ทันทีที่พรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ที่ชื่อ”เศรษฐา ทวีสิน” นโยบายสุดฮอตของพรรคเพื่อไทย คือ”เงินดิจิทัล 10,000 บาท” กลายเป็นที่จับตาของประชาชนที่ต่างเฝ้ารอว่าจะจ่ายเมื่อไหร่? จ่ายในรูปแบบไหน? ยังคงเป็นคำถามกันอยู่
และจากการให้สัมภาษณ์ของนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงิน 10,000 บาท ว่าจะมีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อความโปร่งใส และหวังต่อยอดเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินรูปแบบใหม่ในประเทศ ภายใต้เงื่อนไข
- ใช้จ่ายในรัศมี 4 กิโลเมตรตามที่อยู่ทะเบียนบ้าน (ต่างจังหวัดอาจรัศมีกว้างกว่า)
- สามารถใช้ซื้ออาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค หรือเครื่องมือทำกิน
- ไม่สามารถใช้ซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับอบายมุข ใช้หนี้ สินค้าออนไลน์ ยาเสพติดและการพนัน (อาจใช้ปลดหนี้เกี่ยวกับเกษตรหรือ กยศ. ได้ แต่ต้องหารือกันอีกที)
- สามารถใช้ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ หรือผ่านเลขบัตรประจำตัวประชาชน + โค้ดส่วนตัว/QR code
- จำกัดระยะเวลาใช้ภายใน 6 เดือน
- คนทั่วไปไม่สามารถแลกเป็นเงินสดได้ (แต่คนรับต้องมีแอปฯ รับเงินคล้ายแอปฯ ถุงเงินและอยู่ในระบบภาษีจะแลกเป็นเงินสดได้ทุกเมื่อ ซึ่งโมเดลนี้อาจเปลี่ยนได้ในอนาคต)
แต่เงินดิจิทัล 10,000 นี้ จะจ่ายในรูปแบบไหน? เป็นโทเคน? ผ่านแอปพลิเคชันอะไร? จะเป็นชนวนระเบิดของภาวะเงินเฟ้อหรือไม่ หรือจะสร้างผลกระทบต่อตลาดการเงินอย่างไร วันนี้ไปหาคำตอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน อ. ตั๊ม พิริยะ สัมพันธารักษ์ กรรมการบริหาร บริษัท โฉลกดอทคอม จำกัด และผู้ก่อตั้ง บริษัท ไรท์ชิฟท์ จำกัด
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 ส.ค. 66)
Tags: Cryptocurrency, HotIssue, SCOOP, คริปโทเคอร์เรนซี, บิทคอยน์, พรรคเพื่อไทย, พิริยะ สัมพันธารักษ์, เงินดิจิทัล, เผ่าภูมิ โรจนสกุล, เศรษฐา ทวีสิน, โฉลกดอทคอม, ไรท์ชิฟท์