เงินบาทเปิด 35.89 แนวโน้มแกว่ง sideway ตลาดรอลุ้นเงินเฟ้อสหรัฐฯในคืนนี้

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.89 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าเล็ก น้อยจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.86 บาท/ดอลลาร์ ตลาดรอปัจจัยใหม่เข้ามา ประกอบกับตลาดการเงินบางแห่งยังปิดทำการ โดยคืน นี้จะมีการประกาศตัวเลข CPI เดือน ม.ค.ของสหรัฐฯ หากตัวเลขเงินเฟ้อออกมาสูงจะเป็นปัจจัยกดดันให้ดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบ กับสกุลเงินหลัก

“บาทเปิดตลาดอ่อนค่าจากเย็นวานนี้เล็กน้อย ทิศทางวันนี้น่าจะแกว่งตัวออกข้างรอปัจจัยใหม่ โดยคืนนี้จะมีการประกาศตัวเลข เงินเฟ้อของสหรัฐฯ” นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.80 – 36.05 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ 149.38 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 149.13 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรทรงตัวเท่ากับช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0768 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 35.900 บาท/ดอลลาร์

– ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบ กระแสเงินสดในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 67 (ต.ค.-ธ.ค.66) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 622,652 ล้านบาท ในขณะที่มี การเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 963,782 ล้านบาท ขาดดุลเงินงบประมาณ 341,130 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาด ดุล 20,000 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ธ.ค.66 มีจำนวนทั้งสิ้น 209,616 ล้านบาท

– ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (12 ก.พ.) ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเงินเฟ้อและยอดค้าปลีกของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลด อัตราดอกเบี้ยเมื่อใด

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (12 ก.พ.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของ สหรัฐในวันนี้ เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

– นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางอัตรา ดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและ พลังงาน จะปรับตัวขึ้น 2.9% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวจากระดับ 3.4% ในเดือนธ.ค. และคาดว่าดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 3.8% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ 3.9% ใน เดือนธ.ค.

– นักวิเคราะห์จากบริษัท Angeles Investments กล่าวว่า ดัชนี CPI ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งในข้อมูล เงินเฟ้อสำคัญที่จะสามารถบ่งชี้ว่าเฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด

– นักวิเคราะห์จากบริษัท Kitco Metal แสดงความเห็นว่า เฟดอาจจะเลื่อนเวลาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปเป็นช่วง ครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงที่ผ่านมานั้นมีความแข็งแกร่งมากเกินกว่าที่เฟดจะตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยในเดือนพ. ค. ส่วนดัชนี CPI เดือนม.ค.ของสหรัฐซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันนี้ ตลาดได้คาดการณ์เป็นวงกว้างว่าดัชนีจะชะลอตัวลง แต่หากข้อมูลไม่ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ก็อาจจะสร้างแรงกดดันต่อราคาทองคำ

– นักวิเคราะห์จากแบงก์ ออฟ อเมริกา กล่าวว่า นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้อย่างใกล้ ชิด หลังจากเจ้าหน้าที่เฟดได้ออกมาส่งสัญญาณว่า เฟดจะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะมั่นใจว่าเงินเฟ้อของสหรัฐกำลังชะลอตัวลงสู่ เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%

– ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งการที่ เจ้าหน้าที่เฟดได้ออกมาส่งสัญญาณว่าจะไม่เร่งปรับลดอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 52.2% ในการคาดการณ์ว่าเฟดจะ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนพ.ค. จากก่อนหน้านี้ที่เคยให้น้ำหนักสูงกว่า 95%

– ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI), การผลิตภาคอุตสาหกรรม, ยอดค้า ปลีก และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (13 ก.พ. 67)

Tags: ,
Back to Top