สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA รายงานว่า เมื่อเวลา 8.00 น. พบ จังหวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เกินมาตรฐาน
-ระดับสีแดง หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพ 4 จังหวัด ได้แก่ 1. สมุทรสงคราม 108 ไมโครกรัม 2. สมุทรสาคร 101.2 ไมโครกรัม 3. ราชบุรี 87.2 ไมโครกรัม และ 4. เพชรบุรี 77.6 ไมโครกรัม
-ระดับสีส้ม 22 จังหวัด โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. สมุทรปราการ 75 ไมโครกรัม 2. นครปฐม 74.9 ไมโครกรัม และ 3. นนทบุรี 70.7 ไมโครกรัม
– กรุงเทพมหานคร (กทม.) พบค่า PM 2.5 ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีแดง จำนวน 5 เขต คือ 1. หนองแขม 83.8 ไมโครกรัม ตามด้วย 2. พระโขนง 83.6 ไมโครกรัม 3. บางนา 78.7 ไมโครกรัม 4. ดอนเมือง 78.6 ไมโครกรัม และ 5. หลักสี่ 75.2 ไมโครกรัม ในส่วนของอีก 45 เขตที่เหลือ พบคุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีส้ม โดย 3 อันดับ คือ 1. ทวีวัฒนา 73.6 ไมโครกรัม 2. บางขุนเทียน 72.7 ไมโครกรัม และ 3. บางแค 71.5 ไมโครกรัม
ทั้งนี้ จากข้อมูลจุดความร้อนที่รายงานโดย GISTDA เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 67 พบจุดความร้อนทั้งประเทศ 238 จุด ส่วนใหญ่พบในพื้นที่เกษตร 99 จุด ตามด้วยพื้นที่เขตสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) 54 จุด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 42 จุด ชุมชนและอื่นๆ 18 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 17 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 8 จุด โดยจังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนสูงสุด 3 อันดับแรก คือ 1. ชัยภูมิ 27 จุด 2. ลพบุรี 25 จุด และ 3. นครราชสีมา 24 จุด
นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านที่พบจุดความร้อน มากสุดอยู่ที่กัมพูชา 2,048 จุด ตามด้วยพม่า 239 จุด ลาว 139 จุด และ เวียดนาม 40 จุด
ดังนั้น ประชาชนควรสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจตามมาโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (15 ม.ค. 67)
Tags: GISTDA, กทม., ฝุ่น PM 2.5, ฝุ่นละออง