รายงานข่าวเปิดเผยว่า การประชุม คณะกรรมการบมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT ) หรือ ทอท.ครั้งที่ 9/2566 วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 โดยมีนายสราวุธ ทรงศิวิไล เป็นประธาน ได้มีมติแต่งตั้ง โยกย้าย พนักงาน ทอท. ระดับสูง จำนวน 27 คน ซึ่ง มีรายชื่อ นายการันต์ ธนกุลจีรพัฒน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง ถูกโยกย้ายไป เป็นที่ปรึกษา ทอท. และโยกย้ายนายวิจิตต์ แก้วไทรเทียม ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง แทน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 เป็นต้นไป
รายงานข่าวแจ้งว่า ปกติ AOT จะมีการแต่งตั้งโยกย้ายปีละ 2 ครั้ง คือช่วงเดือน เม.ย.และช่วงเดือน ก.ย. ซึ่งครั้งนี้ เร็วกว่าปกติ เนื่องจาก มีประเด็นอุบัติเหตุทางเดินเลื่อนที่สนามบินดอนเมืองจนทำให้ผู้โดยสารขาขาด ซึ่งมีผลสอบสวนข้อเท็จจริงออกมาพอดี และต้องการปรับเปลี่ยนตำแหน่งผู้บริหารให้เรียบร้อยก่อนมีรัฐบาลชุดใหม่
โดยนายการันต์ ธนกุลจีรพัฒน์ เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 โดยก่อนหน้านั้น ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่(สายสนับสนุนธุรกิจ) ระดับ 10 ซึ่ง เป็นผู้ที่ถูกจับตาว่า ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง อย่างรวดเร็ว ช่วง4-5 ปี ที่ผ่านมา
โดยคำสั่งทอท.ที่ 1015/2566 เรื่องแต่งตั้งพนักงาน ทอท.ระดับ 10-11 จำนวน 27 ตำแหน่ง ดังนี้
1.นางฉฎาณิศา ชำนาญเวช ตำแหน่ง รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานท่าอากาศยานภูมิภาค) (ระดับ 11) ไปดำรงตำแหน่ง รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานทรัพยากรบุคคลและอำนวยการ)(ระดับ 11)
2.นางสาวปวีณา จริยฐิติพงศ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด) (ระตับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง) (ระดับ 11)
3.นายสมภพ ภาคสรรค์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานมาตรฐานท่าอากาศยานและการบิน) (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานท่าอากาศยาน)
4.นายวิจิตต์ แก้วไทรเทียม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ระดับ 11) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยท่าอากาศยานดอนเมือง (ระดับ 11)
5.น.ท.รณกร เฉลิมแสนยากร ตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ระตับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ระดับ 11)
6.นายการันต์ ธนกุลจีรพัฒน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง (ระดับ 11) ไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา 11 ทอท.
7.นางสาวผานิต เสถียรเสพย์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานทรัพยากรบุคคลและอำนวยการ) (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ระดับ 10)
8.นางศรัญญา บุณยวัทน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักกิจการต่างประเทศ (ระดับ 10) ไปตำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานยุทธศาสตร์) (ระดับ 10)
9.นางลัชชิตา อาภาพันธุ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานยุทธศาสตร์)(ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักกิจการต่างประเทศ (ระดับ 10)
10.นายรัชชาณล กิตติพัทธ์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(สายปฏิบัติการ 2 (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานทรัพยากรบุคคลและอำนวยการ) (ระดับ 10)
11.นายสุทัศน์ สุวรรณผ่องใส ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง(สายสนับสนุนธุรกิจ) (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด) (ระดับ 10)
12.นางสาวสุขศรี เหลืองอร่าม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายมาตรฐานและควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัยกิจการการบิน (ระดับ 9) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานมาตรฐานทำอากาศยานและการบิน) (ระดับ 10)
13.นางปาณิศา ธนกุลจีรพัฒน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานท่าอากาศยานภูมิภาค) (ระดับ 10)
14.นายชูวิทย์ พันธุ์เณร ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ด้านสนับสนุนธุรกิจ) (ระตับ 9) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ระดับ 10)
15.นายเอกภาพ บริสุทธิ์ ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ 9 ทสภ. ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายปฏิบัติการ 1) (ระดับ 10)
16.นางกรรณิการ์ เปรมประเสริฐ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายบริการลูกค้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ระดับ 9 ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายปฏิบัติการ 2) (ระดับ 10)
17.นางสาวณิชนันทน์ ยุ่นสมาน ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ 10 ทอท. ไปดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง (สายสนับสนุนธุรกิจ) (ระดับ 10)
18.ร.อ.ปกป้อง สุวรรณโมฬี ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายปฏิบัติการ 1) (ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง (สายปฏิบัติการ) (ระดับ 10)
19.นายภิเษก ชยาภิวุฒ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการก่อสร้าง สำนักงานวิศวกรรมโครงการ (ระดับ 9) ไปดำรงตำหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง (สายบำรุงรักษา) (ระดับ 10)
20.นางเปมิกา สีสาคูคาม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต(ระดับ 9) ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต (สายสนับสนุนธุรกิจ) (ระดับ 10)
21.นายจีรัฐติกุล เอี่ยมหิรัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตการบิน ท่าอากาศยานภูเก็ต (ระดับ 9) ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต (สายปฏิบัติการ) (ระดับ 10)
22.นายวิสูตร คำยอด ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ 10 ทอท. ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
23.นายจักรภพ จรัสศรี ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ้ายสิ่งแวดล้อม (ระตับ 9) ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา 10 ทอท.
24.นางอโนชา พลินสุต ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการท่าอากาศยานภูมิภาค (ระดับ 9)ไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา 10 ทอท.
25.นายเดชฤทธิ์ ขุนน้อย ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง (สายบำรุงรักษา)(ระดับ 10) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวซาญ 10 ทอท.
26.นายสมชาย คำบำรุง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายระบบสารสนเทศ (ระดับ 9)ไปดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญ 10 ทอท.
27.นางอิฎธิมา แก้วเขียว ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายพัสดุ (ระดับ 9) ไปดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ 10 ทอท. และรักษาการ ผู้อำนวยการฝ่ายพัสดุ
ทั้งนี้ ลำดับที่ 15 และ18 ตั้งแต่ 18 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป นอกนั้น ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566
นอกจากนั้นยังมีการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารระดับ 9 อีก จำนวน 41 ตำแหน่งด้วย
*ผลสอบทางเลื่อนดอนเมืองพบอุปกรณ์ชำรุด
นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ (AOT) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่ผู้โดยสารประสบอุบัติเหตุเท้าติดทางเลื่อน บริเวณทางเดิน South Corridor ระหว่าง Pier 4-5 ของอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ อาคาร 2 ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) เมื่อเวลาประมาณ 08.21 น.ของวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ซึ่งทีมแพทย์ประจำ ทดม.ได้เข้าดูแลพร้อมนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วนในทันที และ AOT ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีอุบัติเหตุบริเวณทางเลื่อนของอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ อาคาร 2 ท่าอากาศยานดอนเมืองที่มีเรืออากาศเอก ธรรมาวุธ นนทรีย์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานมาตรฐานท่าอากาศยานและการบิน) AOT เป็นประธานกรรมการฯ
นายกีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะเวลา 22 วันของการดำเนินการ คณะกรรมการฯ ได้จัดการประชุมเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และได้ดำเนินการในด้านต่างๆ ได้แก่ (1) การสอบประวัติทางเลื่อนที่เกิดเหตุ (2) การรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ข้อกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง (3) การสำรวจพื้นที่ (4) การตรวจสอบด้านวิศวกรรมเครื่องกล อุปกรณ์ และระบบความปลอดภัย (5) การตรวจสอบข้อมูลจากการให้ถ้อยคำของผู้เกี่ยวข้อง (6) การตรวจสอบการบำรุงรักษาตามสัญญาจ้าง และสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (7) การทดสอบต่างๆ เพื่อพิสูจน์สมมติฐาน (ถ้ามี) (8) การตั้งสมมติฐาน และ (9) การสรุปสาเหตุ และการถอดบทเรียน
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาพยานวัตถุจำนวน 10 รายการ พิจารณาพยานเอกสารจำนวน 23 รายการ และพิจารณาข้อมูลจากการให้ถ้อยคำของผู้เกี่ยวข้องจำนวน 34 ราย ได้ข้อสรุปสาเหตุจากพยานหลักฐานที่ปรากฏข้อเท็จจริง คือ ทางเลื่อนที่เกิดเหตุมีปัญหาที่แผ่นพื้นหลุดออกจากโครงยึดทำให้เกิดช่องว่าง ส่งผลให้ผู้โดยสารหล่นลงไปได้รับบาดเจ็บสาหัส
นายกีรติ กล่าวว่า จากการตรวจสอบและได้ข้อสรุปสาเหตุข้อเท็จจริง คณะกรรมการฯ ได้เสนอแนวทางเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้อุปกรณ์ทางเลื่อนของ ทดม. ได้แก่ การฟื้นฟูความมั่นใจในการใช้อุปกรณ์ โดยการตรวจสอบแผ่นทางเลื่อน โครงสร้างของแผ่นทางเลื่อน ทุกอุปกรณ์ โดยการจ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่สาม (Third Party) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านลิฟต์ บันไดเลื่อน และทางเลื่อนมาดำเนินการตรวจสอบและปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยตามมาตรฐาน EN115-2 ใน version ล่าสุด เช่น การติดตั้งตัวตรวจจับกรณีแผ่นทางเลื่อนหายไป การตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางเลื่อน เช่น การติดตั้งกล้อง CCTV ประจำทางเลื่อน รวมถึงจัดให้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก (External Audit) ของระบบการบำรุงรักษาของอุปกรณ์เครื่องกลของท่าอากาศยาน เพื่อให้ทราบข้อบกพร่องของการบำรุงรักษาของท่าอากาศยาน ตลอดจนการพัฒนาความรู้และความสามารถของบุคคลากรและการปรับปรุงคู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure: SOP) อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย
สำหรับการดูแลผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บ คณะผู้บริหาร AOT ได้มีการเข้าเยี่ยมและติดตามกระบวนการรักษาจากทีมแพทย์อย่างใกล้ชิด พร้อมรับผิดชอบดูแลค่ารักษาพยาบาล และจะดำเนินการเรื่องค่าชดเชยเยียวยาผู้บาดเจ็บอย่างดีที่สุด ซึ่งในกรณีดังกล่าว AOT ได้มีการทำประกันภัยความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม โดยสถานที่ที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์คือ ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ AOT ทั้ง 6 แห่ง รวมถึงสำนักงานใหญ่ สำนักโครงการและสถานที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ AOT โดยคุ้มครองค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้ให้แก่ผู้เสียหาย เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการบาดเจ็บ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สิน ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ รวมถึงค่าเสียหายอื่นๆ เป็นต้น
นายกีรติ กล่าวในตอนท้ายว่า AOT ขอแสดงความเสียใจอีกครั้งต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง และขอยืนยันว่า AOT ยึดมั่นถึงความปลอดภัยของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานเป็นหลักมาโดยตลอด โดยได้มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในท่าอากาศยานให้มีความปลอดภัยและพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญ จึงขอให้ผู้โดยสารเชื่อมั่นในการมาใช้บริการท่าอากาศยานของ AOT
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (27 ก.ค. 66)
Tags: AOT, การันต์ ธนกุลจีรพัฒน์, ท่าอากาศยานไทย, สนามบินดอนเมือง