เงินบาทเปิด 35.10 อ่อนค่าสุดรอบ 1 เดือน รับเงินไหลออก ตลาดรอดูข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐ

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.10 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.91 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยบาทได้รับปัจจัยกดดันจากการไหลออก ของเงินทุนระหว่างประเทศเพื่อนำเข้าทองคำหลังราคาในตลาดโลกลดลงราว 10 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่ยังมีความจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมัน ที่มีราคาสูงขึ้น ขณะที่ตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.ค.ของสหรัฐฯ ที่จะประกาศคืนนี้ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.3%

“บาทอ่อนค่าจากเย็นวานนี้ลงมามากเกือบ 20 สตางค์ อ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือน จากแรงกดดันในการนำเข้าทองคำและ น้ำมัน”

นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.95 – 35.25 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ 143.83 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 143.28 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ 1.0967 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0979 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.951 บาท/ดอลลาร์

– ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. ประเมินสถานการณ์การเดินทางท่องเที่ยวภายใน ประเทศของชาวไทยในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวระหว่างวันที่ 12-14 ส.ค.นี้ คาดว่าจะมีคนไทยท่องเที่ยวในประเทศประมาณ 2.60 ล้าน คนครั้ง สร้างรายได้หมุนเวียน 8,760 ล้านบาท โดยบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยวชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน รวมถึงวัน หยุดยาว 6 วัน ก่อนหน้านี้คนไทยได้เดินทางท่องเที่ยว และยังมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมันที่ยังแพงอยู่ ขณะที่ราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายและการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกการท่องเที่ยวแบบไปเช้า-เย็น กลับ ทำให้ในช่วงวันหยุดยาว 3 วันที่จะถึงนี้ ไม่คึกคักเท่าที่ควร

– “บีโอไอ” เตรียมแผนดึงลงทุนเสนอรัฐบาลใหม่ โฟกัส 5 อุตสาหกรรมอนาคต เชื่อมโยงซัพพลายเชนผู้ประกอบการใน ประเทศ หนุนตั้งศูนย์กลางธุรกิจในไทย มั่นใจโอกาสทองลงทุนไทย รับเทรนด์ย้ายฐานการผลิต แนะเร่งเตรียมความพร้อมคนและอีโคซิสเต มรับโมเมนตัมลงทุน 2-3 ปีข้างหน้า

– นักลงทุนจับตาสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในวันนี้ และ จากนั้นจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ในวันศุกร์ เพื่อประเมินว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.หรือไม่

– ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้น เดือนส.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (10 ส.ค. 66)

Tags: , ,
Back to Top