PM2.5 กทม.เช้านี้ เกินมาตรฐาน 15 พื้นที่ อากาศปิดตลอดสัปดาห์

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่า PM 2.5 ได้ในช่วง 22.0-47.9 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 15 พื้นที่ คือ

1. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 47.9 มคก./ลบ.ม.

2. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 41.7 มคก./ลบ.ม.

3. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 41.5 มคก./ลบ.ม.

4. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 41.4 มคก./ลบ.ม.

5. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 40.7 มคก./ลบ.ม.

6. เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 40.6 มคก./ลบ.ม.

7. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 40.3 มคก./ลบ.ม.

8. เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 40.0 มคก./ลบ.ม.

9. เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 39.9 มคก./ลบ.ม.

10. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 39.9 มคก./ลบ.ม.

11. เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 39.4 มคก./ลบ.ม.

12. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 39.4 มคก./ลบ.ม.

13. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 39.0 มคก./ลบ.ม.

14. เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 39.0 มคก./ลบ.ม.

15. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 38.5 มคก./ลบ.มี

ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 13-20 ธ.ค. 66 การระบายอากาศไม่ดีถึงอ่อน (ยกเว้นวันที่ 20 ธ.ค. 66 การระบายอากาศดี) ประกอบกับสภาวะใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิด จึงคาดว่าจะทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และคาดการณ์วันนี้มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนตกเล็กน้อยบางแห่ง

สำหรับคุณภาพอากาศระดับสีส้ม ถือว่าเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทั่วไป ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรม หรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก และควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ส่วนประชาชนกลุ่มเสี่ยง ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (14 ธ.ค. 66)

Tags: , , , ,
Back to Top