สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนธ.ค. 66 ว่า ในภาคเหนือ และภาคกลางมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม การลงทุนยังชะลอตัวในหลายภูมิภาค
ภาคเหนือ
ปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัว 7.1% 10.9% และ 6.1% ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว -8.1% ต่อปี แต่ขยายตัว 1.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 62.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 61.5
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมีมูลค่า 518.7 ล้านบาท ขยายตัว 279.1% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานกะเทาะเปลือกกาแฟและกะลา ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 96.9
ภาคกลาง
ปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 17.3% ต่อปี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 60.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.1
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 18.5% ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว -4.2% ต่อปี แต่ขยายตัว 5.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมีมูลค่า 5,690.5 ล้านบาท ขยายตัว 423.1% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตกระป๋อง และขวดอลูมิเนียม ในจังหวัดสระบุรี เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 87.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 91.8
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัว 15.9% และ 2.0% ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 64.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 63.5
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว -4.4% ต่อปี แต่ขยายตัว 7.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ส่วนเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมีมูลค่า 3,815.4 ล้านบาท ขยายตัว 151.2% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตน้ำตาลทรายดิบ และน้ำตาลทรายขาว ในจังหวัดชัยภูมิ เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 83.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 87.1
ภาคตะวันตก
ปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัว 10.0% และ 3.3% ต่อปี ตามลำดับ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 60.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.1
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 87.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 91.8
ภาคใต้
ปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 7.8% ต่อปี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว และรายได้เกษตรกรชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 58.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.8
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมีมูลค่า 783.4 ล้านบาท ขยายตัว 149.5% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ในจังหวัดระนอง เป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.1
กทม. และปริมณฑล
ปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว -2.3% ต่อปี แต่ขยายตัว 2.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 61.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.7
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมีมูลค่า 2,567.0 ล้านบาท ขยายตัว 38.8% ต่อปี เป็นการลงทุนในโรงงานผลิตน้ำดื่ม และผลิตขวดพลาสติก ในจังหวัดนนทบุรี เป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 87.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 91.8
ภาคตะวันออก
ปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรชะลอตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 64.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 63.4
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 87.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 86.3
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (29 ม.ค. 67)
Tags: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, เศรษฐกิจภูมิภาค, เศรษฐกิจไทย