หุ้นไทยแนวโน้มดัชนีเช้าแกว่งไซด์เวย์ไร้ปัจจัยใหม่หนุน เกาะติดเงินเฟ้อสหรัฐ-งบบจ.

นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล, CISA ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดดัชนีแกว่งไซด์เวย์ ไร้ปัจจัยใหม่มีผลต่อดัชนี โดยตลาดหุ้นภูมิภาคบางแห่งยังปิดทำการ ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายค่อนข้างน้อย นักลงทุนรอติดตามการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันนี้

ขณะที่เมื่อคืนนี้ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวก มองว่าไม่ส่งผลกับตลาดหุ้นไทยเท่าไร และดัชนี S&P500 และ Nasdaq ลดลง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลายสาขาส่งสัญญาณคล้ายกับประธานเฟดก่อนหน้านี้ว่า ยังไม่รีบร้อนลดดอกเบี้ย ทำให้หุ้นที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยถูกขายทำกำไร แต่ตลาดหุ้นสหรัฐ earning ค่อนข้างดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้

ขณะที่การประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไทย earning ยังมีทิศทางต่ำกว่าคาดอยู่ ทำให้นักลงทุนไม่ค่อยเก็งกำไรกับการประกาศผลประกอบการไตรมาสนี้ ต้องติดตามการประกาศผลประกอบการต่อเนื่องในสัปดาห์นี้

โดยในกรอบแนวรับ 1,380-1,385 จุด และแนวต้าน 1,405 – 1,400 จุด

ประเด็นพิจารณาการลงทุน

– ตลาดหุ้นนิวยอร์ก (12 ก.พ.) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,797.38 จุด เพิ่มขึ้น 125.69 จุด หรือ+0.33%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,021.84 จุด ลดลง 4.77 จุด หรือ -0.09% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,942.55 จุด ลดลง 48.11 จุด หรือ -0.30%

– ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดที่ระดับ 37,248.36 จุด เพิ่มขึ้น 350.94 จุด หรือ +0.95% ส่วนตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงปิดทำการในวันนี้ เนื่องในเทศกาลตรุษจีน โดยตลาดหุ้นฮ่องกงจะกลับมาเปิดการซื้อขายอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (14 ก.พ.) ส่วนตลาดหุ้นจีนปิดทำการตลอดทั้งสัปดาห์นี้

– ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (12 ก.พ.) ที่ 1,389.30 จุด เพิ่มขึ้น 0.93 จุด (+0.07%) มูลค่าการซื้อขาย 25,036.27 ล้านบาท

– นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 44.28 ล้านบาท (12 ก.พ.)

– ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.(12 ก.พ.) เพิ่มขึ้น 8 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 76.92 ดอลลาร์/บาร์เรล

– ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (12 ก.พ.) อยู่ที่ 9.70 เหรียญ/บาร์เรล

– เงินบาทเปิด 35.89 แนวโน้มแกว่ง sideway ตลาดรอลุ้นเงินเฟ้อสหรัฐในคืนนี้

– ผลศึกษา ‘ชอร์ตเซล’ ‘โปรแกรมเทรด’หุ้นไทยผ่านได้ มาตรฐานเท่าต่างประเทศ ตลท.รับข้อเสนอ 4 ด้านป้องปราบ “เน็ตเก็ตชอร์ต” ด้านวงใน เผยข้อมูลยังไม่ครอบคลุมไร้ความเห็นรายย่อย แถมโบรกเกอร์ใหญ่มีส่วนได้เสียนั่งอยู่ในบอร์ด คาดฟื้นความเชื่อมั่นยาก หากไม่มียาแรงพอ

– MSCI Rebalance รอบ ก.พ.67 หุ้นถูกคัดออกมี 3 บริษัท คือ BANPU, BJC, OSP มีผลวันที่ 1 มี.ค.67 (ราคาปิดวันที่ 29 ก.พ.)

– “เศรษฐา” แถลงความคืบหน้าแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ลั่นจะแก้หนี้ทั้งระบบให้จบในรัฐบาลนี้ เผยไกล่เกลี่ยสำเร็จ กว่า 57% มูลหนี้ลดลงกว่า 670 ล้าน กำชับ ‘คลัง-ธ.ออมสิน-ธ.ก.ส.’ดูแลลูกหนี้ที่ผ่านการไกล่เกลี่ยแล้วอย่างใกล้ชิด

– “เศรษฐา” โต้ “พิธา-ศิริกัญญา” ยันรัฐบาลมีแผนรองรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ได้เอาไข่ใส่ตะกร้าใบเดียว แย้ม 15 ก.พ. นัดถก “บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต” เคลียร์ทุกปัญหา ด้าน “สว.วันชัย” ชี้จับตาการเมืองในสภาฯ เดือน มี.ค. ขัดแย้งรุนแรง ปมรื้อคดีเก่าส่อลาม “ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ”

– “ทีดีอาร์ไอ” แนะ 4 ทางรอด ประเทศไทย รับมือความผันผวนโลก หาโอกาสจากภูมิรัฐศาสตร์ เปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ เกาะกระแสดิจิทัลเทคโนโลยี พลิกฟื้นเศรษฐกิจสร้างธุรกิจใหม่ให้ประเทศไทย หาจังหวะธุรกิจใหม่จากสังคมสีเขียวเร่งปรับตัวสู่สังคมสูงวัยแนะรัฐเก็บกระสุนรองรับวิกฤติรอบใหม่ “ภูมิธรรม” แนะปรับกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกติการะเบียบการค้าโลกใหม่

หุ้นเด่นวันนี้

– JMT (ลิเบอเรเตอร์) ราคาเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 39.00 บาท คาดกำไรสุทธิไตรมาส 4/66 ที่ 540 ล้านบาท (+16%q-q, +10%y-y) ทำได้ดีตามคาด โดยการจัดเก็บเงินสด (Cash collection) ขยายตัวดีทั้ง JMT และ JK ส่งผลให้การจัดเก็บเงินสดรวมปี 2023 ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 8,710 ล้านบาท (+36%y-y) แนวโน้ม 2567 คาดกำไรยังขยายตัว +23%y-y ขณะที่ Valuation ล่าสุด เทรดเพียง PE 13.1 เท่า หรือคิดเป็น PEG เพียง 0.6 เท่า ถือเป็นระดับที่น่าทยอยสะสม

– TU (กรุงศรี) “ซื้อ” เป้า 20 บาท มองข้ามผลขาดทุนจำนวนมากในไตรมาส 4/66 สู่แสงสว่างที่สดในปี 2567 เพราะปีนี้จะไม่มี Red Lobster คอยฉุดกำไร ส่วนระยะสั้นมี Sentiment บวกค่าเงินบาทอ่อนค่า, ต้นทุนทูน่าลดลงแตะระดับ 1,400$/ton ต่ำสุดในรอบ 2 ปี 3 เดือน

– MASTER (คิงส์ฟอร์ด) “ซื้อเก็งกำไร” ราคาเป้าหมาย IAA Consensus 78.50 บาท บริษัทรายงานกำไร 9M66 ที่ 253 ล้านบาท +14%YoY แนวโน้มผลประกอบการ 4Q66 มีทิศทางเติบโตทำจุดสูงสุดของปี หนุนจากรายได้ที่เติบโตสูงในช่วง high season ส่งผลให้ U-rate ห้องผ่าตัดใหม่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลบวกต่ออัตรากำไรขั้นต้น นอกจากนี้ยังมีการเริมรับรู้กำไรจากการเข้าลงทุนใน WIND Clinic / Rattinan Medical Center / Dr.Chen และ KIN Corp. ส่วนแนวโน้มปี 67 ผู้บริหารตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้ +20% หนุนจากการเติบโตต่อเนื่องทั้ง Organic และ Inorganic ด้วยแผนกลยุทธ์แบบ Merger and Partnership (M&P) ซึ่งช่วงท้ายปีก่อนมีการเข้าลงทุนในคลินิกเสริมความงามอีกหลายแห่งที่จะเริ่มรับรู้ส่งแบ่งกำไรเข้ามาระหว่างปีทั้ง V Square / Dr. Top Hair, TYP, CMNH 2012, BEQ และยังมองหาดีลเพิ่มเติมโดยใช้แหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสดภายในกิจการและเครื่องมือทางการเงิน รวมถึงมีแผนย้ายจาก mai เข้าไปใน SET ช่วงกลางปี 67

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (13 ก.พ. 67)

Tags: , ,
Back to Top