กทม.รับรู้แรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวใน 11 เขต ไร้ความเสียหาย-ไม่กระทบโครงสร้างอาคาร

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่บริเวณนอกชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเมียนมา ขนาด 6.0 ความลึก 10 กม. เมื่อเวลา 08.40 น.นั้น แม้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ถึง 500 กม. แต่ได้รับรายงานว่าหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ มีการรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว รวมทั้งหมด 11 เขต โดยเฉพาะบนอาคารสูง เช่น เขตจตุจักร บางรัก คลองเตย ลาดพร้าว หลักสี่ ห้วยขวาง เป็นต้น แต่ไม่มีรายงานความเสียหายจากเหตุการณ์ในครั้งนี้

นายอมรเทพ จิรศักดิ์จำรูญศรี อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักวิจัยด้านแผ่นดินไหว กล่าวว่า เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนมาถึงอาคารสูงหลายแห่งในกทม.วันนี้ จากการติดตามเครื่องวัดค่าแรงสั่นสะเทือนบนอาคารสูง ซึ่งติดตั้งเครื่องวัดอยู่บนชั้น 36 อาคารธานีนพรัตน์ กทม. 2 (ดินแดง) พบว่าแรงสั่นสะเทือนดังกล่าว ไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของโครงสร้างอาคาร

ซึ่งในอนาคตหากมีการติดตั้งเครื่องนี้ในหลายอาคารสูง ก็จะทำให้ผู้ใช้อาคารสามารถรับรู้ได้ว่าแต่ละอาคารมีขนาดความรุนแรงเกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวมากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลนี้จะสามารถแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้อาคารได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุ

“ถ้าเรามีการติดตั้งเพิ่มเติม ที่กำลังจะทำ ในอนาคตจะมีอาคารที่สามารถรู้ได้ว่าแต่ละอาคารมีขนาดความรุนแรงเกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวเท่าไร ส่งผลกระทบอย่างไร สามารถแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้อาคารได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุ นี่เป็นจุดเริ่มต้น ในการให้ความสำคัญกับการมอนิเตอร์อาคารสูงในพื้นที่เมืองมากขึ้นในอนาคต” นายอมรเทพ ระบุ

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า กทม. ได้มีการติดตั้งเครื่องมือวัดค่าการสั่นสะเทือนของตัวอาคารสูงใน กทม. ไว้ที่อาคารธานีนพรัตน์ ชั้น 36 (กทม.2) ซึ่งเหตุการณ์ในวันนี้ อาคารสูงต่างๆ ในกทม. มีความสามารถรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เมียนมาได้ตามมาตรฐานกฎหมายควบคุมอาคาร และในอนาคตจะมีการติดตั้งเครื่องมือวัดค่าแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวบนอาคารสูง ในอีกหลายตึกใน กทม. โดยเฉพาะอาคารสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล

ปัจจุบัน มีกฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเพื่อรองรับแผ่นดินไหว อยู่ในกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับปี 2550 ซึ่งมีอาคารที่ขออนุญาตตามประกาศกฎกระทรวงนี้ รวม 2,887 อาคาร และหลังจากนั้น มีการออกกฎกระทรวง ฉบับปี 2564 ซึ่งมีอาคารที่ขออนุญาต ภายใต้ประกาศฉบับนี้ 141 อาคาร รวมเป็น 3,028 อาคาร ส่วนอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างไปก่อนหน้าปี 2550 มีทั้งหมด 11,482 อาคาร

รศ.ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี อนุคณะกรรมการด้านแผ่นดินไหว สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เหตุแผ่นดินไหวที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนถึงใน กทม.ครั้งนี้ ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำมาก จึงไม่พบความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นกับโครงสร้างของอาคารสูงในกทม. ซึ่งมีการออกแบบตามหลักวิศวกรรมที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานเพียงพอในการรองรับต่อเหตุแผ่นดินไหว แม้อาคารบางแห่งอาจสร้างความตกใจให้ผู้ที่อยู่ในตัวอาคารจากเหตุโคมไฟแกว่งสั่นไหวก็ตาม แต่ในภาพรวมก็ไม่มีผลใดๆ ต่อโครงสร้างอาคาร

“ผลกระทบต่อกทม. ไม่น่าห่วง เนื่องจากระดับความรุนแรงอยู่ต่ำกว่าระดับที่อาคารส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ ออกแบบไว้ สามารถต้านทานได้ ไม่มีปัญหา…ถ้าโคมไฟแกว่ง ตึกไม่พัง ถ้ากำแพงอิฐเริ่มร้าว แสดงว่าเริ่มแรง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าตึกจะพัง มันต้องแตกร้าวระดับคอนกรีตแตก ถ้าแค่โคมไฟแกว่ง มั่นใจได้ว่าไม่มีปัญหาอะไร” รศ.ดร ฉัตรพันธุ์ ระบุ

ศ.อมร พิมานมาศ จากคณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมีขนาด 6.0 ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง แต่เนื่องจากเกิดที่ระดับความลึกเพียง 10 กม. ซึ่งไม่ลึกมาก สำหรับอาคารสูงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตรวจพบการสั่นไหว จนผู้อยู่อาศัยรู้สึกได้ วิเคราะห์ได้ว่าอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น 1. แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในระดับไม่ลึก 2. ระยะห่างระหว่างจุดเกิดเหตุจนถึงกรุงเทพฯ ประมาณ 400-500 กม. 3. สภาพชั้นดินของกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นชั้นดินเหนียวอ่อน สามารถขยายคลื่นแผ่นดินไหวให้รุนแรงขึ้น 4. เกิดการกำทอน หรือการสั่นพ้องระหว่างโครงสร้างกับชั้นดิน โดยเฉพาะอาคารสูง จึงเกิดการสั่นสะเทือนมากกว่าอาคารเตี้ย

“แผ่นดินไหวในครั้งนี้ มีขนาด 6.0 ถือว่าไม่ใหญ่มาก จึงไม่น่าส่งผลกระทบให้โครงสร้างอาคารเสียหายรุนแรง แต่เจ้าของอาคารก็ไม่ควรประมาท หากตรวจพบรอยร้าว หรือการกะเทาะของปูนซึ่งเป็นสัญญานเตือนภัย ก็ควรให้วิศวกรเข้ามาตรวจสอบในรายละเอียดต่อไป” ศ.อมร กล่าว

พร้อมระบุว่า ในอนาคตข้างหน้า รอยเรื่อยสะกายอาจสร้างความรุนแรงได้ถึงระดับ 8.0 ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงมาก อาจทำให้โครงสร้างเสียหายมากกว่านี้หลายเท่าจึงต้องเตรียมการโครงสร้างให้รับมือได้

ทั้งนี้ ในแง่ของกฎหมายควบคุมอาคาร มีกฎกระทรวงฯ ปี 2550 และปรับปรุงใหม่ปี 2564 บังคับให้อาคารต้องออกแบบให้ต้านแผ่นดินไหว แต่ถ้าเป็นอาคารเก่าที่ก่อสร้างก่อนปี 2550 จะมีความเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากก่อสร้างมาก่อนที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท เจ้าของอาคารเก่าจึงควรจัดหาวิศวกรประเมินและเสริมความแข็งแรงอาคารเพื่อรองรับแผ่นดินไหวที่อาจจะรุนแรงกว่านี้ในอนาคต

าศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักวิจัยด้านแผ่นดินไหว กล่าวว่า เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนมาถึงอาคารสูงหลายแห่งในกทม.วันนี้ จากการติดตามเครื่องวัดค่าแรงสั่นสะเทือนบนอาคารสูง ซึ่งติดตั้งเครื่องวัดอยู่บนชั้น 36 อาคารธานีนพรัตน์ กทม. 2 (ดินแดง) พบว่าแรงสั่นสะเทือนดังกล่าว ไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของโครงสร้างอาคาร

ซึ่งในอนาคตหากมีการติดตั้งเครื่องนี้ในหลายอาคารสูง ก็จะทำให้ผู้ใช้อาคารสามารถรับรู้ได้ว่าแต่ละอาคารมีขนาดความรุนแรงเกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวมากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลนี้จะสามารถแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้อาคารได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุ

“ถ้าเรามีการติดตั้งเพิ่มเติม ที่กำลังจะทำ ในอนาคตจะมีอาคารที่สามารถรู้ได้ว่าแต่ละอาคารมีขนาดความรุนแรงเกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวเท่าไร ส่งผลกระทบอย่างไร สามารถแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้อาคารได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุ นี่เป็นจุดเริ่มต้น ในการให้ความสำคัญกับการมอนิเตอร์อาคารสูงในพื้นที่เมืองมากขึ้นในอนาคต” นายอมรเทพ ระบุ

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า กทม. ได้มีการติดตั้งเครื่องมือวัดค่าการสั่นสะเทือนของตัวอาคารสูงใน กทม. ไว้ที่อาคารธานีนพรัตน์ ชั้น 36 (กทม.2) ซึ่งเหตุการณ์ในวันนี้ อาคารสูงต่างๆ ในกทม. มีความสามารถรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เมียนมาได้ตามมาตรฐานกฎหมายควบคุมอาคาร และในอนาคตจะมีการติดตั้งเครื่องมือวัดค่าแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวบนอาคารสูง ในอีกหลายตึกใน กทม. โดยเฉพาะอาคารสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล

ปัจจุบัน มีกฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเพื่อรองรับแผ่นดินไหว อยู่ในกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับปี 2550 ซึ่งมีอาคารที่ขออนุญาตตามประกาศกฎกระทรวงนี้ รวม 2,887 อาคาร และหลังจากนั้น มีการออกกฎกระทรวง ฉบับปี 2564 ซึ่งมีอาคารที่ขออนุญาต ภายใต้ประกาศฉบับนี้ 141 อาคาร รวมเป็น 3,028 อาคาร ส่วนอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างไปก่อนหน้าปี 2550 มีทั้งหมด 11,482 อาคาร

รศ.ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี อนุคณะกรรมการด้านแผ่นดินไหว สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เหตุแผ่นดินไหวที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนถึงใน กทม.ครั้งนี้ ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำมาก จึงไม่พบความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นกับโครงสร้างของอาคารสูงในกทม. ซึ่งมีการออกแบบตามหลักวิศวกรรมที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานเพียงพอในการรองรับต่อเหตุแผ่นดินไหว แม้อาคารบางแห่งอาจสร้างความตกใจให้ผู้ที่อยู่ในตัวอาคารจากเหตุโคมไฟแกว่งสั่นไหวก็ตาม แต่ในภาพรวมก็ไม่มีผลใดๆ ต่อโครงสร้างอาคาร

“ผลกระทบต่อกทม. ไม่น่าห่วง เนื่องจากระดับความรุนแรงอยู่ต่ำกว่าระดับที่อาคารส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ ออกแบบไว้ สามารถต้านทานได้ ไม่มีปัญหา…ถ้าโคมไฟแกว่ง ตึกไม่พัง ถ้ากำแพงอิฐเริ่มร้าว แสดงว่าเริ่มแรง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าตึกจะพัง มันต้องแตกร้าวระดับคอนกรีตแตก ถ้าแค่โคมไฟแกว่ง มั่นใจได้ว่าไม่มีปัญหาอะไร” รศ.ดร ฉัตรพันธุ์ ระบุ

ศ.อมร พิมานมาศ จากคณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมีขนาด 6.0 ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง แต่เนื่องจากเกิดที่ระดับความลึกเพียง 10 กม. ซึ่งไม่ลึกมาก สำหรับอาคารสูงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตรวจพบการสั่นไหว จนผู้อยู่อาศัยรู้สึกได้ วิเคราะห์ได้ว่าอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น 1. แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในระดับไม่ลึก 2. ระยะห่างระหว่างจุดเกิดเหตุจนถึงกรุงเทพฯ ประมาณ 400-500 กม. 3. สภาพชั้นดินของกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นชั้นดินเหนียวอ่อน สามารถขยายคลื่นแผ่นดินไหวให้รุนแรงขึ้น 4. เกิดการกำทอน หรือการสั่นพ้องระหว่างโครงสร้างกับชั้นดิน โดยเฉพาะอาคารสูง จึงเกิดการสั่นสะเทือนมากกว่าอาคารเตี้ย

“แผ่นดินไหวในครั้งนี้ มีขนาด 6.0 ถือว่าไม่ใหญ่มาก จึงไม่น่าส่งผลกระทบให้โครงสร้างอาคารเสียหายรุนแรง แต่เจ้าของอาคารก็ไม่ควรประมาท หากตรวจพบรอยร้าว หรือการกะเทาะของปูนซึ่งเป็นสัญญานเตือนภัย ก็ควรให้วิศวกรเข้ามาตรวจสอบในรายละเอียดต่อไป” ศ.อมร กล่าว

พร้อมระบุว่า ในอนาคตข้างหน้า รอยเรื่อยสะกายอาจสร้างความรุนแรงได้ถึงระดับ 8.0 ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงมาก อาจทำให้โครงสร้างเสียหายมากกว่านี้หลายเท่าจึงต้องเตรียมการโครงสร้างให้รับมือได้

ทั้งนี้ ในแง่ของกฎหมายควบคุมอาคาร มีกฎกระทรวงฯ ปี 2550 และปรับปรุงใหม่ปี 2564 บังคับให้อาคารต้องออกแบบให้ต้านแผ่นดินไหว แต่ถ้าเป็นอาคารเก่าที่ก่อสร้างก่อนปี 2550 จะมีความเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากก่อสร้างมาก่อนที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท เจ้าของอาคารเก่าจึงควรจัดหาวิศวกรประเมินและเสริมความแข็งแรงอาคารเพื่อรองรับแผ่นดินไหวที่อาจจะรุนแรงกว่านี้ในอนาคต

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (19 มิ.ย. 66)

Tags: , ,
Back to Top