลอลงตามคาด สำหรับสัปดาห์นี้ ควรเตรียมรับมือความผันผวนจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ เช่น ยอดการจ้างงานนอกภาค เกษตรกรรม รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท ประเมินว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าได้ชะลอลงบ้าง หลังตลาดคลายกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด แต่เงินบาทเสี่ยงผันผวนสูงไปตามทิศทางเงินดอลลาร์ รวมถึงทิศทางราคาทองคำ

นอกจากนี้ ควรจับตาแนวโน้มฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติที่อาจเริ่มกลับมาซื้อสินทรัพย์ไทยอีกครั้ง หากบรรยากาศในตลาด การเงินกลับมาเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) มากขึ้น

นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.50-36.70 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 156.47 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 157.19 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0908 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0837 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.751 บาท/ดอลลาร์

– นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) เปิดเผยว่า ผลจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนทำให้การส่ง ออกสินค้าของจีนเกิดปัญหา และกระทบต่อเศรษฐกิจจีน ทำให้ไทยอาจพลาดเป้าหมายนักท่องเที่ยวจีนที่ตั้งไว้ 8 ล้านคนได้ เพราะ 5 เดือน แรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเที่ยวไทยจำนวน 2.9 ล้านคน เฉลี่ยเดือนละ 480,000 คน ประเมินทั้งปีจำนวนนัก ท่องเที่ยวจีนจะมีจำนวน 7 ล้านคน ต่ำกว่าเป้า 12.5% หากต้องการให้เป็นไปตามเป้า 8 เดือนที่เหลือของปี ต้องผลักดันให้ชาวจีนมา เที่ยวไทยให้ถึงเดือนละ 600,000 คน และต้องไปลุ้นในช่วงไฮซีซัน (ต.ค.-ธ.ค.) ว่าจะได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ 8 ล้านคนหรือไม่

– รมช.คลัง จ่อชง ครม.เคาะแพ็กจัดเก็บรายได้เพิ่ม ทั้งรีดภาษีบริษัทข้ามชาติปีละ 20,000 ล้านบาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% สำหรับสินค้านำเข้าตั้งแต่บาทแรก ส่วนจัดเก็บรายได้ช่วง 7 เดือน ปีงบ 67 พลาดเป้า 3.9 หมื่นล้านบาท – สมาคมตราสารหนี้ เผยตลาด หุ้นกู้เอกชนครึ่งหลังปี 67 คาดแนวโน้มกลับมา “คึกคัก” อีกครั้ง หากเฟดลดดอกเบี้ยเร็วขึ้น กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ 1 ครั้งช่วงปลายปี ส่งผลบวก “ต้นทุน” ออกหุ้นกู้ลดลง เชื่อดึงดูดความสนใจบริษัทเอกชนหันมาระดมทุนมากขึ้น ย้ำ เป้ายอดออกหุ้นกู้ ปีนี้แตะ 9 แสนล้านถึง 1 ล้านล้าน

– “ทองคำ-คริปโทฯ” แนวโน้ม ครึ่งหลังปี 67 ยังคงเสน่ห์แรง “ดึงดูดนักลงทุน” ต่อเนื่อง “สมาคมค้าทองคำ” แนะจับตา สัญญาณ เฟด “ลดดอกเบี้ย” หนุนสินทรัพย์เสี่ยงราคาทะยาน หลังครึ่งแรกถือเป็นสินทรัพย์สร้าง “ผลตอบแทน” ในการลงทุน “โดดเด่น” สะท้อนผ่าน “ราคาทอง” ทุบสถิติจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ “คริปโตมายด์ฯ” ชี้ปลายปีนี้โอกาส “ตลาดคริปโทฯ” เข้าสู่ ภาวะ “กระทิง” หลังครึ่งแรกเกิดปรากฏการณ์ “Bitcoin Halving” มาแล้ว

– กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลทั่วไป (Headline PCE) ซึ่งรวมหมวด อาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.7% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และเมื่อเทียบราย เดือน ดัชนี PCE ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนเม.ย. สอดคล้องตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 2.8% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และเมื่อเทียบราย เดือน ดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.3%

– สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 48.7 ในเดือนพ. ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 49.2 ในเดือนเม.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 49.6 โดยดัชนี ปรับตัวต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ในภาวะหดตัว

– นักลงทุนในตลาดได้ประเมินข้อมูลที่บ่งชี้ว่ากิจกรรมในภาคการผลิตของสหรัฐชะลอตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งทำให้เกิด ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปรับ ตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ และเครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 59% ที่เฟดจะ เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 53% ก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิต

– ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (3 มิ. ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตที่อ่อนแอเกินคาด ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มพิจารณาปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยในปีนี้

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันจันทร์ (3 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนมองว่าดัชนีภาคการผลิตที่ อ่อนแอเกินคาดของสหรัฐจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังส่งผลให้สกุลเงิน ดอลลาร์อ่อนค่าลงและฉุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐชะลอตัวลงด้วย

– นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เฟดจะปรับลดอัตรา ดอกเบี้ย โดยข้อมูลดังกล่าวรวมถึงตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) , ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน, ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนจาก ADP, ดัชนีภาคบริการจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04 มิ.ย. 67)

Tags: , ,
Back to Top