คมนาคม ประกาศเข็น 150 โครงการปี 67-68 วงเงินลงทุนกว่า 6.5 แสนล้าน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า จากที่ได้ดำเนินการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมเพื่อความอุดมสุขของประชาชน” ปี 67-68 มีเป้าหมายผลักดันทุกโครงการให้เป็นรูปธรรม รวมถึงจัดทำแผนเพิ่มเติม สอดรับกับกรอบนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

ภาพรวมการลงทุนด้านคมนาคมในปี 67-68 มีจำนวนโครงการรวมทั้งสิ้น 150 โครงการ แบ่งเป็น โครงการที่จะเปิดให้บริการภายในปี 67 จำนวน 64 โครงการ และโครงการที่จะเริ่มก่อสร้างอีก 31 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 389,750 ล้านบาท

ขณะที่ปี 68 จะมีโครงการใหม่อีก 57 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 263,016 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าลงทุนสูงเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 13 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 254,183 ล้านบาท

 

โครงการเร่งด่วนปี 67 จำนวน 13 โครงการ รวมมูลค่าลงทุน 254,183 ล้านบาท ดังนี้

 

– มอเตอร์เวย์ M9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ตอนบางบัวทอง – บางปะอิน

– มอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยาย M7 เชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา

– ทางพิเศษฉลองรัช ส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ – ลำลูกกา)

– ทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ตอนกะทู้ – ป่าตอง

– รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มธ. ศูนย์รังสิต

– รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา

– รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช

– รถไฟทางคู่ ช่วง ชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี

– ก่อสร้างส่วนต่อขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้านทิศตะวันออก

นายสุริยะ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมคาดจะนำโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง 3 โครงการ (Missing Link) ต่อขยายจากรถไฟสายสีแดง น่าจะเสนอภายในเดือน ก.พ.นี้

ขณะที่โครงการที่ประมูลแบบ PPP ซึ่งผ่านบอร์ด PPP แล้วคาดเสนอครม.อนุมัติก่อน และจะเปิดประมูลในปี 67 ได้แก่ มอเตอร์เวย์ M5 ส่วนต่อขยายอุตราภิมุข ตอนรังสิต-บางปะอิน วงเงิน 31,358 ล้านบาท , มอเตอร์เวย์ M9 สายวงแหวนรอบนอก กทม. ตอนบางขุนเทียน-บางบัวทอง วงเงิน 56,035 ลเนาบาท และมอเตอร์เวย์ M9 สายวงแหวนรอบนอก กทม. ตอนบางขุนเทียน-บางปะอิน วงเงิน 15,260 ล้านบาท

 

โครงการใหม่ปี 67 จำนวน 31 โครงการ

– ทางถนน 13 โครงการ

1.มอเตอร์เวย์ M5 ส่วนต่อขยายอุตราภิมุข ตอนรังสิต-บางปะอิน วงเงิน 31,358 ลบ.

2. มอเตอร์เวย์ M7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 4,508 ลบ.

3.มอเตอร์เวย์ M9 สายวงแหวนรอบนอก กทม. ตอนบางขุนเทียน-บางบัวทอง วงเงิน 56,035 ลบ.

4.มอเตอร์เวย์ M9 สายวงแหวนรอบนอก กทม. ตอนบางขุนเทียน-บางปะอิน วงเงิน 15,260 ลบ.

5.ทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ลำลูกกา) วงเงิน 24,060 ลบ.

6.ทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ตอนกระทู้-ป่าตอง วงเงิน 16,494 ลบ.

7.ทางพิเศษขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2(ประเสริฐมนูกิจ-วงแหวนรอบนอกฯตะวันออก) วงเงิน13,300 ลบ.

8.Service Center สรีราชา บน M7ช่วงชลบุรี-พัทยา วงเงิน 1,010 ลบ.

9.Service Center บางละมุง บน M7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด วงเงิน 850 ลบ.

10.ที่พักริมทางในเขตทางพิเศษบริเวณบางโปรง วงเงิน 628 ลบ.

11.ที่พักริมทางในเขตทางพิเศษบริเวณข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต วงเงิน 707 ลบ.

12.ขยายช่องจราจร ทล.4027ช่วงบ่าย.พารา-บ.เมืองใหม่ จ.ภูเก็ต วงเงิน2,425 ลบ.

13.ทางแนวใหม่ ช่วงบ.เมืองใหม่-สามแยกเข้าสนามบินภูเก็ต(ทางเลี่ยงเมือง)จ.ภูเก็ต วงเงิน 2,600 ลบ.

 

– ทางบก (8 โครงการ)

14.ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย วงเงิน 2,887 ลบ.

15.พัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าทางถนน Transport Management System (TMS) วงเงิน 67 ลบ.

16.พัฒนาระบบการควบคุมกำกับดูแลการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนน วงเงิน 30 ลบ.

17.ยกระดับมาตรฐานการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Logistics) วงเงิน 25 ลบ.

18.แผนการต่ออายุใบอนุญาตขับรถออนไลน์ วงเงิน 5.5 ลบ.

19.โครงการพัฒนาระบบการออกใบอนุญาตขับรถเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ภาครัฐรองรับการพัฒนาไปสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัล วงเงิน 212 ลบ.

20.การผลักดันรถโดยสารพลังงานสะอาด (ขสมก.) วงเงิน 29,236 ลบ.

21. การผลักดันรถโดยสารพลังงานสะอาด (บขส) วงเงิน 368 ลบ.

 

– ทางราง (6 โครงการ)

22.รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วงเงิน 11,713 ลบ.

23.รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต- มธ.ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,468 ลบ.

24. รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน- ศาลายา วงเงิน 10,670 ลบ.

25. รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน- ศิริราช วงเงิน 4,616 ลบ.

26. รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ- พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดง เข้ม ช่วงบางซื่อ- หัวลำโพง วงเงิน 34,950 ลบ.

27.พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง (ที่พักผู้โดยสารสถานีคลองบางไผ่ ทางออก2) วงเงิน 5 ลบ.

  • ทางน้ำ 2 โครงการ

28.ศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 2 วงเงิน 913 ลบ.

29.พัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง วงเงิน 267 ลบ.

 

– ทางอากาศ (2 โครงการ)

30.ก่อสร้างส่วนต่อขยายสุวรรณภูมิ ด้านทิศตะวันออก วงเงิน 9,000 ลบ.

31.ก่อสร้างขยายทางขับและลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช วงเงิน 500 ลบ.

 

โครงการคาดจะเปิดให้บริการปี 67

ทางถนนจำนวน 18 โครงการ อาทิ มอเตอร์เวย์ M81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี, มอเตอร์เวย์ M6 สายบางปะอิน – นครราชสีมา, สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ – บอลิคำไซ) จ.บึงกาฬ เป็นต้น

ทางราง จำนวน 9 โครงการ อาทิ รถไฟทางคู่ ช่วง นครปฐม – หัวหิน, รถไฟทางคู่ ช่วง หัวหิน- ประจวบคีรีขันธ์ , รถไฟทางคู่ ช่วง ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร พร้อม เร่งผลักดัน พ.ร.บ. การขนส่งทางรางให้สามารถประกาศใช้ได้ในปี 67

ทางอากาศ จำนวน 18 โครงการ อาทิ ทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ,อาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานตรัง ,อาคารที่พักผู้โดยสารหลังที่ 3 พร้อมอาคารจอดรถยนต์ท่าอากาศยานกระบี่

ทางบก จำนวน 11 โครงการ เช่น การพัฒนาระบบการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (Feeder) ของ ขบ. จำนวน 29 เส้นทาง และ ของ บขส. จำนวน 21 เส้นทาง เป็นต้น

ทางน้ำ จำนวน 8 โครงการ เช่น พัฒนาท่าเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยา (Smart Pier) จำนวน 4 ท่า ได้แก่ ท่าเรือพระราม 7 ท่าเรือปากเกร็ด จ.นนทบุรี ท่าเรือพระปิ่นเกล้า ท่าเรือพระราม 5

 

ปี 68 Mega Projects เกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 13 โครงการ

 

ทางถนน

– โครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านทิศใต้

– โครงการทางแยกต่างระดับสันป่าตอง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

– โครงการพัฒนาถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ 3 (ทล.121)

– โครงการต่อเชื่อมถนนนครอินทร์ – ศาลายา

ทางบก

– โครงการสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทางราง

– แผนการจัดหารถจักรและล้อเลื่อนเพื่อรองรับรถไฟทางคู่

ทางน้ำ

-ขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำเศรษฐกิจ จำนวน 10 แห่ง

ทางอากาศ

-โครงการก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง ขยายทางขับ ลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน และองค์ประกอบอื่น ๆ ของท่าอากาศยานชุมพร

 

นายสุริยะ กล่าวว่า ในปี 68 จะเร่งลงทุนโครงการฯ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบราง และโครงการตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงโครงการแก้ปัญหา Missing Link และโครงการเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง ลดอุบัติเหตุในการขนส่ง ได้แก่ มิติระบบราง จะเร่งลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ตามกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน (Timeline) ดังนี้

-เร่งลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2565-2569) จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,479 กิโลเมตร (กม.) และเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ให้แล้วเสร็จตามแผน

ส่วนนโยบาย Visa Free ของรัฐบาล คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยจำนวนมากนั้น ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา Gateway ทางอากาศ โดยมีโครงการ Quick Win ในด้านการพัฒนาปรับปรุงอาคาร ท่าอากาศยาน ให้มีความสะอาด ปลอดภัย สร้างความสะดวก ให้กับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอาคารผู้โดยสาร และทางวิ่ง (Runway) ให้สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (31 ม.ค. 67)

Tags: , , , ,
Back to Top