นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 37.07 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่า จากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.98 บาท/ดอลลาร์
เปิดตลาดเช้านี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 6 เดือนครึ่ง นับตั้งแต่เดือน ต.ค.66 ขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคมีทิศทางทรงตัว เนื่องจากตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา
ส่วนปัจจัยในประเทศ ต้องรอดูทิศทางของกระแสเงินทุนต่างประเทศ (Flow) จากผู้ค้าทอง หลังราคาทองในตลาดโลกเมื่อ คืนร่วงลงมากถึง 60 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากตลาดคลายกังวลเรื่องการสู้รบในตะวันออกกลาง
“เช้านี้บาทอ่อนค่าทำนิวไฮในรอบ 6 เดือนครึ่ง วันนี้อาจมีแรงหนุนให้บาทอ่อนค่าจาก Flow นำเข้าทอง”
นักบริหารเงินฯ กล่าว นักบริหารเงินฯ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.95-37.20 บาท/ดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนทรงตัวอยู่ที่ระดับ 154.75 เยน/ดอลลาร์ เท่ากับช่วงเย็นวานนี้
– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0656 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0650 ดอลลาร์/ยูโร
– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.988 บาท/ดอลลาร์
– ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้เตรียมพิจารณาเคาะแหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท วงเงิน 5 แสนล้านบาท หลังจากบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตได้เห็นชอบแหล่งที่มาของโครงการแล้ว คือ งบปี 67, งบปี 68 และ ดำเนินการผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
– ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (20 เม.ย.) ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และดัชนี ราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ
– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วง เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางลดน้อย ลง ส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงแทน ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน มิ.ย.ลดลง 67.40 ดอลลาร์ หรือ 2.79% ปิดที่ $2,346.40 ดอลลาร์/ออนซ์ – ผู้นำกลุ่มฮามาส ระบุอิสราเอลเป็นต้นเหตุที่ทำให้การเจรจาหยุดยิงประสบความล้มเหลว หลังปฏิเสธที่จะถอนกำลังทหารทั้ง หมดออกจากฉนวนกาซา
– นักลงทุนจับตาดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่จะมีการเปิดเผยในวันศุกร์ โดยคาดการณ์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไป (Headline PCE) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.6% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 2.5% ใน เดือนก.พ.
– ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มเข้าสู่ช่วงงดเว้นการแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงิน (Blackout Period) ก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค.
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (23 เม.ย. 67)
Tags: ค่าเงินบาท, อัตราแลกเปลี่ยน, เงินบาท