เงินบาทเปิด 34.44 แข็งค่าเล็กน้อย ตลาดรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯคืนนี้

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.44 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดช่วง เย็นวานนี้ที่ 34.49 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทแข็งค่าจากท้ายตลาด เมื่อคืนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ และดอลลาร์ย่อลง หลังรายงานภาวะเศรษฐกิจของแต่ ละเขตในสหรัฐฯ หรือ Beige Book ออกมาว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจจนถึงต้นเดือนเม.ย. เกือบจะทรงตัว และอัตราเงินเฟ้อมีทิศทาง ชะลอตัวลง ด้านสกุลเงินในภูมิภาคเช้านี้เคลื่อนไหวแบบผสม

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.30 – 34.60 บาท/ดอลลาร์ คืนนี้รอติดตามตัวเลข ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และยอดขายบ้านมือสอง ของสหรัฐฯ

THAI BAHT FIX 3M (19 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.83342% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.97378%

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.84 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 135.00 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0957 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0926 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท. อยู่ที่ระดับ 34.398 บาท/ดอลลาร์

-“มอร์นิ่งสตาร์” ชี้ ไตรมาส 1/66 เงินไหลเข้ากองทุนหุ้นไทยสูงสุดรอบ 3 ปีแตะ 3.3 พันล้าน หลัง ดัชนีร่วง เพิ่มความ น่าสนใจลงทุน เผย ฟื้น “กองทุนแอลทีเอฟ” กลับมาใหม่ภายใต้เงื่อนไขเดิม หนุนตลาดหุ้นไทยคึก ส่วนภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทย ปีนี้ลุ้นบวกต่อเนื่อง

– ก.ล.ต. เผย ที่ประชุมก.ล.ต.โลก เดือนมิ.ย.คาดได้ข้อสรุป “แนวทางกำกับ ดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล-การระดมทุนยั่งยืน” ย้ำ ไม่สนับสนุนเก็งกำไรคริปโท

– ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของไทยยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะเรื่อง คุณภาพสินเชื่อเพราะดอกเบี้ยทยอยปรับขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง อาจเพิ่มแรงกดดันต่อความสามารถชำระหนี้ของลูกหนี้บางกลุ่มแต่คาดว่าหนี้ด้อย คุณภาพ หรือเอ็นพีแอลไตรมาสแรกปีนี้ จะยังทรงตัว 2.7-2.75% ต่อสินเชื่อรวม และระดับสำรองหนี้อาจชะลอลงบ้างหลังจากที่สำรองหนี้ ก้อนใหญ่ไปแล้วเมื่อปลายปี 65 แต่จะไม่ลดลงเร็วมากนัก และธนาคารต้องเร่งจัดการปัญหาคุณภาพสินเชื่อ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ ควบคู่การตัดขายหนี้ เป็นต้น

– รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่อง เที่ยวชาวต่างชาติ หรือค่าเหยียบแผ่นดิน จากเดิมที่จะจัดเก็บในวันที่ 1 มิ.ย.66 ว่า เรื่องนี้จำเป็นต้องเลื่อนออกไปก่อน แต่คาดจะเริ่มได้ ในวันที่ 1 ก.ย.นี้แน่นอน หลังมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เนื่องจากไม่สามารถเตรียมความพร้อมระบบการจัดเก็บได้ทันกำหนดการเดิม

– ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง รมว.คลัง เพื่อชี้แจงการเคลื่อนไหวของอัตราเงิน เฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาสูงกว่าขอบบนของกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน ซึ่งกำหนดไว้ที่ 1-3% โดย ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ได้ เผยแพร่ข้อมูลเงินเฟ้อทั่วไปที่ 2.83% กลับเข้ามาสู่กรอบเป้าหมายเป็นเดือนแรก แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือน (เม.ย.65-มี. ค.66) ยังอยู่สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อ โดยอยู่ที่ 5.86% อย่างไรก็ตามในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งล่าสุด ประเมินว่าหากมองไปข้างหน้า 12 เดือน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับมาอยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่ 2.6% ได้

– เงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (19 เม.ย.) ขาน รับการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า หลังจากอังกฤษเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อ ที่อยู่ในระดับสูง

– สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของ ผู้บริโภค เพิ่มขึ้น 10.1% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 9.8% จากระดับ 10.4% ในเดือนก.พ.

– ผลสำรวจล่าสุดพบว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 97% ที่ BoE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินใน เดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 82%

– ดอลลาร์ปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยนักลงทุนให้น้ำหนัก 88.7% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00- 5.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค. และให้น้ำหนักเพียง 11.3% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.75-5.00%

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพุธ (19 เม.ย.) โดยได้รับปัจจัยลบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ รวมทั้งความ กังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

– นักวิเคราะห์จากบริษัท Kitco กล่าวว่า ราคาทองคำถูกกดดันจากหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงการแข็งค่าของดอลลาร์ การพุ่ง ขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลง และความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินเฟ้อ ของอังกฤษที่อยู่ในระดับสูงมาก

– ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามวันนี้ คือ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีการผลิตเดือนเม.ย. จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, ยอดขายบ้านมือสองเดือนมี.ค. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนมี.ค. จาก Conference Board

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20 เม.ย. 66)

Tags: , ,
Back to Top