เงินบาทเปิด 35.48 แนวโน้มอ่อนค่า หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐสูงหนุนดอลลาร์แข็งค่า

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.48 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าต่อ เนื่องจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.46 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัว แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ตามทิศทางบอนด์ยีลด์ที่สูงขึ้น

เงินบาทได้รับปัจจัยกดดันให้อ่อนค่าจากการนำเข้าน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งไม่ได้มาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น แต่มา จากรัสเซียและซาอุดิอาระเบียได้ประกาศลดกำลังการผลิต อีกทั้งมีแรงขายบาทจากผู้นำเข้าทองคำหลังราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลด ลง 14 ดอลลาร์/ออนซ์

“บาทน่าจะแกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่าตามแรงขาย แต่ระหว่างวันอาจมีการพักรอ เนื่องจากบาทอ่อนค่าขึ้นมามากแล้ว” นัก บริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.30 – 35.60 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.64 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 146.57 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0718 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0790 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.408 บาท/ดอลลาร์

– ‘พาณิชย์’ วิเคราะห์เงินเฟ้อรอบใหม่ เพิ่มน้ำหนัก ‘รัฐบาลใหม่แถลงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ’ ผ่านมาตรการลดค่า พลังงาน ค่าครองชีพ แต่อัดเงินดิจิทัล ชี้โอกาสทั้งเพิ่มและกดอัตราเฟ้อ เล็งทบทวนคาดการณ์ 1.5% อีกครั้งเดือนตุลาคมนี้

– “ธปท.” จ่อหั่นจีดีพี-เงินเฟ้อปี 2566 หลังรายได้ภาคท่องเที่ยววืด ส่งออกยังโคม่า พร้อมส่งสัญญาณถอนคันเร่งนโยบาย การเงิน ชี้ดอกเบี้ยต้องเข้าสู่จุดสมดุลระยะยาว หลังบริบทเศรษฐกิจเปลี่ยน ด้าน “ฟิทช์ เรตติ้ง” ห่วงจัดตั้งรัฐบาลผสมทำงบปี 2567 ซับ ซ้อน-ล่าช้า

– นายกฯ เศรษฐามั่นใจแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตคนละ 1 หมื่นบาทภายใน 1 ก.พ. หอการค้าฯมั่นใจกระตุ้นเศรษฐกิจเงินหมุน เวียนในระบบ 1.5 ล้านล้าน ดันจีดีพีปี’67 โต 5%

– ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (5 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังมี การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนและยุโรป

– สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนในวันอังคาร (5 ก.ย.) ขาน รับข่าวซาอุดีอาระเบียและรัสเซียประกาศขยายเวลาการปรับลดอุปทานน้ำมันโดยสมัครใจจนถึงสิ้นปี 2566 โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบ เดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 1.14 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 86.69 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย.65

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (5 ก.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบ แทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยฉุดตลาด

– ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เผยแบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐ ขยายตัว 5.6% ในไตรมาส 3/2566 หลังจากมีการขยายตัว 2.0% และ 2.1% ในไตรมาส 1 และ 2 ตามลำดับ

– ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในวันนี้ ได้แก่ ดุลการค้าเดือนก.ค., ดัชนีภาคบริการเดือนส.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของ สหรัฐ (ISM) และรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

– นักลงทุนจับตาดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันพุธที่ 13 ก.ย.เพื่อประเมิน ทิศทางอัตราดอกเบี้ย ก่อนที่การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีขึ้นในวันที่ 19-20 ก.ย.นี้

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (06 ก.ย. 66)

Tags: ,
Back to Top