กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานการพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด รวมถึงระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ไว้ด้วย
สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย
ส่วนสถานการณ์ฝุ่นละอองในระยะนี้ ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมของฝุ่นละอองหรือหมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก เนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคใต้ยังคงมีการสะสมน้อย เนื่องจากการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี
กรมอุตุนิยมวิทยา ยังได้คาดหมายค่าดัชนีความร้อน (อุณหภูมิที่คนรู้สึกได้ในขณะนั้นว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร) ของวันนี้ โดยจังหวัดที่มีดัชนีความร้อนสูงสุดรายภาค ได้แก่
– ภาคเหนือ: เพชรบูรณ์ 49.5 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44.7 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคกลาง: บางนา กทม. 52.3 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคตะวันออก: สัตหีบ จังหวัดชลบุรี 48.9 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคใต้: จังหวัดภูเก็ต 50.7 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
ส่วนวันพรุ่งนี้ (19 เม.ย. 66) คาดหมายจังหวัดที่มีดัชนีความร้อนสูงสุดรายภาค ได้แก่
– ภาคเหนือ: เพชรบูรณ์ 47.5 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 45.1 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคกลาง: ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 51.5 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคตะวันออก: แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี 50.2 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคใต้: จังหวัดภูเก็ต 51.1 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
ทั้งนี้ ค่าดัชนีความร้อนที่อยู่ระดับ ‘อันตราย’ (41.0-53.9 องศาเซลเซียส) มีผลกระทบต่อสุขภาพ คือ มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขาหน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heatstroke) ได้ หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานการพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด รวมถึงระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ไว้ด้วย
สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย
ส่วนสถานการณ์ฝุ่นละอองในระยะนี้ ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมของฝุ่นละอองหรือหมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก เนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคใต้ยังคงมีการสะสมน้อย เนื่องจากการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี
กรมอุตุนิยมวิทยา ยังได้คาดหมายค่าดัชนีความร้อน (อุณหภูมิที่คนรู้สึกได้ในขณะนั้นว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร) ของวันนี้ โดยจังหวัดที่มีดัชนีความร้อนสูงสุดรายภาค ได้แก่
– ภาคเหนือ: เพชรบูรณ์ 49.5 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44.7 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคกลาง: บางนา กทม. 52.3 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคตะวันออก: สัตหีบ จังหวัดชลบุรี 48.9 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคใต้: จังหวัดภูเก็ต 50.7 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
ส่วนวันพรุ่งนี้ (19 เม.ย. 66) คาดหมายจังหวัดที่มีดัชนีความร้อนสูงสุดรายภาค ได้แก่
– ภาคเหนือ: เพชรบูรณ์ 47.5 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 45.1 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคกลาง: ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 51.5 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคตะวันออก: แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี 50.2 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
– ภาคใต้: จังหวัดภูเก็ต 51.1 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย
ทั้งนี้ ค่าดัชนีความร้อนที่อยู่ระดับ ‘อันตราย’ (41.0-53.9 องศาเซลเซียส) มีผลกระทบต่อสุขภาพ คือ มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขาหน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heatstroke) ได้ หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18 เม.ย. 66)
Tags: กรมอุตุนิยมวิทยา, ดัชนีความร้อน, บางนา, พยากรณ์อากาศ, อากาศร้อน, ฮีทสโตรก