ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 มีมติ
เห็นชอบแนวทางให้ปรับ positioning เพิ่มความแตกต่างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) พร้อมยกระดับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนให้เข้มข้นขึ้นทั้งกระบวนการตามแผนกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2566-2568) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของบริษัทจดทะเบียนทั้งด้านฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งดูแลผู้ลงทุนให้ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและมีเครื่องหมายเตือนที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
โดยการยกระดับดังกล่าวยังคงคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของประเทศไทยและมาตรฐานสากล ซึ่งสรุปเกณฑ์ที่เสนอปรับปรุงพร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
การทบทวน Positioning ของ SET และ mai โดยปรับปรุงคุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียน เพื่อยกระดับบริษัทจด
ทะเบียนใน SET และ mai สรุปข้อเสนอปรับปรุง ดังนี้
SET | mai | |
---|---|---|
1) ผลการดำเนินงาน: เพิ่มกำไร | ปีล่าสุด 75 ล้านบาท รวม 2-3 ปี 125 ล้านบาท | ปีล่าสุด 25 ล้านบาท รวม 2-3 ปี 40 ล้านบาท |
2) ฐานะการเงิน: เพิ่ม Equity | 800 ล้านบาท | 100 ล้านบาท |
3) ปรับลด Paid-up Capital สำหรับ SET | 50 ล้านบาท | 50 ล้านบาท |
4) เพิ่ม %Free Float สำหรับ บ.ขนาดเล็ก | 30% สำหรับ บ.ที่มี Paid-up | < 300 ล้านบาท |
5) เพิ่ม %Public Offering สำหรับ บ.ขนาดเล็ก | 20% สำหรับ บ.ที่มี Paid-up | < 300 ล้านบาท |
การยกระดับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนและยกระดับการเตือนผู้ลงทุน โดยเพิ่มการเตือนผู้ลงทุนด้วยเครื่องหมาย “C”
(Caution) และเพิ่มความเข้มงวดในการเพิกถอนบริษัทที่มีปัญหา ดังนี้
SET | mai | |
---|---|---|
1) เพิ่มเงื่อนไขกรณี บ. มีรายได้ดำเนินงาน | ขึ้น C เมื่อ < 100 ล้านบาท (งบปี) เพิกถอนเมื่อ < 100 ล้านบาท (งบปี 3 ปีติดต่อกัน) | ขึ้น C เมื่อ < 50 ล้านบาท (งบปี) เพิกถอนเมื่อ < 50 ล้านบาท (งบปี 3 ปีติดต่อกัน) |
2) เพิ่มเงื่อนไขกรณี บ. มีขาดทุนต่อเนื่อง | ขึ้น C เมื่อขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี และมี Equity / Paid-up Capital < 100% | ขึ้น C เมื่อขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี และมี Equity / Paid-up Capital < 100% |
3) เพิ่มเงื่อนไขกรณีมี Event of Default | ขึ้น C เมื่อผิดนัดชำระหนี้สถาบันการเงิน / ตราสารหนี้ | ขึ้น C เมื่อผิดนัดชำระหนี้สถาบันการเงิน / ตราสารหนี้ |
4) ปรับเงื่อนไขกรณีผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น | ขึ้น C เมื่อผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นทุกกรณี (จากปัจจุบันขึ้น C เมื่อผู้สอบบัญชีไม่ แสดงความเห็นเนื่องจากถูกจำกัดขอบเขตการสอบทานหรือตรวจสอบ) | ขึ้น C เมื่อผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นทุกกรณี (จากปัจจุบันขึ้น C เมื่อผู้สอบบัญชีไม่ แสดงความเห็นเนื่องจากถูกจำกัดขอบเขตการสอบทานหรือตรวจสอบ) |
5) ยกระดับการดำเนินการกรณี Free Float ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ | ขึ้น C เมื่อมี Free Float ไม่ครบเป็นปีที่ 1 และเปลี่ยนเป็น SP หากบริษัทมี Free Float ไม่ครบเป็นปีที่ 2 (ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมส่วนเพิ่มและการประกาศรายชื่อ) | ขึ้น C เมื่อมี Free Float ไม่ครบเป็นปีที่ 1 และเปลี่ยนเป็น SP หากบริษัทมี Free Float ไม่ครบเป็นปีที่ 2 (ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมส่วนเพิ่มและการประกาศรายชื่อ) |
6) ปรับกระบวนการ Backdoor Listing | ทำได้เฉพาะเกณฑ์ Profit, Infrastructure โดย ก.ล.ต. ร่วมพิจารณาคุณสมบัติเช่นเดียวกับกรณี IPO | ทำได้เฉพาะเกณฑ์ Profit, Infrastructure โดย ก.ล.ต. ร่วมพิจารณาคุณสมบัติเช่นเดียวกับกรณี IPO |
การปรับปรุงเกณฑ์ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงการยกเลิกและปรับปรุงเกณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพ การณ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปัจจุบัน
ตลท.จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นพร้อมรายละเอียดบนเว็บไซต์ตลาด หลักทรัพย์ฯ หัวข้อ “การทบทวน Positioning ของ SET และ mai และการยกระดับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน” เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจแสดงความคิดเห็นได้ที่ https://forms.gle/HRANuEWFacbnzA9d6 จนถึง 4 กันยายน 2566
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04 ส.ค. 66)
Tags: positioning, SET, ตลท., ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย