เงินบาทเปิด 35.52 แนวโน้มผันผวน จับตามุมมองเศรษฐกิจ-สัญญาณดอกเบี้ยกนง.บ่ายนี้

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.52 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดวันก่อนที่ 35.67 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเช้านี้แข็งค่า เนื่องจากเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับบรรดาสกุลเงินหลัก ตามการปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ หลังตลาดยังคาดหวังการทยอยลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ราว 5 ครั้งในปีนี้

สำหรับวันนี้ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งคาดว่า กนง. อาจมีมติคงอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% และควรจับตาการปรับเปลี่ยนมุมมองของ กนง. ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ การส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการ เงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น รวมถึงการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจ (ถ้ามี)

“ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุม กนง. ประเมินว่า ค่าเงินบาทเสี่ยงผันผวนอ่อนค่าเร็ว และ แรง หาก กนง. มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ในการคงอัตราดอกเบี้ย หรือ กนง. ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมาก ขึ้น ซึ่งอาจเห็นการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยให้แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ”

นายพูน ระบุ นายพูน ประเมินกรอบเงินบาทวันนี้ในช่วง 35.40-35.75 บาท/ดอลลาร์ หลังทยอยรับรู้ผลการประชุม กนง.

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 147.82 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นที่ระดับ 148.64 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0759 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นที่ระดับ 1.0732 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.716 บาท/ดอลลาร์

– คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการประชุมนัดแรกของปีนี้ในช่วงบ่ายวันนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ตลาดคาดการณ์ว่า กน ง.จะยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% แต่ต้องจับตาไปที่การให้ความเห็นต่อทิศทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจมีการปรับลดประมาณการ GDP ในรอบนี้ รวมถึงดูว่าจะมีการส่งสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยในระยะต่อไปอย่างไร

– นายกฯ ส่งสัญญาณแรงขอให้ กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25% หนุนรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ “พิพัฒน์” ชี้อำนาจตัดสินใจ อยู่ที่ กน ง.ไม่ใช้ฝ่ายการเมือง คาดยังคงดอกเบี้ย จนกว่าภาพเศรษฐกิจชัดเจน เพื่อเปิดทางลดดอกเบี้ยในครั้งต่อไป “อมรเทพ” ชี้เศรษฐกิจวิกฤติ บางจุดต้องแก้ด้วยมาตรการทางการคลัง ลดดอกเบี้ยแก้ปัญหาไม่ตรงจุด “อัทธ์” หนุนลดดอกเบี้ยกระตุ้นการลงทุนเพิ่มการใช้จ่าย

– นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยถึงบรรยากาศซื้อขายทองคำในช่วงเทศกาลตรุษจีนว่า ผู้ค้าคาดหวังว่าตรุษจีนปีนี้ จะดีกว่า ก่อน เนื่องจากปีนี้การจัดกิจกรรมและการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลต่อความสนใจการเข้าร้านทองมากขึ้น แต่เป็นการซื้อแบบ กระจายตัวไม่เน้นที่จะมาซื้อในย่านเยาวราชเหมือนในอดีต และผู้บริหารรุ่นใหม่ หรือเจ้าของธุรกิจไม่ได้เน้นการใช้ทองเป็น อั่งเปาเหมือน ในอดีต อาจเพราะราคาทองคำสูงต่อเนื่อง ยิ่งในปีนี้ คาดว่าราคาทองคำ มีโอกาสที่จะทำราคาสูงสุด (นิวไฮ) อีกครั้ง คาดช่วงก่อน สงกรานต์ หลังจากราคานิวไฮแตะ 34,450 บาท ต่อ 1 บาททองคำ ซึ่งในสัปดาห์นี้ราคาทอง ยังเคลื่อนไหวระดับ 34,300 บาท

– รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จำนวนนักท่องเที่ยว เบื้องต้น พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 4 กุมภาพันธ์ 2567 นักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยแตะ 3 ล้านคน ซึ่งเป็นทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวตลาดระยะใกล้ และตลาดระยะไกลกลับมาฟื้นตัว

– สรท.ห่วงหลายปัจจัยยังรุมเร้า ภาคเอกชนเฝ้าระวังสถานการณ์ส่งออกปี 67 ชี้ผันผวนและคาดเดายาก จับตาวิกฤตทะเล แดง-ดอกเบี้ยสูงทุบเศรษฐกิจพัก ตั้งเป้าทั้งปีโต 1-2%

– ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (6 ก. พ.) โดยดอลลาร์ปรับตัวลงตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ชะลอตัวลง ขณะที่นักลงทุนจับตาการแสดงความเห็นของเจ้าหน้าที่ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (6 ก.พ.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และการชะลอตัว ลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการแสดงความเห็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

– นักลงทุนจับตาการแสดงความเห็นของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ เฟด ล่าสุด ประธานเฟดสาขามินนีแอโพลิสกล่าวว่า ภารกิจด้านการควบคุมเงินเฟ้อของเฟดยังไม่เสร็จสิ้น แม้มองว่าข้อมูลในช่วงเวลา 3- 6 เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อได้ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วก็ตาม

ขณะที่ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์กล่าวว่า หากเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในทิศทางที่คาดการณ์ไว้ ก็อาจเปิดทางให้มีการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ย แต่ยังไม่พร้อมที่จะระบุช่วงเวลาของการผ่อนคลายนโยบายการเงิน เนื่องจากเงินเฟ้อยังคงมีความไม่แน่นอน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (07 ก.พ. 67)

Tags: , ,
Back to Top