นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.23 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่า จากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.53 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางของภูมิภาคและตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบ กับทุกสกุลเงินสกุล ปรับตัวตามบอนด์ยีลด์ที่ลดลงมาก หลังตัวเลขเงินเฟ้อเดือน เม.ย.ของสหรัฐฯ ที่ประกาศเมื่อคืนออกมาตามคาด ขณะที่ ตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ตลาดปรับคาดการณ์ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้มี โอกาสถึง 2 ครั้ง
“บาทเคลื่อนไหวตามภูมิภาคและทิศทางตลาดโลกเนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าตามบอนด์ยีลด์ที่ร่วงลงแรง โดยบาทแข็งค่าจากปิด ตลาดเมื่อวานมากถึง 30 สตางค์ ลงมาอยู่ใกล้ระดับเมื่อ 5 สัปดาห์ก่อน” นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.15 – 36.35 บาท/ดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 153.89 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 155.80 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0890 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0826 ดอลลาร์/ยูโร
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.551 บาท/ดอลลาร์
– “พิชัย” เปิดกระทรวงต้อนรับ “เศรษฐพุฒิ” จับเข่าคุยศึก ธปท. งัดข้อรัฐบาลขุนคลังลั่นประสานแนวทางขับเคลื่อน เศรษฐกิจปรับจูนนโยบายการคลังและการเงิน ยันไม่แบ่งงาน รมช.คลังใหม่ แย้มอยากได้มือเศรษฐกิจมาช่วยงานเพิ่มอีกคน
– “เผ่าภูมิ” ชี้ครึ่งปีหลังรัฐเตรียมอัดฉีดงบ 3 ก้อนยักษ์เข้าระบบ หวังช่วยดันจีดีพีปี 67 โตทะลุ 2.4% จ่อชง ครม.เคาะสิน เชื่อเมืองรอง ลุยมอบนโยบาย สศค. แนะให้คิดนอกกรอบ ปัดขยับอัตราภาษี ชี้เศรษฐกิจประเทศยังไม่เหมาะสม
– สงครามการค้าจีน-สหรัฐ ระอุอีกรอบ ตั้งกำแพงภาษีรถอีวีจีน 100% อียูเดินตามรอยสหรัฐ สกัดรถจีนราคาถูก คาดได้ข้อ สรุป มิ.ย.นี้ ส.อ.ท.มองวิกฤติเป็นโอกาสรับย้ายฐานการลงทุน สรท.ห่วงกระทบส่งออกไทยระยะสั้น ไทยเป็นห่วงโซ่อุปทานของจีน “เค เคพี” จับตาผลกระทบ 4 ด้าน หวั่นลามเป็นสงครามค่าเงิน “ซีไอเอ็มบีไทย” ชี้การค้าโลกชะลอ ไทยเสียมากกว่าได้
– รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า เศรษฐกิจหดตัวลง 2.0% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาส 1/2567 โดยหดตัวลงเป็นครั้ง แรกในรอบ 2 ไตรมาส และเมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสนั้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่แท้จริงซึ่งปรับค่าเงินเฟ้อแล้วนั้น ลด ลง 0.5% จากไตรมาส 4/2566
– กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนี CPI ทั่วไปซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.4% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.5% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี CPI ทั่ว ไปปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนเม.ย. ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.4% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค.
ดัชนี CPI เดือนเม.ย.ที่ออกมาต่ำกว่าคาดเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐเริ่มเข้าสู่ช่วงขาลงในไตรมาส 2 ปีนี้ และทำ ให้ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.
– ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (14 พ.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาดในเดือนเม.ย. ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะ เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันพุธ (15 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาดใน เดือนเม.ย. ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
– นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักในการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ในเดือนก.ย. และปรับลดอีกครั้งในเดือนธ.ค. หลังการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาดเมื่อวานนี้ (15 พ.ค.)
– นักลงทุนรอดูข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยในวันนี้จะมีการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย สัปดาห์, ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนเม.ย., ราคานำเข้าและส่งออกเดือนเม.ย. และการผลิตภาค อุตสาหกรรมเดือนเม.ย. ส่วนในวันพรุ่งนี้จะเป็นการเปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเม.ย.โดย Conference Board
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (16 พ.ค. 67)
Tags: ค่าเงินบาท, อัตราแลกเปลี่ยน, เงินบาท