เว็บไซต์ IQAir รายงานคุณภาพอากาศของทั่วโลก โดยล่าสุดข้อมูลเมื่อเวลา 09.30 น. พบว่า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ติดอันดับ 9 ของเมืองใหญ่ที่มีมลพิษมากสุด โดยอันดับ 1 คือ โกลกาตา ประเทศอินเดีย ค่า AQI อยู่ที่ 303 เป็นระดับอันตราย อันดับ 2 เมืองธากา ประเทศบังกลาเทศ ค่า AQI อยู่ที่ 266 มีผลกระทบต่อทุกคนอย่างรุนแรง และอันดับ 3 เมืองเดลี ประเทศอินเดีย ค่า AQI อยู่ที่ 196 มีผลกระทบต่อทุกคน
โดยกรุงเทพฯ ประเทศไทย อยู่ในอับดับ 9 ค่า AQI อยู่ที่ 162 มีผลกระทบต่อทุกคน
ขณะที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยผู้ว่าฯ กทม. ได้มีคำสั่งให้หน่วยงานในสังกัดปฏิบัติงานที่บ้าน (Work From Home) และขอความร่วมมือภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน 151 แห่งที่เข้าร่วมมาตรการให้ทำงานที่บ้านเช่นกัน ในช่วงวันที่ 15-16 ก.พ.นี้
สำหรับสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเวลา 07.00 น.ที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานผลการตรวจวัด PM 2.5 อยู่ที่ระดับ 53.3-87.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) เกินมาตรฐานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยให้งดกิจกรรมกลางแจ้ง และใส่หน้ากากป้องกัน
โดยมีพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับสีแดง 13 พื้นที่ (มาตรฐานไม่เกิน 75.1 มคก./ลบ.ม.) และพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับสีส้ม (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) 52 พื้นที่ ดังนี้
โดยระดับสีแดง (มาตรฐานไม่เกิน 75.1 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 13 พื้นที่ ได้แก่
1.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 87.5 มคก./ลบ.ม.
2.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 80.2 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 79.7 มคก./ลบ.ม.
4.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 79.2 มคก./ลบ.ม.
5.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 79.0 มคก./ลบ.ม.
6.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 78.6 มคก./ลบ.ม.
7.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 77.0 มคก./ลบ.ม.
8.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 77.0 มคก./ลบ.ม.
9.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 76.0 มคก./ลบ.ม.
10.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 76.0 มคก./ลบ.ม.
11.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 75.4 มคก./ลบ.ม.
12.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 75.3 มคก./ลบ.ม.
13.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 75.3 มคก./ลบ.ม.
ส่วนระดับสีส้ม (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 52 พื้นที่ ได้แก่
– เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 74.8 มคก./ลบ.ม.
– เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 74.4 มคก./ลบ.ม.
– เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 73.1 มคก./ลบ.ม.
– เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 72.8 มคก./ลบ.ม.
– เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 72.1 มคก./ลบ.ม.
– เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 71.5 มคก./ลบ.ม.
– เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 71.1 มคก./ลบ.ม.
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (15 ก.พ. 67)
Tags: IQAir, กทม., คุณภาพอากาศ, ฝุ่น PM2.5, มลพิษ